[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

กระจายอำนาจทางการศึกษา : ทำไม เมื่อใด อะไร และทำอย่างไร

        หนังสือเล่มนี้สรุปสิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่นเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการตัดสินใจในระบบการศึกษาของรัฐ บทสรุปเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากผลการทดลองที่หลากหลายซึ่งได้ดำเนินการในหลายประเทศ ปัจจุบันมีความเป็นไปได้ที่จะระบุเงื่อนไขหรือสภาพที่มีการปฏิรูประบบการกระจายอำนาจการตัดสินใจทางการศึกษาที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ในด้านการกระจายอำนาจนั้นก็มีรูปแบบที่หลากหลาย และยังมียุทธวิธีในการดำเนินการที่แตกต่างกันไปอีกด้วย ในสถานการณ์ส่วนใหญ่แล้วการกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในบางเรื่องเท่านั้น และในบางสถานการณ์การกระจายอำนาจอาจจะไม่เหมาะสมเลยก็ได้ หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ ข้างต้นทุกประเด็น
         วัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ก็คืออธิบายยุทธวิธีโดยทั่วไปสำหรับการกระจายอำนาจในระบบการศึกษา 
         บทที่ 1 จะกล่าวถึงคำนิยามของการกระจายอำนาจ และในบทที่ 2 จนถึงบทที่ 4 จะอภิปรายถกเถียงในประเด็นคำถามหลัก ๆ เกี่ยวกับนโยบายการกระจายอำนาจ
         บทที่ 2  เพราะเหตุใดจึงต้องมีการกระจายอำนาจ คำถามนี้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่ ในการปฏิรูปการกระจายอำนาจในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่จะได้กล่าวต่อไปนี้ คำถามข้อนี้ไม่ใช่เกี่ยวข้องเพียงแค่การตัดสินใจและผลที่ออกมาเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมไปถึงว่าใครควรจะทำหน้าที่ตัดสินใจ และประโยชน์ที่ได้รับจากการตัดสินใจนั้น บทที่ 2 จะทบทวนเกี่ยวกับการปฏิรูปการกระจายอำนาจที่มีหลายรูปแบบ
         บทที่ 3  การตัดสินใจในเรื่องใดควรจะได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่ การศึกษามีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่าง ๆ มากมาย ในบทที่ 3  เป็นการอธิบายการตัดสินใจต่าง ๆ และเหตุผลรวมถึงเงื่อนไขการแบ่งอำนาจในการตัดสินใจ เริ่มต้นด้วยการอธิบายว่าประเทศต่าง ๆ มีรูปแบบในการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นจึงแบ่งประเภทการตัดสินใจเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดต่อกระบวนการศึกษา
         บทที่ 4  เมื่อใดจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเริ่มต้นการปฏิรูปการกระจายอำนาจ  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ต้องมีเพื่อให้การปฏิรูปนั้นประสบความสำเร็จ และเพื่อให้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงนั้น บทที่ 4 กล่าวถึงโครงการเบื้องต้นที่จะต้องระบุองค์กรต่าง ๆ ทางสังคม ที่มีความสำคัญที่สุดในฐานะผู้ดำเนินการและตำแหน่งที่องค์การเหล่านั้นควรจะได้รับในการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ รวมถึงความสามารถและศักยภาพในการดำเนินการซึ่งจะต้องมีอยู่ในระบบเพื่อให้การกระจายอำนาจนั้นบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้
         การเปลี่ยนแปลงขององค์กรไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเส้นตรงตามลำดับขั้น ดังนั้นเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้บางครั้งไม่ได้เป็นลำดับตามคำถามสามข้อข้างต้น กรณีศึกษาบางกรณีนำมาแสดงไว้เพื่อให้เห็นเทคนิคและยุทธศาสตร์บางส่วนของการดำเนินการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จ (หรือความล้มเหลว) ที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องชอบธรรมที่จะเสนอแนะ (ไม่เสนอแนะ) ให้นำความคิดนั้นไปใช้ การอธิบายกระบวนการและรายละเอียดของการดำเนินการอาจจะช่วยให้เราสามารถสร้างยุทธวิธีการดำเนินงานของตนเองได้
        จุดเน้นอยู่ที่แนวคิดของ ''ยุทธศาสตร์'' ว่าเป็นกระบวนการปรับและเปลี่ยนนโยบายเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลง รวมทั้งข่าวสารและความเข้าใจที่ดีขึ้น โดยไม่มีสูตรสำเร็จที่ง่ายสำหรับการกระจายอำนาจทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นมีหลากหลายและบางครั้งก็อาจขัดแย้งกันเอง ระบบต่าง ๆ ไม่ใช่มีแต่กระจายอำนาจเหมือนก้อนหินแท่งเดียวแต่ในระบบนั้นอาจมีทั้งการกระจายอำนาจและการรวมอำนาจไปพร้อม ๆ กัน นโยบายบางเรื่องนั้นก็มีการโยกย้ายอำนาจในการตัดสินใจทั้งหมดไปให้กับองค์กรอื่น ในขณะเดียวกันนโยบายบางเรื่องก็เป็นการแบ่งปันอำนาจในการตัดสินใจไว้เท่านั้น กระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำให้การโยกย้ายอำนาจเหล่านี้ได้รับความสำเร็จมีความซับซ้อนและแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
        เนื้อหาในบทที่ 5 จบลงพร้อมกับข้อเสนอแนะสำหรับหลักการทั่ว ๆ ไปในการดำเนินการกระจายอำนาจ โดยให้คำจำกัดความหลักการเหล่านี้ซึ่งเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนและไม่สามารถตรวจสอบจากข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ได้
     
         





เอกสาร : 493.pdf


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: สถาบันแปลหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง