[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

เมื่อโรงเรียนต้องแข่งขัน บทเรียนที่พึงระวัง

          หนังสือเรื่องเมื่อโรงเรียนต้องแข่งขัน บทเรียนที่พึงระวัง เล่มนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง When Schools Compete : A Cautionary Tale เขียนโดย เอดวาร์ด บี.ฟิลก์ และเฮเลน เอฟ.แลดด์ (Edward B.Fiske & Helen F.Ladd) จัดพิมพ์โดย The Brookings Institution Press มีเนื้อหาวิเคราะห์รายงานผลการปฏิรูปการศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเริ่มปฏิรูปตั้งแต่ ค.ศ. 1991 โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา ค.ศ.1991 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ''โรงเรียนในอนาคต'' การปฏิรูปเริ่มด้วยการถ่ายโอนความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานจากกระทรวงศึกษาธิการไปให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยชุมชนและพ่อแม่ผู้ปกครอง ระบบกระจายอำนาจบริหารโรงเรียนใช้นโยบายต่าง ๆ เช่น จัดตั้งเขตที่ตั้งโรงเรียน การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียน การให้สิทธิแก่พ่อแม่เลือกโรงเรียนที่ลูกของตนอยากเข้าเรียน รวมทั้งบทเรียนของนิวซีแลนด์ในด้านโรงเรียนบริหารจัดการด้วยตนเอง ซึ่งดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง จนเกิดผลกระทบทั้งต่อโรงเรียนเอง และหน่วยงานในส่วนกลาง ลุกลามขยายไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย นอกจากนี้บทเรียนในเรื่องการประกันและและประเมินผลการศึกษาโดยหน่วยงานอิสระ บทเรียนการจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษา และบทเรียนคูปองการศึกษา ล้วนมีผลดีและผลเสียชวนให้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศโดยเฉพาะ




เอกสาร : 519.pdf


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: สถาบันการแปลหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง