[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

อัด โฆษณาชวนเชิญการอ่าน... เหมือน โฆษณาครีมบำรุงผิว ได้ไหม!!

โดย สุรีย์ ธรรมวินทร

จากผลการสำรวจการอ่านของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปรากฏว่า คนไทยช่วงอายุ 15-24 ปี จะอ่านหนังสือเฉลี่ย 3.47 นาที/คน/วัน (มติชน 26 มิถุนายน) ตัวเลขนี้ทำให้ผู้เขียนฉงนยิ่งนัก ได้แต่เพียรคิดคำนึงว่าในช่วงวัย 15-24 ปี เป็นวัยกำลังคะนอง ร่างกายสมบูรณ์เต็มที่ ชีวิตมีพลังขับเคลื่อนมากมายพร้อมที่จะรังสรรค์ผลงานด้านต่างๆ ตามจินตนาการของตน ดังเช่นในอดีตที่คนช่วงอายุนี้ได้รวมพลังเปลี่ยนแปลงสังคม และร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมหลายประการ

แต่เหตุใดผลวิจัยเกี่ยวกับการอ่านของเยาว ชนไทยในปัจจุบัน อ่านหนังสือโดยเฉลี่ยคนละ 3 นาทีต่อวันเท่านั้น นับเป็นตัวเลขที่น่าใจหาย

ยิ่งผู้เขียนอยู่ในวงการศึกษาและคลุกคลีอยู่กับกลุ่มเยาวชนที่มีอายุโดยเฉลี่ย 12-18 ปี ทำให้ผู้เขียนครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาว่า...เหตุใดกิจกรรม การอ่านจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ?

คำถามนี้เร้าผู้เขียนคิดต่อไปว่า เยาวชนที่อยู่ในวัยกำลังศึกษามีพฤติกรรมการอ่านอย่าง ไรบ้าง การสำรวจแยกเป็นหลายประเด็น ผู้เขียนขอเสนอและอภิปรายเฉพาะประเด็น เหตุผลการอ่านหนังสือของเยาวชน ดังนี้...

จากการสำรวจพบว่าการอ่านที่เกิดจากความพึงพอใจของตนเอง ต้องการอ่านเพื่อความบันเทิงเป็นสำคัญ หนังสือที่เลือกอ่านคือ การ์ตูน ดารา ส่วนการอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ เกิดจากการถูกบังคับให้อ่าน มิได้เกิดจากความสมัครใจของตนเอง

ผลการสำรวจพอสรุปได้ว่า ถ้าไม่จำเป็นจะไม่อ่านหนังสือ การอ่านจึงมิใช่กิจกรรมอดิเรกที่เยาวชนสนใจ

จึงเป็นสิ่งน่าพิจารณาต่อไปว่า ทำอย่างไรให้เยาวชนไทยเห็นคุณค่าของการอ่านอย่างแท้จริง มิใช่อ่านเพราะหน้าที่ ทำอย่างไรให้เกิดความตระหนักว่า การอ่านนั้น สร้างโลกทัศน์ วิสัยทัศน์ให้กว้างไกล การอ่านทำให้เห็นความคิดที่หลากหลาย และในความหลากหลายต่างมุมมองนั้น ก็มีเป้าหมายเดียวกัน

ที่ผ่านมาหน่วยงานสถานศึกษาเกือบทุกแห่ง ต่างรณรงค์ปลูกฝังเยาวชนให้รักการอ่าน ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังเป็นเช่นนี้ แสดงว่าพลังรณรงค์ของสถานศึกษายังไม่พอ กลุ่มที่ควรมีบทบาทร่วมรณรงค์อย่างยิ่งในยุคนี้คือ สื่อสารมวลชน ทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ควรสละเวลาโฆษณาเชิญชวนให้เห็นคุณค่าของการอ่าน

ให้คนไทยเห็นว่าการอ่านเป็นค่านิยมที่ดี ผู้รักการอ่านเป็นผู้มีรสนิยม ผู้รอบรู้ที่เกิดจากการอ่านเป็นผู้งดงาม

ดังโฆษณาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวเกือบทุกยี่ห้อ ใช้วิธีโฆษณาแบบย้ำคิดย้ำทำ จนทำให้สาวไทยเชื่อว่าผิวขาวเป็นสิ่งที่งดงาม ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงคนไทยผิวเหลือง บ้างก็คล้ำ

ถ้าสื่อช่วยกันโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับการสร้างนิสัยรักการอ่านแบบย้ำคิดย้ำทำ คนไทยอาจใช้เวลาอ่านมากกว่านี้ก็ได้ และที่สำคัญคือ ถ้าครอบครัวไม่เห็นความสำคัญของการอ่าน ก็ยากที่จะปลูกฝังให้รักการอ่าน ฉะนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครองต้องสร้างบรรยากาศการอ่านให้เกิดขึ้นในบ้าน เพื่อสร้างค่านิยมให้เห็นการอ่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต 





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: มติชนรายวัน ฉบับที่ 9383 [หน้าที่ 26 ] ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง