|
|
ดร.อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ว่า ตามที่ ศธ.ได้เสนอแนวทางของระบบกลางการคัดเลือกนิสิตนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา หรือ แอดมิชชั่นและเรื่องการตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือนใน 5 องค์กรหลัก เข้าสู่การประชุมของ ครม.นั้น ตนได้ขอถอนทั้ง 2 เรื่องออกมาก่อน เพื่อดูในภาพรวมทั้งระบบอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมาต่างคนต่างเสนอ จึงต้องขอดูให้เกิดความชัดเจนและบูรณาการเข้าด้วยกันก่อน ส่วนการแก้ไขกฏกระทรวงกำหนดจำนวน คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการ ในคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้น ตนต้องดูในรายละเอียดก่อน
ดร.สิริกร มณีรินทร์ รมช.ศธ. กล่าวว่า ตนได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่าวิปรัฐบาลได้มีมติที่จะนำร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา ร่าง พ.ร.บ. เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งบัญชีเงินเดือนที่แนบท้ายกฎหมาย เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสัปดาห์หน้า โดยร่าง พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา ได้มีการแก้ไขในสาระสำคัญ คือ ให้สถาบันอาชีวศึกษาสอนได้ถึงระดับปริญญาตรีในสถาบันที่มีความพร้อมเท่านั้น ไม่สอนถึงปริญญาโทและเอก โดยเน้นสายปฏิบัติการ และให้วิทยาลัยชุมชนจากเดิมที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รมช.ศธ. กล่าวด้วยว่า ส่วนการแก้ไขร่างกฎกระทรวงที่ว่าด้วยคณะกรรมการของ 3 องค์กรหลักนั้น นอกจากมีการแก้ไขใน 5 ประเด็น เช่น ให้แต่ละองค์กรสรรหาและเลือกผู้แทนองค์กรโดยเลือกกันเอง ให้เหลือจำนวน 2 เท่าของจำนวนกรรมการ เพื่อ ให้ รมว.ศธ.เลือก, ประธานกรรมการและกรรมการ สามารถดำรงตำแหน่งในกรรมการหลัก ๆ ของ ศธ.ได้ไม่เกิน 2 คณะ ยกเว้นกรรมการโดยตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว ครม.อาจให้ออกจากตำแหน่งได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง รมว.ศธ. แล้ว ยังเพิ่มเติมในคุณสมบัติของคณะกรรมการด้วยว่า กรรมการไม่ควรเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น เป็นเจ้าของกิจการที่เข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ส่วนกรณีที่มีผู้วิจารณ์ว่าการเสนอแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวขัดกับเจตนารมณ์ที่ไม่ต้องการให้การเมืองเข้ามาแทรกแซงนั้น ดร.สิริกร กล่าวว่า การยกร่างเดิมตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า นักการเมืองไม่มีความรู้ แต่สถานการณ์ขณะนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ซึ่ง รมว.ศธ.เป็นผู้รับผิดชอบต่อสังคม ประชาชนและนโยบายของรัฐบาล จึงควรมีสิทธิคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาทำงาน ไม่เช่นนั้นรัฐมนตรีก็จะเป็นเพียงตรายาง ทั้งนี้ไม่ได้เป็นการตัดสิทธิคณะกรรมการที่ได้รับการสรรหาไว้เดิม เพียงแต่มีการเสนอชื่อเพิ่มเติมเพื่อให้ รมว.ศธ.เลือก ซึ่งคนเดิมอาจได้เป็นหรือไม่ได้เป็นกรรมการก็ได้. |
ดูรายละเอียดเพิ่มhttp://www.thaiedresearch.org/thaied_news/index1.php?id=10890 |
โดย: งาน: งานนโยบายและแผน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: เดลินิวส์ ฉบับที่ 19760 [หน้าที่ 27 ] ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |