[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

อดิศัย ชี้อย่ากลุ้มเด็กสอบตกกราวรูด

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เปิดเผยผลสอบวัดความรู้การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหรือเอนทรานซ์ ประจำปีการศึกษา 47 พบว่ามีนักเรียนกว่า 90% สอบไม่ถึง 50 คะแนนในวิชาหลักนั้น นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ผลที่ออกมาน่าตกใจแต่อย่าซีเรียส เนื่องจากที่ผ่านมาก็เป็นเช่นนี้ตลอด รวมทั้งองค์กรอุดมศึกษาและ ศธ.แยกส่วนกันอยู่ ทำให้ต่างคนต่างทำ แต่ขณะนี้มารวมกันอยู่ภายใต้สังกัด ศธ.แล้ว จึงต้องมีการวางแผนร่วมกัน ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า สกอ.ต้องการได้เด็กมีคุณภาพจึงตั้งเกณฑ์ไว้สูง

การสอบเข้าที่ผ่านมาใช้วิธีวัดเกณฑ์เป็นหลัก ปรากฏว่าเด็กยังเรียนไม่ครบหลักสูตร ไปใช้วัดเกณฑ์ก่อนแล้ว จังหวะในการวัดผลนี้อาจจะไม่ถูกต้อง น่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและหารือกัน แต่ไม่ใช่ว่าเด็กไม่ฉลาด ผมไม่อยากโทษใครคนใดคนหนึ่ง ถือว่าเป็นระบบที่เรื้อรังมานานมาก และคนออกข้อสอบ คนสอน และหลักสูตรก็ไม่แมตช์กัน ดังนั้นจึงยังไม่ถึงขั้นแย่ลง แต่อาจยังมีความรู้ไม่เทียบเท่ากับในประเทศที่เจริญแล้ว และนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาวิธีปรับปรุง ซึ่งวิธีการคัดคนเข้าเรียนอาจมีวิธีอื่น การให้เด็กทำข้อสอบแล้วใช้คอมพิวเตอร์ตรวจเป็นการใช้วิธีง่ายๆ เข้า เพราะวันนี้มีที่จำกัดต้องคัดออก แต่ถ้าเราไม่เน้นแล้วมุ่งให้เด็กเรียนต่อได้แล้วใช้แอดมิสชั่น อย่าไปสอบเข้า รัฐบาลก็ต้องวางแผนและเตรียมงานให้รองรับผลผลิต นายอดิศัย กล่าว 

ต่อข้อถามว่า มองอย่างไรกับการบริหารงานของ ศธ.ภายหลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งแล้ว นายอดิศัย กล่าวว่า ผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.ถือว่าใช้ได้ ซึ่งนายปองพล อดิเรกสาร อดีต รมว.ศธ.ก็ได้ทำเอาไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งตนจะทำงานโดยดูภาพรวมขององค์กรเป็นหลัก รวมทั้งเรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลังของงาน ซึ่งสิ่งสำคัญนั้นต้องเดินหน้าเรื่องหลักสูตร และการทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในคุณภาพการศึกษา

ด้านคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ตนเห็นว่าข้อคิดเห็นของทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนั้นจะสะท้อนได้ดีสุดว่าทำไมเด็กถึงทำคะแนนได้ต่ำ แต่ตนเห็นด้วยว่าควรมีการปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างข้อสอบการคัดเลือกด้วย โดยอาจจะมีการทำวิเคราะห์ข้อสอบที่ผ่านมาว่าควรแก้ไขในประเด็นใด ขณะเดียวกันประเด็นที่น่าจะมีการติดตามดูอีกอย่าง คือ เมื่อเด็กสามารถสอบผ่านเข้ามหาวิทยาลัยไปแล้ว เด็กสามารถเรียนต่อจนจบการศึกษาได้หรือไม่ด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการปรับแก้ข้อสอบอย่างชัดเจน มีแต่การพูดคุยหารือในกลุ่มย่อย แต่ทั้งนี้ควรทำให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจน 





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: บ้านเมือง ฉบับที่ 14875 [หน้าที่ 13 ] ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง