|
|
กรณีสอง คำนวณ Fiscal Need ของ อปท.โดยรวมงบถ่ายโอนด้านการศึกษาและสาธารณสุข ตัวเลข Fiscal Need ตามกรณีแรกข้างต้น ยังไม่รวมงบประมาณถ่ายโอนด้านการศึกษาและการสาธารณสุข เนื่องจาก ยังเป็น 2 ด้านที่ยังมีปัญหามากที่สุดสำหรับการถ่ายโอนภารกิจและบุคลากรและเป็น 2 ด้านที่มีงบประมาณด้านการถ่ายโอนจำนวนที่สูงมากด้วย (รายละเอียดงบถ่ายโอนภารกิจและบุคลากรด้านการศึกษาและสาธารณสุขตามตารางผนวก 2)ดังนั้น หากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนและยังตัดสินใจในการโอนภารกิจและบุคลากรด้านการศึกษาและการสาธารณสุข ให้กับ อปท.ตามแผนการถ่ายโอนฯ Fiscal Need ของ อปท.จะมากกว่าตัวเลขตามตารางในกรณีแรกข้างต้นโดยมีรายละเอียดตามตารางข้างล่างนี้ หน่วย:ล้านบาท ปี งบถ่ายโอนด้านการศึกษา (1) งบถ่ายโอนด้านการสาธารณสุข (2) Fiscal need ของ อปท. (ตามตารางกรณีแรก+ (1)+(2) Fiscal Need รวม/รายได้รัฐบาลสุทธิ (%) 2548 124,826 31,844 415,808 36.73 2549 127,060 33,317 436,379 35.65 2550 129,976 35,155 458,411 34.64 จากตารางพบว่า หากการถ่ายโอนด้านการศึกษาและการสาธารณสุขเกิดขึ้นจริงตามแผนทั้งหมด Fiscal Need ของ อปท. จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 แสนกว่าล้านบาท และเมื่อเทียบกับรายได้รัฐบาลสุทธิแล้ว รัฐบาลก็มีความจำเป็นที่จะต้องจัดสรรหายได้ให้กับ อปท. ในสัดส่วนร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2549 2.3 การเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเอง จากผลการศึกษาตามข้อ 2.1 ข้างต้นพบว่า การจัดสรรรายได้ให้ อปท.ร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับรายได้ของรัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2549 ถึงแม้ว่าไม่มีผลกระทบต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลังในภาพ macro แต่อย่างไรก็ตาม การจัดสรรรายได้ดังกล่าวก็จะมีผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณประจำปีในภาพ micro กล่าวคือ รัฐบาลจำเป็นจะต้องจัดสรรเงินอุดหนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กับ อปท.เป็นจำนวนที่สูงมาก ทั้งในรูปของเม็ดเงินและในรูปของสัดส่วนต่อวงเงินงบประมาณ ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวจากการจัดสรรสัดส่วนรายได้ให้ อปท.ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ การศึกษานี้จึงเสนอแนวทางในการลดภาระเงินอุดหนุนที่รัฐบาลต้องจัดสรรให้กับ อปท.ด้วยการเพิ่มรายได้ให้กับ อปท.ในส่วนที่ อปท.จัดเก็บเอง รายได้ที่ อปท.จัดทำเองตั้งแต่ปี 2544-2547 มีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 10.78 ถึง 12.09 เมื่อเทียบกับรายได้รวมทั้งหมดของอปท.ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่อยู่ในระดับต่ำการที่สัดส่วนรายได้ที่ อปท.จัดหาเองนี้ต่ำส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องจัดสรรเงินอุดหนุนให้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น หากรัฐบาลสามารถที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ อปท.จัดหาเองได้มากขึ้น โดยการปฏิรูปโครงสร้างภาษีของท้องถิ่นและเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บภาษีให้กับ อปท. ก็จะเป็นการลดภาระด้านการจัดสรรเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐบาลให้กับ อปท.ได้ระดับหนึ่งการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ เป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถเพิ่มรายได้ที่ อปท.จัดหาเองได้ โดยขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว คาดว่าจะถูกนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรภายในการประชุมสมัยหน้า และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2548 สาระสำคัญของพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสรุปได้ ดังนี้ (1) ฐานภาษี ใช้มูลค่าของทรัพย์สิน ได้แก่ ราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงห้องชุดเป็นฐานในการคำนวณภาษี (2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง (3) การลดหรือยกเว้นภาษี อาจให้มีการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับผู้เสียภาษที่มีอายุเกิน 60 ปี และเป็นผู้ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากเหตุอันพ้นวิสัยที่จะป้องกันได้ (4) อัตราภาษี ได้กำหนดอัตราเพดานไม่เกินร้อยละ 0.10 ของฐานภาษี โดยให้ อปท. แต่ละแห่งออกข้อบัญญัติกำหนดอัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บในเขตของคนหนึ่งอัตรา (5) การสนับสนุนการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีที่ต้องเสียสำหรับที่ดินนั้น จากการวิเคราะห์ผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่ อปท. จัดเก็บเอง จากการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไปในกรณีที่ไม่มีการบรรเทาภาระภาษีพบว่า รายได้ของ อปท. ที่จัดหาเองจะเพิ่มขึ้นตามตาราง (รายละเอียดปรากฏตามตารางผนวก 3) และหากมีการบรรเทาภาระภาษีรายได้ของ อปท. ที่จัดเก็บเองจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากรณีที่ไม่มีการบรรเทาภาระภาษี การที่รายได้ของ อปท.ที่จัดเก็บเองเพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินอุดหนุนที่รัฐบาลต้องจัดสรรให้ อปท.ลดลงในจำนวนที่เท่ากัน หากสมมติให้สัดส่วนเราได้ของ อปท. ต่อรายได้รัฐบาลสุทธิในแต่ละปีคงเดิม (โปรดติดตามอ่านต่อฉบับอาทิตย์ต่อไป) |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานนโยบายและแผน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: สยามรัฐ ฉบับที่ 18468 [หน้าที่ 20 ] ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |