|
|
วานนี้ นายอดิศัย โพธารามิก รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยรายงานกาปรระชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เพื่อหารือถึงสาเหตุและแนวทางการแก้ไข การสอบวัดความรู้เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีผลคะแนนค่อนข้างต่ำมาก ว่า เหตุที่ทำให้คะแนนสอบวัดความรู้ออกมาเช่นนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อสอบที่เป็นข้อสอบปรนัย ซึ่งนักเรียนอาจไม่มีความรู้จริงแต่ใช้การเดา ประกอบกับที่ผ่านมาผู้ออกข้อสอบ คืออาจารย์มหาวิทยาลัยระดับศาสตราจารย์ ซึ่งไม่เข้าใจการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งยังออกเกินหลักสูตร จึงมอบให้ สพฐ. และ สกอ. หารือร่วมกันเพื่อปรับข้อสอบวัดความรู้ใหม่โดยให้ครุอาจารย์ของ สพฐ. ร่วมออกข้อสอบด้วย
รมว.ศธ. กล่าวว่า สำหรับการให้คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) และค่าคะแนนเฉลี่ยสะสม (PR) เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ที่กำหนดใช้เพียง 10% เท่านั้น ตนเห็นควรให้มีการปรับเพิ่มมากกว่า 10% ซึ่งอาจจะเป็น 20-25% ส่วนที่ทาง สกอ. เกรงว่าการเพิ่มสัดส่วน GPA และ PR ดังหล่าวจะไม่เป็นธรรมกับเด็กโรงเรียนที่กดเกรดนั้นตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นผล เพราะเด็กที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้มีเพียงไม่ถึง 70,000 คนแต่การเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจเรียนอย่างสม่ำเสมอและหากมหาวิทยาลัยไม่เชื่อมั่นใจ GPAและ PR ก็สามารถที่จะกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ การสอบสัมภาษณ์หรือสอบวัดความถนัดได้ มอบให้ สพฐ. และ สกอ. ไปหารือร่วมกันให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้หากได้ข้อยุติก็อาจจะสามารถนำไปใช้ได้ก่อนปีการศึกษา 2549 โดยอาจจะทันใช้ในปีการศึกษาหน้าก็ได้ |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานนโยบายและแผน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: สยามรัฐ ฉบับที่ 18468 [หน้าที่ 7 ] ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |