|
|
พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระปรมาภิไธย ( ในพระสุพรรณบัฏ ) : '' พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร '' พระปรมาภิไธยย่อ : '' ภปร. '' คำเต็มของพระปรมาภิไธยย่อ : '' พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช บรมราชาธิราช '' พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพที่ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นพระราชนัดดา ในพระบามสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี และพระบรมเชษฐา ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักพัฒนา ที่อาศัยทฤษฎี ทางวิชาการ ประกอบกับ ประสบการณ์อันกว้างขวาง เป็นหลักในการ ปฏิบัติทั้งทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านคุณธรรม ได้ทรงพระราชอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจ นานัปการ เพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนชาวไทย และความเจริญมั่นคง ของบ้านเมือง สืบต่อพระราชปณิธาน ในสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และสมเด็จพระบรมชนกนาถ ที่ทรงมุ่งมั่น จะพัฒนาสยามประเทศ ให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานา อารยประเทศ พระจริยาวัตรส่วนนี้ เป็นที่ประจักษ์กันดี ทั้งชาวไทยและชาวโลก การศึกษา ทรงศึกษาชั้นต้น ที่โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพมหานครฯ ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน Miremont เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียน Ecole Nouvelle de la Suisse Romande, Chailly-sur-Lausanne และทรงได้รับประกาศนียบัตร Bachelier es Lettres จาก Gymnase Classique Cantonal แห่งเมือง Lausanne ทรงศึกษาชั้นอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัย Lausanne แขนงวิทยาศาสตร์ ต่อมาทรงเปลี่ยนเป็นวิชารัฐศาสตร์และกฎหมายเพื่อรับพระราชภารกิจ ''ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้'' พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร- รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษาเศษ และได้มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในวันที่เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาวิชาการเพิ่มเติม ระหว่างประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง พระเจ้าอยู่หัวทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า ''ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน'' ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า... ''ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้'' พระราชพิธีอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงมีพระราชพิธีบรรพชาอุปสมบทโดย จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ พระศาสนโสภณเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร เป็นพระราชอนุสาวนาจารย์ ทรงมีพระฉายาในพระบวรพุทธศาสนาว่า “ภูมิพโล” หลังจากเสร็จพระราชพิธีแล้ว ทรงเสด็จสู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงลาพระผนวชเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ รวมระยะเวลาที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ ๑๕ วัน |
คลิกที่นี่ |
โดย: งาน: งานห้องสมุด อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: http://www.kidsquare.com/festival/kingbirth/ |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |