[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ความหมายคำราชาศัพท์ - การใช้คำราชาศัพท์

                                                                                          ราชาศัพท์
 

        นอกจากสมุหนามแล้ว คำนามทุกชนิดต้องประกอบด้วยคำราชาศัพท์ คือ ต้องใช้ให้ถูกระเบียบตามชั้นของบุคคล เพราะประเพณีของไทยจำแนกบุคคลออกเป็นชั้น ๆ คำนามที่ใช้จึงต้องจำแนกออกเป็นคำสูงคำต่ำตามชั้นของบุคคลด้วย   คำราชาศัพท์ หมายถึง คำพิเศษพวกหนึ่งซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับชั้นของบุคคล             ไม่เฉพาะแต่พระราชาเท่านั้น บุคคลที่ต้องใช้ราชาศัพท์ จำแนกออกเป็น 5  ชนิด  คือ

1.   พระราชา
2.   เจ้านาย หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์  ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
3.   พระภิกษุ สามเณร
4.   ขุนนางมียศและบรรดาศักดิ์
5.   สุภาพชน หมายถึง คนทั่วไป นอกจาก 4 ประเภทข้างต้น
            คำนามที่ต้องเปลี่ยนใช้เป็นราชาศัพท์ ซึ่งมีรูปแปลกไปจากคำนามสามัญนั้น          โดยมากเป็นคำนามที่ใช้เฉพาะกับพระราชาและเจ้านาย ส่วนคำนามที่ใช้กับบุคคลประเภทอื่น  มักใช้คำนามสามัญที่จัดอยู่ในประเภทคำสุภาพ จึงไม่มีวิธีเปลี่ยนแปลงผิดกว่าคำธรรมดานัก

                                                  วิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์
      คำนามราชาศัพท์ที่ใช้กับพระราชาและเจ้านาย  บางคำก็บัญญัติขึ้นใช้โดยเฉพาะ  เช่น  เครื่อง , ตำหนัก, พลับพลา, ฯลฯ   บางคำก็ใช่คำนามสามัญแต่มีคำอื่นประกอบข้างหน้าบ้าง  ข้างหลังบ้าง      เพื่อให้แปลกกว่าคำธรรมดา   เช่น พระหัตถ์,          พระหฤทัย, ราชบุตร, ช้างต้น ,  ม้าต้น ฯลฯต่อไปนี้เป็นวิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์  คือ
                       1. ถ้าคำนามสามัญเป็นคำไทยที่ใช้เกี่ยวกับพระราชาในฐานเป็นเครือญาติ,       ยวดยานพาหนะ, สถานที่  เป็นต้น  ให้ใช้คำ  ต้น, หลวงหรือ          พระที่นั่ง ประกอบข้างหลัง  เช่น ลูกหลวง, หลานหลวง, เรือหลวง, ช้างหลวง, ม้าหลวง, ศาลหลวง, วังหลวง, 
สวนหลวง, ช้างต้น, ม้าต้น, เรือต้น, เครื่องต้น, เรือพระที่นั่ง, รถพระที่นั่ง, ม้าพระที่นั่ง, ช้างพระที่นั่ง  ฯลฯ
                       2.   ถ้าคำนามสามัญเป็นคำไทยที่ใช้เกี่ยวข้องกับเจ้านาย   ให้ใช้คำ  ทรง  หรือ          ที่นั่ง ประกอบข้างหลัง    เช่น เครื่องทรง, เสื้อทรง, ผ้าทรง, ช้างทรง, ม้าทรง, รถทรง, เรือทรง, ช้างที่นั่ง, ม้าที่นั่ง, รถที่นั่ง, เรือที่นั่ง  ฯลฯ     เฉพาะคำ  รถ  และ  เรือ  ถ้าใช้สำรับฝ่ายใน  ให้ใช้คำ  พระประเทียบ   ประกอบข้างหลัง  เช่น รถพระประเทียบ   เรือพระประเทียบ
หมายเหตุ   คำไทยบางคำใช้คำบาลีและสันสกฤตนำหน้าก็ได้  เช่น ราชวัง, พระราชกำหนด   จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้าอีก
                     3.   ถ้าคำนามสามัญเป็นคำที่มาจากบาลีหรือสันสกฤต         แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาหรือเจ้านาย  เป็นชื่อของอวัยวะ ,  กริยาอาการและความเป็นไป, เครือญาติ, บริวาร, เครื่องใช้  เป็นต้น      ให้ใช้คำพระนำหน้าบ้างก็ได้   เช่น พระกร, พระเนตร, พระเกศ,  พระอาจารย์  ฯลฯ หมายเหตุ   คำไทยและคำเขมรบางคำ  จะใช้คำ  พระนำหน้าบ้างก็ได้  เช่น พระฉาย, พระสาง, พระที่พระแท่น ฯลฯ
                    4.   ถ้าคำนามสามัญเป็นคำที่มาจากบาลีหรือสันสกฤต     แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาโดยเฉพาะ    หรือเกี่ยวกับพระราชินีและพระยุพราช   เพื่อแสดงความสำคัญยิ่งกว่าที่กล่าวแล้วในข้อ 3        ให้ใช้คำ   พระราช   นำหน้า เช่น  พระราชบิดา, พระราชมารดา, พระราชโอรส, พระราชยาน, พระราชครู, พระราชอาสน์  ฯลฯ
                 หมายเหตุ   ตามปกติคำ  “พระราช”  ใช้นำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเป็นพื้น  แต่บางทีก็ใช้นำหน้าคำไทยบางคำด้วย เช่น  พระราชดำริ, พระราชกำหนด, พระราชอำนาจ, พระราชวัง
                   5.   ถ้าคำนามสามัญเป็นคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต                แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาหรือพระพุทธเจ้า   เพื่อแสดงพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่                             เป็นคำนามที่แสดงความสำคัญยิ่งกว่าที่กล่าวแล้วในข้อ 4  ให้ใช้คำ  พระบรม   นำหน้า เช่น  พระบรมวงศานวงศ์, พระบรมโกศ, พระบรมนามาภิไธย, พระบรมเดชานุภาพ ,  พระบรมอัฐ, พระบรมครู , พระบรมธาตุ  ฯลฯ  หรือจะใช้คำ  พระบรมราช   นำหน้า  ในเมื่อบ่งบอกถึงพระราชาโดยเฉพาะ  และใช้คำ  พระบรมพุทธ   นำหน้า    ในเมื่อบ่งถึงพระพุทธเจ้าก็ได้  เช่น   พระบรมราชโองการ, พระบรมราชาภิเษก, พระบรมราชาโชวาท, พระบรมราชูปถัมภ์, พระบรมพุทโธวาท, พระบรมพุทธานุสาสนี
หมายเหตุ   เฉพาะ  คำ  “วัง”               ที่ต้องการจะแสดงพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ  ท่านใช้คำพระบรมมหาราช  นำหน้า เช่น  
พระบรมมหาราชวัง
                   6.   ถ้าเป็นคำนาม   ซึ่งเป็นชื่อที่ประทับของพระราชาและมีเศวตฉัตร   ให้ใช้คำ                  พระที่นั่งนำหน้า  เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท,  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท, พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งสุริยามรินทร์,  พระที่นั่งมังคลาภิเษก, พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท   ฯลฯ
                   7.   คำนามสามัญที่ใช้ประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังนามราชาศัพท์          เพื่อบอกชนิดหรือรูปลักษณะของนามราชาศัพท์นั้น   ให้ใช้คำธรรมดา  ไม่ต้องทำให้เป็นราชาศัพท์อีก               เช่น  พาน, พระศรี, ถาด  พระสุธารส, พระโอสถ  เส้น, พระโอสถ มวน,  พระโอสถกล้อง, ฉลองพระหัตถ์  ส้อม ฯลฯ
                  8.   คำนามที่กล่าวถึงเครือญาติ                ถ้าเป็นคำไทย   ให้ใช้คำ  พระเจ้า  นำหน้า เช่น  พระเจ้าปู่, พระเจ้าย่า, พระเจ้าตา, พระเจ้ายาย, พระเจ้าลุง, พระเจ้าป้า, พระเจ้าอา, พระเจ้าหลาน
ต่อไปนี้  คือคำที่บัญญัติขึ้นสำหรับใช้เป็นนามราชาศัพท์   จะรวบรวมมากล่าวเฉพาะคำที่ควรรู้  และเพื่อสะดวกการค้นหา  ได้เรียงนามสามัญไว้หน้า  เรียงนามราชาศัพท์ไว้หลัง   ตามลำดับตัวอักษร  ดังนี้

                                                                                               ก

                                กรรไกร         =   พระแสงกรรไตร            กระบี่               =   พระแสงกระบี่

                                 กรอบหน้า          =   พระอุณหิส                ก้น                      =   พระที่นั่ง

                                                                                            ข

                              ขน                      =   พระโลมา                              ขากรรไกร          =   ต้นพระหนุ

                               ขนระหว่างคิ้ว    =   พระอุณาโลม                         ข้าว                     =   พระกระยาเสวย

                                                                                           ค

                        คนโทน้ำ             =   พระสุวรรณภิงคาร                คิ้ว                      =   พระขนง, พระโขนง

                        คาง                     =   พระหนุ                                 เครื่องลาด           =   พระบรรจถรณ์

 
                                                                                              จ

                        จมูก                    =   พระนาสา, พระนาสุก            จะงอยบ่า            =   พระอังสกุฎ

 
                                                                                              ช

                        ช้อน                    =   ฉลองพระหัตถ์                      ช่องหู                  =   พระโสต,ช่องพระกรรณ

                        ช่องจมูก             =   ช่องนาสิก

                                                                                          ซ

                        ส้นเท้า                =   พระปราษณี                          ซองมือ               =   อุ้งพระหัตถ์

                                                                                        ด

                        ดี                         =   พระปิตตะ                             ดวงชะตา           =   ดวงพระชนมพรรษา

                                                                                                                                      วงพระชะตา
                                                                                     ต

                        ตลับเพชร           =   พระรัตนกรัณฑ์                     ตาทวด               =   พระปัยกา

                        ตะเกียบ              =   ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ         ตรา                     =   พระราชลัญจกร

 

                                                                                          ถ

                        ถาดน้ำรอน         =   ถาดพระสุธารสชา                 เถ้ากระดูก          =   พระอังคาร

                           (น้ำชา)                                                                ถุงเท้า                 =   ถุงพระบาท

                                                                                                                           

                                                                                          ท

                        ท้อง                    =   พระนาภี                                ที่นอน                 =   พระยี่ภู่ (ราชา)

                        ท้อง (ครรภ์)        =   พระอุทร

 

                                                                                       น

                        นม                      =   พระถัน, พระเต้า                   น้ำมูก                  =   มูลพระนาสิก

                        น่อง                    =   หลังพระชงฆ์                        น้ำลาย                =   พระเขฬะ

 

                                                                                                 บ

                        บ่า                       =   พระอังศา                               บ้าน                    =   วัง

 
                     
                                                                                                 ป

                        ประตู                  =   พระทวาร                              ปัสสาวะ             =   พระบังคนเบา

                        ปอด                    =   พระปัปผาสะ                         ปาก                    =   พระโอษฐ์

                                                                                                ผ

                        ผ้าเช็ดตัว            =   ซับพระองค์                           ผ้าส่านแดง         =   พระรัตกัมพล

                        ผ้าเช็ดหน้า          =   ซับพระพักตร์                        ผ้าห่ม(สามัญ)     =   ทรงสะพัก

 

                                                                                               ฝ

                        ฝ่าเท้า                  =   ฝ่าพระบาท                            ฝี                         =   พระยอด

                        ฝ่ามือ                  =   ฝ่าพระหัตถ์                           ไฝ                       =   พระปิลกะ

 

                                                                                                  พ

                        พ่อตา                  =   พระสัสสุระ                           พี่ชาย                  =   พระเชษฐา, พระเชษฐภาดา

                        พ่อผัว                  =   พระสัสสุระ                           พี่สาว                  =   พระเชษภคินี

 

                                                                                                  ย

                        ม่าน                    =   พระสูตร, พระวิสูตร              ยายทวด              =   ประปัยยิกา

                        มือ                      =   พระหัตถ์                               ย่าทวด                =   พระปัยยิกา

 

                                                                                                ร

                        ร่ม                       =   พระกลด                               ไรจุก                  =   พระจุไร

                        ระดูหญิง            =   พระอุหลบ                             ไรผม                  =   ไรพระเกศา

 

                                                                                               ล

                        ลุง (พี่ของแม่)     =   พระมาตุลา                            เลือด                   =   พระโลหิต

                        ลิ้น                      =   พระชิวหา                                    

 

                                                                                              ส

                        สิว                      =   พระอสา                                ไส้เล็ก                 =   พระอันตคุณ

                        สีข้าง                  =   พระปรัศว์                              ไส้ใหญ่               =   พระอันตะ

 

                                                                                                ห

                        หนอง                 =   พระบุพโพ                             หลังตา                =   หลังพระตา

                        หนวด                 =   พระมัสสุ                               หลังเท้า              =   หลังพระบาท

                        ไหปลาร้า            =   พระรากขวัญ

 

                                                                                                อ

                        อก                      =   พระอุระ, พระทรวง              อุจจาระ              =   พระบังคนหนัก

                        อา (ชาย)             =   พระเจ้าอา, พระปิตุลา           

 

                                                                               ราชาศัพท์ (กริยา)

               หลักการใช้กริยาราชาศัพท์เป็นราชาศัพท์ที่ว่าด้วยคำที่เกี่ยวกับกริยา  ท่าทางต่างๆ   พระมหากษัตริย์  พระบรมวงศานุวงศ์และสุภาพชน  โดยจะมีหลักการใช้คำราชาศัพท์ดังนี้

                                                                หลักการใช้คำกริยาราชาศัพท์ที่สำคัญ

        1.   “ถวายการต้อนรับ”   เป็นการใช้คำที่ไม่ถูกต้อง   ควรใช้คำว่า  “เฝ้าฯรับเสด็จ”  หรือ “รับเสด็จ”   เช่น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ  ที่ใด  มีราษฎรเฝ้าฯรับเสด็จฯ  อย่างหนาแน่น

        “ต้อนรับอย่างอบอุ่น”   เป็นการเรียนสำนวนต่างประเทศ    ควรใช้คำว่า “อย่างหนาแน่น”   “ถวายความจงรักภักดี”   ไม่ควรใช้  ความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ถวายกันไม่ได้จึงควรใช้คำว่า   “มีความจงรักภักดี”  แทน

        2.   “พระบรมราชโองการ”   “พระราชเสาวนีย์  ”  เป็นคำที่มีผลบังคับไม่ใช่การพูดธรรมดา  เช่น ถ้ามีคนกราบบังคมทูลขอให้พูดจะใช้  “ขอพระราชทานพระราชกระแส”

        3.   คำว่า  “ขอบใจ”   ถ้าจะกล่าวว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ขอบใจ”  ให้ใช้ว่า  “ทรงขอบใจ”  หรือ  “พระราชทานพระราชกระแสขอบใจ”  ไม่ใช่  “ขอบพระทัย” เช่น “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระกระแสขอบใจประชาชน”“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขอบพระทัยหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ  ดิศกุล”

        4.   คำสามัญประเภท คำนาม  กริยา  เมื่อใช้เป็นราชาศัพท์ต้องมีคำว่า  “ทรง”  นำหน้า  เช่น  ทรงเอ็นดู  ทรงพบ   ทรงวาง   ทรงขับรถ ฯลฯ  ยกเว้นคำกริยา  “มี”   และ  “เป็น”  ที่มีบทขยายเป็นราชาศัพท์อยู่ จะไม่เติม “ทรง”  ข้างหน้า เช่น พระราชโอรส เป็นพระราชนัดดา  มีพระบรมราชโองการ  มีพระราชเสาวนีย์  แต่ถ้าบทขยายที่ตามมาข้างหลังนั้นเป็นคำธรรมดา  ก็ต้องเติม  “ทรง”  เข้าไปข้างหน้า เช่น  ทรงเป็นประธาน  ทรงเป็นทหาร

               คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว  เช่น  เสด็จ  เสวย  ตรัส  บรรทม  ประทับ กริ้ว  โปรด  ประชวร ฯลฯ   ห้ามใช้  “ทรง”  นำหน้า  ยกเว้นทรงผนวช

 

                                                                            ราชาศัพท์ (วิเศษณ์)

การใช้คำวิเศษณ์ต้องประกอบด้วยระเบียบ 2 อย่าง  คือ

1.   ลิงค์
2.      ราชาศัพท์
                        เหตุที่คำวิเศษณ์  ประกอบด้วยระเบียบเพียง 2  อย่าง   ก็เพราะรูปคำของวิเศษณ์มีเปลี่ยนแปลงอยู่แต่ลิงค์  และราชาศัพท์เท่านั้น   ส่วนบุรุษและการกนั้น  คำวิเศษณ์มีไม่ได้   เพราะไม่ใช่นามหรือสรรพนาม  กาล  มาลา  และวาจก            ก็มีได้แต่เฉพาะคำกริยาเท่านั้น   ส่วนพจน์นั้น  แม้คำวิเศษณ์จะประกอบบอกให้รู้ว่ามากหรือน้อยได้    แต่รูปคำไม่เปลี่ยนแปลง   และความหมายที่เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ตกไปอยู่ท





http://www.bcc.ac.th/gifted_thai/friendteach/wordk.htm


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.bcc.ac.th/gifted_thai/friendteach/wordk.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 20

อ่าน 0 ครั้ง