[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

Emotional Intelligence (เชาวน์อารมณ์)

Emotional Intelligence มีผู้ให้นิยามว่า “ความฉลาดทางอารมณ์”, “เชาวน์อารมณ์”, “สติอารมณ์” 

อะไรที่ไม่ใช่ Emotional Intelligence (What is EI is not) 
Cognitive Intelligence (IQ) 
Aptitude 
Achievement 
Interest 
Personality 
แต่ 
EI เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในชีวิต 
Helps us understand why some people do well in life while other fail. 
Distinct from IQ 
EI is an array of noncognitive capabilities, competencies, and skills that influence one’s ability to succeed in coping with environment demands and pressures 
ก่อนสร้างข้อคำถามวัด EI ควรจะใช้คำถามปลายเปิด โดยจะเป็นคำถามกว้าง ๆ ให้นักเรียนตอบอย่างอิสระ เช่น นักเรียนคิดถึงตนเองอย่างไร, คนทั่วไปมองนักเรียนเป็นอย่างไร แล้วเอาคำตอบของนักเรียนมาจัดกลุ่ม (เทคนิคเดลฟาย) 
เมื่อสร้างแบบวัด EI แล้วจะหา Norm จะต้องใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 4,000 คน 
EI มีมาในสมัยโบราณแล้วแต่ใช้คำว่า Social Intelligence ซึ่งก็คือ Emotional Intelligence ในปัจจุบันนั้นเอง 
EI is not “pop psychology” it is a scientific measure. 
การวัดของ Bar-On แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบคือ 

Intrapersonal Skills 
ความสามารถในการรู้จักและเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (Emotional Self-awareness Ability) 
ความสามารถในการแสดงอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (Assestiveness Ability One’s Ability to Express Emotions and Feeling) 
ความสามารถในการตระหนักรู้คุณค่าตลอดจนทั้งการยอมรับและเคารพในศักดิ์ศรีของตนเอง (Self - Regard Ability) 
ความสามารถในการรู้จักและเข้าใจศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง (Self-Actualization Ability) 
ความเป็นอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระทางความคิด สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง (Emotion Intelligence) 
Interpersonal Skills 
สามารถรับรู้และเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy) 
ความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ๆ และมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ (Interpersonal Relationship) 
ความสามารถในการยอมรับและนับถือผู้อื่น รวมถึงความรู้สึกที่แสดงถึงความรับผิดชอบ ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือ (Social Responsibility) 
Adaptability Components 
ความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem Solving Ability) โดยการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอยก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา 
ความสามารถที่จะตรวจสอบความคิดความรู้สึก ตลอดทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริง (Reality Testing Ability) 
มีความยืดหยุ่น สามารถปรับความรู้สึกความคิดและพฤติกรรมของตนเองให้ เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม (Flexibility Ability) 
Stress Management Components 
ความสามารถในการเผชิญปัญหายืนหยัดที่จะต่อสู้ในการที่จะจัดการปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดอย่างมีสติ (Stress Tolerance Ability) 
ความสามารถในการควบคุมความรู้สึก อารมณ์หรือสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ตลอดทั้งความต้องการของตนเอง (Impulse Control Ability) 
General Mood Components 
ความสามารถที่จะรับรู้ ความรู้สึกและความพึงพอใจของตนเองและบุคคลอื่นตลอดทั้งมีความสุขในชีวิต (Hoppiness) 
มองโลกในแง่ดี (Optimism) มีความมั่นใจในสิ่งที่ทำและมีความรู้สึกต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค พยายามต่อสู้เพื่อความสำเร็จในชีวิต 
ระเบียบวิธีวิจัย 

กำหนดจุดมุ่งหมาย 
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
กำหนดคุณลักษณะของ EI และสร้างนิยามปฏิบัติการ 
สร้างข้อคำถามตามนิยาม 
ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือให้สอดคล้องกับนิยามปฏิบัติการ 
วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของเครื่องมือรายข้อ 
คัดเลือกข้อที่มีอำนาจจำแนกสูง 
หาความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของเครื่องมือ 
นำไปสอบกับกลุ่มตัวอย่างจริง 
นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ 
จัดพิมพ์แบบทดสอบและคู่มือการใช้ 
เขียนรายงานการวิจัย 
เอกสารอ้างอิง 

สรุปการบรรยายพิเศษเรื่อง ''Emotional Intelligence'' ในวันที่ 17 มกราคม 2543 เวลา 10.00-12.00 น. โดย ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชาทฤษฎีบุคลิกภาพและการประยุกต์ ตามหลักสูตรสาขาการทดสอบและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 


--------------------------------------------------------------------------------





ข้อมูลจากเวบนี้


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ศาสตราจารย์ ดร.ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง