[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

( อุบัติ ) เหตุ.......เกิดจาก '' การบ้าน ''

( อุบัติ ) เหตุ.......เกิดจาก  '' การบ้าน ''
               
                คุณเชื่อหรือไม่ว่า  การบ้าน  เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามย่อย ๆ  กลางบ้านได้  ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อหล่ะคะว่า  สามารถเกิดขึ้นได้จริง  บางบ้านอาจเกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูก  หรือพ่อกับลูก  หรือบางบ้านที่สามัคคีกันหน่อย  ก็อาจเป็นสงคราม  3  ฝ่าย  คือ  พ่อ  แม่  ลูก  ขึ้นได้  อันเนื่องมาจากสาเหตุ  พ่อแม่อยากช่วยลูกทำการบ้าน  แต่ลูกทำไม่ได้ดังใจพ่อแม่หวัง  เกิดมีปากเสียงกันขึ้น  บางรายอาจมีการลงไม้ลงมือกัน  เผื่อว่าความจำจะดีขึ้นมาบ้าง  อย่างนี้ไม่เรียกว่า  สอนลูกทำการบ้านนะค่ะ  เขาเรียกว่า  กดดัน  และยิ่งจะทำให้เด็กเครียดและต่อต้านการทำการบ้าน  หรือในบางรายอาจจะรู้สึกเกลียดการทำการบ้านไปเลยก็ได้
                คุณพ่อคุณแม่ลองหาวิธีช่วยลูกทำการบ้าน  ในรูปแบบใหม่  ๆ  ดูนะคะ  อย่าพึ่งปล่อยปละละเลยให้เขาทำการบ้านคนเดียว  เพราะการศึกษาของ  American  Academy  of  Pediatrics  ยืนยันว่า  การที่พ่อแม่เอาใจใส่  สนใจลูก  ช่วยให้ลูกทำการบ้าน  หรือเรียนเพิ่มเติมเป็นประจำ  เด็กจะประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน  และมีผลการเรียนดีขึ้น  เพราะการบ้านจะฝึกให้เด็กรู้จักคิดรู้จักทำ  และเป็นการย้ำความเข้าใจในสิ่งที่ครูแนะให้รู้จักแนวคิดหลักการทฤษฎีความจริง  สมมติฐาน  ความดี  ความถูกต้อง  การบ้านจึงเป็นเสมือนแบบทดสอบว่า  เด็กเข้าใจบทเรียนหรือเรียนรู้ได้ลึกซึ้งเพียงไร
                 
                    สำหรับวิธีการที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูกทำการบ้านง่ายนิดเดียว  เริ่มจาก
1.  ลองสำรวจบริเวณบ้านดูซิว่า  พอมีมุมที่สงบพอสำหรับที่จะจัดไว้เป็นที่เฉพาะให้ลูกนั่งทำการบ้านได้หรือไม่  แล้วจัดพื้นที่นั้นไว้เป็นที่ที่ลูกนั่งทำการบ้าน  มีโต๊ะเขียนหนังสือหรือบริเวณที่อ่านหนังสือต้องมีไฟสว่างพอ  จัดหาเครื่องเขียน  กระดาษ  ดินสอ  ไม้บรรทัด  ยางลบ  กาว  กรรไกร  ให้ลูกหยิบใช้ได้สะดวก
2.  ลองสร้างความสัมพันธ์ทำความรู้จักกับคุณครูของลูก  ไปร่วมงานของโรงเรียนบ้าง  เข้าประชุมสมาคมครูผู้ปกครองบ้าง  เมื่อพบคุณครูของลูกควรพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการเรียนและการแจกงานมาฝึกปรือที่บ้าน  และปรึกษากับครูว่าพ่อแม่ควรมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยลูกตรงไหนอย่างไร
3.  จัดเวลาให้ลูกทำการบ้านตอนเย็น  ก่อนหรือหลังอาหารเย็นก็ได้  ถ้ามีการบ้านมากควรลงมือทำหลังจากเลิกเรียนหรือฝึกให้ลูกทำบางส่วนที่โรงเรียนขณะรอพ่อแม่ไปรับ  และทำต่อจนเสร็จแต่หัวค่ำจะได้เข้านอน  เด็กควรได้นอนหลับพักผ่อนแต่หัวค่ำ
4.  ในช่วงปิดเทอม  ก็ต้องจัดเวลาอ่านเขียน ( study  time )  จะเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น  หลังรับประทานอาหารว่าง  บางคนชอบให้ใช้เวลาตอนค่ำก็อนุโลมได้
5.  พยายามอย่าให้มีสิ่งรบกวนที่จะมาเบนความสนใจหรือถ้ามีก็ให้มีน้อยที่สุด  เช่น  ปิดโทรทัศน์  เครื่องเสียงต่าง ๆ  โทรศัพท์  นอกจากบางครั้งอาจจะใช้โทรศัพท์ถามการบ้านเพื่อนได้บ้าง
6.  ดูแลให้ลูกทำการบ้านด้วยตนเอง  เด็กจะได้เกิดการเรียนรู้  หากเขาไม่ได้คิดเอง  ทำเอง  ลองถูกลองผิดของเขาเอง พ่อแม่อาจแนะนำ  หรือช่วยชี้แนวทาง  ลูกจะต้องเรียนด้วยการทำ ( learning  by  doing  ) 
7.  สอบถามลูกถึงงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ  คำถามต่าง ๆ ที่ครูให้มาค้นหาคำตอบ  ข้อสอบต่าง ๆ  แล้วตรวจสอบว่าลูกทำครบไหม  เตรียมพร้อมที่จะตอบคำถามต่าง ๆ  และปลอบประโลมเมื่อลูกคับข้องใจ  คำถามบางคำถามพ่อแม่ไม่ทราบก็จะต้องช่วยกันค้นหาจากแหล่งต่าง ๆ  ทั้งหนังสือ  ตำรา  หรือแม้แต่ทางอินเทอร์เน็ต
8.  พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง  ถ้าพ่อแม่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ  เคยอ่านให้ฟังเสมอ  พ่อแม่ติดตามข่าวหนังสือพิมพ์  เขียนหนังสือ  เขียนจดหมาย  อ่านหนังสือเวลาว่าง  ลูก ๆ  ก็จะทำตามพ่อแม่ดีกว่าพร่ำสอนโดยไม่มีตัวอย่าง
9.  ชมเชย  ประกาศเกียรติคุณเมื่อลูกมีผลการเรียนดี  ให้เป็นที่รู้ในครอบครัว  และหมู่ญาติ
                  หากลูกมีปัญหาในการทำการบ้านอย่างต่อเนื่อง  เช่น  ทำไม่ครบ  ไม่ส่งการบ้าน  พ่อแม่ควรพูดคุยกับคุณครู  ถ้าทั้งสองฝ่ายลงความเห็นว่า  พ่อแม่ควรพูดคุยกับคุณครู  ถ้าทั้งสองฝ่ายลงความเห็นว่า  เป็นปัญหาควรพาลูกไปตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ  ว่าเด็กมีปัญหาเรื่องการเรียนหรือสมาธิสั้นหรือไม่ถ้ามีจะได้จัดการช่วยเหลือต่อไป
                  การดูแล  เอาใจใส่เด็กอย่างรอบด้าน  จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเขา  ดีกว่าต้องมานั่งกดดันกันทุกเย็น เพื่อให้เขาทำการบ้าน  เสียอารมณ์ทั้งคนสอนและคนถูกสอน  ลองมาช่วยเตรียมบรรยากาศ  และฝึกให้เป็นนิสัย  ให้เด็กเปิดรับเอาการบ้านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของเด็กให้ได้  แล้วบรรายกาศการทำการบ้านของเด็ก ๆ  ก็จะน่ารื่นรมย์กว่าเดิมเยอะเลย 
 





รายละเอียด


โดย:
งาน: งานบริหารฝ่ายวิชาการ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: วารสารทางการศึกษาสำหรับครู

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง