[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : มอ.เจ๋งสร้างชิปคอมพ์จับคู่โครโมโซม

ไม่ถึงนาทีรู้ผล-ถูกกว่านำเข้าจาก ตปท.

ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า ภาควิชาได้คิดค้นหน่วยประมวลผลขนาดเล็ก หรือชิป เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ สำหรับเพิ่มความเร็วในการประมวลผลการจับคู่ลำดับของจีโนม ซึ่งหมายถึงโครโมโซม หรือดีเอ็นเอทั้งหมดที่มีอยู่ในชุดหนึ่ง โดยมีความจำเพาะในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ปกติมนุษย์จะมีจีโนมขนาดประมาณ 3x109 คู่เบส ทำให้ต้องใช้เวลาคำนวณนาน แต่ชิปที่สร้างขึ้นจะใช้เวลาประมวลผลไม่ถึง 1 นาที ก็ตรวจสอบความเหมือนของจีโนมได้ นับเป็นเจ้าแรกในประเทศที่พัฒนาอุปกรณ์ชนิดนี้ขึ้น นอกจากนี้ มีราคาถูกกว่าอุปกรณ์นำเข้าที่มีราคาสูงกว่า 5 แสนบาท โดยชิปที่พัฒนาขึ้นนี้ นำมาใช้แทนคอมพิวเตอร์ระดับสูง (Super Computer) คาดว่าใน 1 ปี จะพัฒนาให้เชื่อมต่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือพีซีทั่วไป

''การตรวจสอบดีเอ็นเอว่าตรงกันหรือไม่ เช่น เป็นพ่อแม่ลูกกันหรือไม่ สามารถตรวจโดยพิสูจน์ดีเอ็นเอได้ แต่กว่าจะทราบผลต้องใช้เวลานาน แม้กระทั่งค้นพบสารพันธุกรรมใหม่ๆ ก็ตรวจสอบได้ โดยส่งข้อมูลไปยังธนาคารยีน หรือ GeneBank ว่าตรงกับสิ่งมีชีวิตชนิดใดหรือไม่ ซึ่งต้องใช้เวลานานเช่นกัน แต่อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาไม่ถึงนาที'' ดร.วรรณรัชกล่าว และว่า ก่อนหน้านี้สิงคโปร์นำวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ตรวจสอบสารพันธุกรรมเช่นกัน มีลักษณะเป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่มีชิปลักษณะเดียวกันนี้ฝังอยู่ แต่เมื่อไทยนำเข้ามาจะมีราคาสูงเพราะมีลิขสิทธิ์ หากพัฒนาขึ้นเองจะมีราคา 2,500-3,000 บาท หวังว่าชิปที่พัฒนาขึ้นจะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะการศึกษาในห้องแล็บที่เกี่ยวกับชีวเคมี และช่วยลดต้นทุนค่าอุปกรณ์ห้องแล็บ





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: มติชนรายวัน ฉบับที่ 10568 [หน้าที่ 27 ] ประจำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง