[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : สพฐ.พร้อมรับเด็กใต้เข้าเรียน 16 โรงเรียนดังในกรุง

      สพฐ.พร้อมรับเด็กภาคใต้ 123 คนเรียนใน 16 โรงเรียนดัง เดินทางถึง 3 มิ.ย.นี้ เปิดโอกาสให้เด็กเลือกโอนมาจบ ม.6 ในโรงเรียนที่เรียนในกรุงเทพฯ ได้ รวมทั้งหาครอบครัวมุสลิมให้เด็กได้ร่วมศึกษาวิถีชีวิตเมืองในวันหยุดด้วย


      นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการครอบครัวอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดพานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ในโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ามาเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.ในกรุงเทพฯ จำนวน 123 ราย ขณะนี้ได้ข้อสรุปว่านักเรียนทั้งหมดจะเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์ที่ 3 มิ.ย.นี้ เวลา 10.30 น. โดยรถไฟ และเข้าพักที่โรงเรียนสตรีวิทยาก่อน จากนั้นในวันที่ 4 มิ.ย.จะมีพิธีส่งนักเรียนไปยังโรงเรียนที่เลือกไว้ โดยมีโครงการที่ร่วมโครงการนี้จำนวน 16 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนสายน้ำผึ้ง โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา น้อมเกล้าฯ โรงเรียนบดินทรเดชา โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โรงเรียนศึกษานารี โรงเรียนศรีอยุธยา โรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนสายปัญญา และโรงเรียนพรตพิทยพยัต โดยโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี มีเด็กเลือกขอมาเรียนมากที่สุด คือ 26 คน รองลงมาคือ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ซึ่งจะมีการหารือกับนักเรียนเพื่อเกลี่ยไปยังโรงเรียนอื่นใน 16 โรงเรียนที่มีผู้เลือกน้อย เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลในการเรียนได้มากขึ้น แต่ขึ้นกับความสมัครใจของเด็ก
     
      นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการนี้เด็กภาคใต้จะเข้ามาเรียนและพักอยู่ในโรงเรียนที่เลือกไว้เป็นเวลา 1 ปี โดยจะได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กในโรงเรียนนั้น และมีกิจกรรมร่วมที่จะมีการกำหนดขึ้นโดย สพฐ. เช่น กิจกรรมเข้าเยี่ยมบุคคลสำคัญ เป็นต้น เมื่อปิดภาคเรียนเด็กจะได้กลับบ้าน และเด็กในโครงการนี้สามารถทำเรื่องย้ายโรงเรียนมาจบการศึกษาในชั้น ม.6 ได้ในโรงเรียนดังที่กรุงเทพฯ ได้ ขึ้นกับความสมัครใจของเด็ก แต่จากการสอบถามเบื้องต้น เด็กอยากจบในโรงเรียนเดิมที่ภาคใต้ เพราะมีผลในการขอรับโควตาเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ส่วนการเรียน ร.ด.จะได้รับการโอนมาเรียนในโรงเรียนในกรุงเทพฯ ด้วย นอกจากนี้ ครูในแต่ละโรงเรียนจะช่วยในการปรับพื้นฐานให้กับเด็กเพื่อให้ทันกับการเรียนของเด็กในกรุงเทพฯ เพราะที่ผ่านมาพบว่า เด็กในจังหวัดภาคใต้จะเรียนได้น้อยกว่าเด็กจังหวัดอื่นๆ 1 บท
     
      “โครงการนี้เป็นครั้งแรกที่เด็กภาคใต้จะได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนกรุงเทพฯ นานถึง 1 ปี ที่ผ่านมาเคยมีแต่เป็นโครงการระยะสั้นไม่กี่วัน หากได้ผลดี ในอนาคตจะมีการพิจารณาให้เด็กในภาคใต้ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนในกรุงเทพฯตั้งแต่ ม.4-6 ด้วย” นายสมเกียรติ กล่าว และว่า สำหรับเด็กในโครงการทั้ง 123 คน เป็นนักเรียนมุสลิม 57 คน ขณะนี้มีการหาครอบครัวมุสลิมรองรับเพื่อดูแลได้แล้ว เหลือประมาณ 20 ครอบครัวที่ กอ.รมน.และ กทม.อยู่ระหว่างร่วมหาครอบครัวให้เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาในวันหยุดกับครอบครัวมุสลิมในกรุงเทพฯ ส่วนที่เหลือเป็นเด็กไทยพุทธจำนวน 66 คน
     
      นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า เด็กในโครงการนี้แต่ละคนจะได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 5,000 บาท เป็นค่าอาหาร 3,000 บาท และค่าใช้จ่ายส่วนตัวอีก 2,000 บาท นอกจากนี้ สพฐ.จะทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพให้ด้วย งบประมาณค่าใช้จ่ายต่อคนประมาณ 70,000 บาท รวมทั้งโครงการประมาณ 8,610,000 บาท





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2550 14:33 น.

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง