[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

รองเท้าส้นสูง...ภัยที่คาดไม่ถึง ถึง ถึง!!!!!

            รองเท้าส้นสูง...ภัยที่คาดไม่ถึง

ผู้หญิงกับเรื่องของความสวยความงามเป็นของคู่กัน เหมือนคำโบราณว่าไว้ ''ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง'' ซึ่งนอกจากเสื้อผ้า หน้า ผม จะต้องดูดีมีสไตล์แล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือรองเท้าของคุณสุภาพสตรีนั่นเอง แต่เชื่อหรือไม่ว่าภายใต้รูปลักษณ์ทุกท่วงท่าที่ก้าวเดิน ราวกับนางพญาหงส์ มีภัยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเท้าของคุณตามมาด้วย

เนื่องจากรองเท้าส้นสูงทำให้พื้นที่บนฝ่าเท้าที่ต้องสัมผัสกับพื้นรองเท้าลดลงและนิ้วเท้าก็ลาดลงไปข้างหน้าซึ่งทำให้เท้าส่วนหน้าและนิ้วเท้าต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักมากว่าเท้าส่วนอื่น และยังทำให้ผู้สวมใส่มีโอกาสเกิดข้อเท้าเคล็ดได้ง่าย

จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามในต่างประเทศ พบว่ามีสุภาพสตรีที่มีปัญหาเรื่องปวดเท้า ประมาณ 80% และในจำนวนนี้ มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับรองเท้าส้นสูงถึง 75% จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่ามีผู้มาพบแพทย์ด้วยปัญหาปวดเท้า ในขณะที่บางรายก็อาจจะเป็นเนื่องจากรูปร่างของเท้าที่ผิดปกติ

เริ่มกันที่เรื่องของความสูงของส้นเท้า ซึ่งจากการศึกษาโดยทดลองกับผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำครึ่งหนึ่งและสวมส้นเตี้ยเป็นประจำครึ่งหนึ่ง พบว่าปัญหาสุขภาพเท้าจะเกิดขึ้นเมื่อเลือกสวมใส่รองเท้าที่มีขนาดส้นสูงเกินกว่า 5 ซม. หรือ 2 นิ้ว จะส่งผลให้เกิดปัญหาตั้งแต่ เล็บเท้าขบ หูดหรือตาปลาที่ฝ่าเท้า เส้นประสาทเท้าอักเสบ เอ็นข้อเท้าอักเสบ กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวายหดรั้ง ตลอดจนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเท้าพลิกเท้าแพลง

นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเข่า ปวดคอ ซึ่งเป็นผลมาจากการสั่นสะเทือนที่กระดูกส่วนดังกล่าวเพราะส้นเท้าไม่สามารถยืดหยุ่นตัวตามแรงกระแทกที่เกิดขึ้นขณะที่กำลังเดินหรือวิ่งได้ นอกจากนี้ รองเท้าแฟชั่นอินเทรนด์ล่าสุดในยุคนี้ ยังได้รับการออกแบบไม่เหมาะสมกับรูปเท้า เพราะทำให้นิ้วเท้าต้องบีบตัวเข้าหากันมากขึ้นจนนิ้วเท้าของสาวๆเกิดอาการเกร็งและเป็นตะคริวได้

ดังนั้นหากไม่อยากทำงายสุขภาพเท้าของคุณ ควรเลือกรองเท้าที่สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างมั่นคง สวมใส่สบายไม่บีบรัดเท้า ขนาดความสูงของส้นไม่สูงจนเกินไป เพราะภายใต้ความสวยงามอาจแฝงไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม หากเกิดการบาดเจ็บของข้อเท้า ให้ใช้ความเย็นประคบไว้ประมาณ 20-30 นาที ขณะเดียวกันให้ยกขาสูงและลดการใช้งาน โดยประคบได้ 4-5 ครั้งต่อวันหรือทุก 2 ชั่วโมง ในวันแรก จากนั้นให้ประคบต่ออีก 2-3 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นความร้อน หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง





แหล่งข้อมูล


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: โดย รัชนก อมรรักษากุล

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง