[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ภัยร้าย..ของอาการเหนื่อย

" เหนื่อยจัง ! ขอ พักหน่อยนะ " สโลแกนยอดฮิตพร้อมกับเดินไปชงกาแฟแก้วที่ 2 ของวัน คงจะเป็นภาพชินตาของแทบจะทุกคน

แต่ความเหนื่อยล้าในความเป็นจริงนั้นอาจจะแฝงไปด้วยสัญญาณเตือนบางอย่าง ซึ่งหากคุณเป็นคนประเภทที่รู้สึกเหนื่อยเหลือเกินทั้งๆที่เพิ่งจะพักมาหมาดๆ เราได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโรคต่างๆที่อาจจะมีความสัมพันธ์กับความเหน็ดเหนื่อยที่เกิดขึ้นดังนี้

Anemia http://images.thaiza.com/45/45_20071102154436..gif" width=19 border=0>
      ก็คือภาวะโลหิตจางซึ่งเกิดจากปริมาณเม็ดเลือดแดงรวมถึงสารฮีโมโกลบินมีไม่เพียงพอที่จะสร้างเม็ดเลือด เพื่อนำพาอ็อกซิเจนไปสู่เนื่อเยื่อต่างๆของร่างกาย โดยปกติสาเหตุหลักนั้นมาจากการขาดธาตุเหล็ก กรดโฟลิก วิตามิน B 12 รวมทั้งการเสียเลือดโดยตรงจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือระหว่างการมีประจำเดือน การใช้เคมีบำบัด และโรคเรื้อรังบางชนิดเช่นโรคไต ไวรัสตับอักเสบ C สำหรับอาการเหนื่อยที่พบ มักจะเกิดขึ้นแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมง่ายๆที่เคยทำบ่อยๆก็ตาม เช่นการไปตลาดซื้อของ หรือแม้แต่แค่เอาขยะไปทิ้งนอกบ้าน

Chronic Fatigue Syndrome( CFS ) http://images.thaiza.com/45/45_20071102154445..gif" width=19 border=0>
     หรือภาวะเหนื่อยเรื้อรัง ซึ่งโดยปกติจะต้องเกิดแบบต่อเนื่องหรือเป็นๆหายๆติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน อาการที่พบบ่อย มักจะเป็นความเหนื่อยล้ามากทั้งๆที่ได้นอนพักมาแล้ว ซึ่งจะกินเวลานานหลายวัน นอกจากนี้ยังมีอาการต่างๆร่วมด้วย เช่น การปวดกล้ามเนื้อและข้อ ความผิดปกติทางการมองเห็น อาการปวดศีรษะ ซึ่งอาการดังกล่าวมีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยต่อไป

Depression http://images.thaiza.com/45/45_20071102154436..gif" width=19 border=0>
     คือภาวะอาการซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการทางประสาทที่พบได้มากที่สุด อาการโดยทั่วไปจะเหมือนคนทั่วไปที่มีอาการซึมเศร้า หดหู่ สิ้นหวัง เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมช้าๆ บางคนอาจจะนอนหลับได้มากหรือน้อยก็ได้ ขณะที่กิจกรรมที่เคยชอบก็เปลี่ยนเป็นไม่สนใจ วิธีการที่ดีที่สุดควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

Hyperthyroidism http://images.thaiza.com/45/45_20071102154445..gif" width=19 border=0>
     คือภาวะที่มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ซึ่งหากไม่รักษาจะเป็นสาเหตุของภาวะกระดูกพรุน การเต้นของหัวใจผิดปกติ อาการที่พบบ่อยมักจะเกิดความอ่อนเปลี้ยของกล้ามเนื้อซึ่งจะชัดเจนหากมีการออกกำลังมากขึ้น นอกจากนี้อาจจะมีการนอนหลับไม่สนิท นอนหลับยาก ขาดสมาธิ น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ ตัวรุมๆ เหงื่อออกมากผิดปกติ ลำไส้แปรปรวน ตลอดจนความผิดปกติของรอบเดือน ซึ่งอาการดังกล่าวจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการตรวจระดับฮอร์โมน Thyroid-stimulating hormone(TSH)

Hypothyroidism http://images.thaiza.com/45/45_20071102154436..gif" width=19 border=0>
     คือภาวะที่มีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไป ซึ่งหากไม่รักษาจะเป็นสาเหตุของภาวะไขมันชนิดเลว ( LDL) สูง โรคหัวใจ เป็นหมัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ในเด็กแรกเกิดอาจจะมีผลต่อพัฒนาการของสมอง อาการที่พบบ่อยมักจะมีการเฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว และมีการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย ซึ่งจะชัดเจนหากต้องอยู่ในที่หนาวกว่าปกติ อาการอื่นๆที่พบได้แก่ ภาวะอ้วนง่ายและน้ำหนักลดได้ยาก ตัวบวม ผิวหนังหยาบกร้าน ผมร่วง รู้สึกหนาวกว่าคนปกติ รอบเดือนอาจจะมีมากหรือบ่อยกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพบแพทย์เช่นกัน

Kidney Disease http://images.thaiza.com/45/45_20071102154445..gif" width=19 border=0>
     คือกลุ่มอาการของโรคไต ซึ่งเกิดจากการทำงานของไตไม่เต็มที่ จึงทำให้น้ำและของเสียมีการค้างอยู่ในกระแสเลือด พบว่าสาเหตุหลักมาจากภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื้อรัง อาการโดยทั่วไปที่พบบ่อยได้แก่ น้ำหนักลด คันที่ผิวหนัง ไม่อยากอาหาร มีการบวมที่มือและเท้า ปัสสาวะบ่อย โรคไตยังทำให้การสร้างเม็ดเลือดผิดปกติจนนำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้ อาการเหนื่อยและหายใจหอบที่เกิดขึ้นจะเป็นได้ง่ายและจะชัดเจนในช่วงเย็นของแต่ละวัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจประสิทธิภาพการทำงานของไตต่อไป

Sleep Apnea http://images.thaiza.com/45/45_20071102154436..gif" width=19 border=0>
     คือภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งจะกินเวลา 10-20 วินาที/ครั้ง หรือมากกว่าในแต่ละคืน อาการโดยทั่วไปจะมีการเหนื่อยตลอดวัน หาวและชอบงีบหลับบ่อยๆ ปวดศีรษะช่วงเช้า ปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน นอนกรนเสียงดัง อาการนี้หากไม่ได้รักษาอาจจะเป็นต้นตอให้เกิดความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะหลอดเลือดสมองตีบ จึงควรจะปรึกษาแพทย์หากมีอาการเตือนดังกล่าว

Diabetes http://images.thaiza.com/45/45_20071102154445..gif" width=19 border=0>
     คือภาวะเบาหวานซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินก็ได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมีปริมาณมากขึ้น ขณะเดียวกันเซลล์ต่างๆก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ อาการที่ปรากฏจึงมักมีอาการโหยทั้งน้ำและอาหารกว่าปกติ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด และภาวะเบาหวานยังเป็นหนี่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคอื่นๆตามมา ได้แก่ ความผิดปกติของการมองเห็น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน ดังนั้นจึงควรพบแพทย์และหมั่นตรวจระดับน้ำตาลตามกำหนดเพื่อการวินิจฉัยต่อไป








โดย:
งาน: งานพัสดุครุภัณฑ์
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: รายละเอียดเพิ่มเติม:||http://variety.teenee.com/science/10667.html

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง