[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

พระราชบัญญัติ ลูกเสือ

 

 

พระราชบัญญัติ

ลูกเสือ

พ.ศ.๒๕๕๑

ภูมิพลอดุลยเดชป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑

เป็นปีที่ ๖๓ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังต่อไปนี้

มาตรา๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑”

มาตรา๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา๓ ให้ยกเลิก

(๑)พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๐๗

(๒)พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๙

(๓)พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘

(๔)พระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐

มาตรา๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“ลูกเสือ” หมายความว่าเด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิงที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่า “เนตรนารี”

“บุคลากรทางการลูกเสือ” หมายความว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ กรรมการลูกเสืออาสาสมัครลูกเสือ และเจ้าหน้าที่ลูกเสือ

“รัฐมนตรี” หมายความว่ารัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด๑

บททั่วไป

มาตรา๖ ให้มีคณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยบรรดาลูกเสือทั้งปวงและบุคลากรทางการลูกเสือ

มาตรา๗ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๘ คณะลูกเสือแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบและช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคี และมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เพื่อความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้

(๑)ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง

(๒) ให้ซื่อสัตย์สุจริตมีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

(๓)ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์

(๔)ให้รู้จักทำการฝีมือ และฝึกฝนให้ทำกิจการต่างๆ ตามความเหมาะสม

(๕)ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ

มาตรา๙ ให้กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานของคณะลูกเสือแห่งชาติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติรวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติสำนักงานลูกเสือจังหวัดสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดกิจกรรมลูกเสือเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

มาตรา๑๐ ให้กรรมการสภาลูกเสือไทย กรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ กรรมการลูกเสือจังหวัดและกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาได้รับเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

หมวด๒

การปกครอง

ส่วนที่๑

สภาลูกเสือไทย

มาตรา๑๑ ให้มีสภาลูกเสือไทย ประกอบด้วย

(๑) นายกรัฐมนตรีเป็นสภานายก

(๒) รองนายกรัฐมนตรีเป็นอุปนายก

(๓) กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาการศึกษาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภากาชาดไทย อธิบดีกรมการปกครองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน

(๔)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินแปดสิบคนซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย

ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

สภาลูกเสือไทยอาจมีสภานายกกิตติมศักดิ์อุปนายกกิตติมศักดิ์ และกรรมการกิตติมศักดิ์ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

มาตรา๑๒ สภาลูกเสือไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)วางนโยบายเพื่อความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของคณะลูกเสือแห่งชาติ

(๒)ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๓)พิจารณารายงานประจำปีของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๔)มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและเมื่อพ้นจากตำแหน่งอาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกได้

มาตรา๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๔)พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑)ตาย

(๒)ลาออก

(๓)เป็นบุคคลล้มละลาย

(๔)เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๕)ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ส่วนที่๒

คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๑๕ ให้มีคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรบริหารของคณะลูกเสือแห่งชาติประกอบด้วย

(๑)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ

(๒) กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการเลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเลขาธิการสภากาชาดไทย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน

(๓)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบห้าคนซึ่งสภานายกสภาลูกเสือไทยแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติตาม(๑) และ (๒)ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมาจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มาตรา๑๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๕ (๓)มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้

ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งและให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทนแต่ถ้าวาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งแทนก็ได้

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๔มาใช้บังคับแก่การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

มาตรา๑๗ คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและตามนโยบายของสภาลูกเสือไทย

(๒)ส่งเสริมความสัมพันธ์กับคณะลูกเสือนานาชาติ

(๓)สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ

(๔)สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

(๕)จัดการทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

(๖)ให้ความเห็นชอบในการลงทุนเพื่อประโยชน์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

(๗)ออกข้อบังคับของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

(๘)วางระเบียบและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ

(๙)จัดทำรายงานประจำปีเสนอสภาลูกเสือไทยพิจารณาตามมาตรา ๑๒ (๓)

(๑๐)แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๑๑)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมอบหมาย

(๑๒) กำกับดูแลสนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้าน

(๑๓)จัดตั้งตำแหน่งกิตติมศักดิ์และตำแหน่งอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้

(๑๔)ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา๑๘ ให้มีสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น

ให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๑๙ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้รัฐมนตรีแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนหนึ่งทำหน้าที่เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติและแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงอื่นในกระทรวงศึกษาธิการทำหน้าที่รองเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการตามจำนวนที่เหมาะสมโดยการเสนอของเลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการด้วย

มาตรา๒๐ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและตามนโยบายของสภาลูกเสือไทยรวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑)ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินของคณะลูกเสือแห่งชาติหรือดำเนินการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน

(๒)ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงอื่น

(๓)รับผิดชอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๔)ควบคุมดูแลกิจการลูกเสือให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติรวมทั้งถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของลูกเสือ

(๕)จัดให้มีการฝึกอบรมหรือการชุมนุมลูกเสือผู้บังคับบัญชาลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ

(๖)จัดทำรายงานประจำปีพร้อมงบดุลเสนอคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๗)จัดให้มีทะเบียนและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับลูกเสือ

(๘)ประสานและส่งเสริมสำนักงานลูกเสือจังหวัดและสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

(๙)ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับและตามมติของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๒๑ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติมีรายได้ ดังต่อไปนี้

(๑)เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี

(๒)เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

(๓) ค่าบำรุงค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๔)รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนหรือการร่วมลงทุนกับหน่วยงานและบุคคลภายนอกรวมทั้งผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

(๕)รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติและทรัพย์สินที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาประโยชน์

(๖)รายได้หรือผลประโยชน์อื่น

มาตรา๒๒ บรรดาเงินหรือรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่เป็นเงินหรือรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

การใช้จ่ายเงินหรือรายได้ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการลูกเสือตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๒๓ ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสำนักงานรวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

(๒)เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสำนักงาน รวมทั้งการเงินและบัญชี ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานแผนการเงินและงบประมาณของปีถัดไปต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๓)เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและตามนโยบายของสภาลูกเสือไทย

(๔) บรรจุ แต่งตั้งเลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง และลงโทษทางวินัย พนักงานและลูกจ้างตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๕)วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายข้อบังคับและระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๒๔ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้แทนของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเพื่อการนี้เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติหน้าที่เฉพาะอย่างแทนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

มาตรา๒๕ กิจการของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

มาตรา๒๖ การบัญชีของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีและต้องจัดให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการเงินการบัญชีและการพัสดุของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติทราบอย่างน้อยปีละครั้งทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

มาตรา๒๗ ให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติจัดทำงบการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณเพื่อตรวจสอบ

ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติและให้ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติทุกรอบปีงบประมาณแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี

ส่วนที่๓

ลูกเสือจังหวัด

มาตรา๒๘ ในแต่ละจังหวัด ให้จัดระเบียบการปกครองลูกเสือตามเขตจังหวัด

สำหรับการจัดระเบียบการปกครองลูกเสือในกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นรูปแบบพิเศษให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๒๙ ให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด ประกอบด้วย

(๑)ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ

(๒) กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการปลัดจังหวัดนายกเหล่ากาชาดจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนายอำเภอ นายกเทศมนตรี นายกสมาคมการศึกษาเอกชนจังหวัดและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(๓)กรรมการประเภทผู้แทนจำนวนห้าคน ได้แก่ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาผู้แทนสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้แทนค่ายลูกเสือจังหวัด ผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือและผู้แทนจากลูกเสือชาวบ้านซึ่งเลือกกันเองกลุ่มละหนึ่งคน

(๔)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบคนซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการลูกเสือจังหวัดตาม (๒) และ (๓)ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑เป็นกรรมการและเลขานุการ

ให้ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกกรรมการตาม (๓)ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๓๐ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖มาใช้บังคับกับวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๒๙ (๓) และ(๔) โดยอนุโลม

มาตรา๓๑ คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ภายในเขตจังหวัดดังต่อไปนี้

(๑)ควบคุมดูแลกิจการลูกเสือให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๒)ส่งเสริมและสนับสนุนความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือ

(๓)สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ

(๔)ควบคุมดูแลทรัพย์สินในกิจการของลูกเสือจังหวัด

(๕)พิจารณาคำขอการจัดตั้งค่ายลูกเสือตามมาตรา ๓๒

(๖)พิจารณารายงานประจำปีของสำนักงานลูกเสือจังหวัด

(๗)ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปี

(๘)ให้คำแนะนำผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาในการปฏิบัติงานลูกเสือ

(๙)จัดให้มีทะเบียนและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการลูกเสือ

(๑๐)ออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการลูกเสือเพื่อความเหมาะสมแก่การปกครองในจังหวัดซึ่งจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๑๑)จัดทำรายงานประจำปีและรายงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือในจังหวัดเสนอต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๑๒)แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดมอบหมาย

(๑๓)ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมอบหมาย

มาตรา๓๒ การจัดตั้งค่ายลูกเสือในจังหวัดใดต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดและให้คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดรายงานต่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติทราบ

การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

มาตรา๓๓ ให้มีสำนักงานลูกเสือจังหวัดอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๑เป็นหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด บังคับบัญชาและรับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานลูกเสือจังหวัดและให้ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานลูกเสือจังหวัด

มาตรา๓๔ การจัดตั้งค่ายลูกเสือ การขออนุญาตและการอนุญาตสำหรับค่ายลูกเสือในกรุงเทพมหานคร ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๒มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ส่วนที่๔

ลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

มาตรา๓๕ ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารงานลูกเสือในเขตพื้นที่การศึกษานั้น

มาตรา๓๖ ให้มีคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย

(๑)ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ

(๒) กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรของทุกอำเภอในเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลของทุกสถานีในเขตพื้นที่การศึกษาของกรุงเทพมหานคร

(๓)กรรมการประเภทผู้แทน ได้แก่ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้แทนสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนสถานศึกษาเอกชนผู้แทนสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาผู้แทนศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ ผู้แทนค่ายลูกเสือและผู้แทนสมาคมหรือสโมสรลูกเสือ ซึ่งเลือกกันเองกลุ่มละหนึ่งคน

(๔)กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินเจ็ดคนซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการตาม (๒) และ (๓)ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

ให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการและให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอีกไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกกรรมการตาม (๓)ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๓๗ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖มาใช้บังคับกับวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตามมาตรา ๓๖ (๓) และ(๔) โดยอนุโลม

มาตรา๓๘ ให้คณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ภายในเขตพื้นที่การศึกษาดังต่อไปนี้

(๑)ควบคุมดูแลกิจการลูกเสือให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

(๒)ส่งเสริมและสนับสนุนความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของกิจการลูกเสือ

(๓)ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมลูกเสือทั้งในและนอกสถานศึกษา

(๔)ควบคุมดูแลทรัพย์สินในกิจการของลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

(๕)พิจารณารายงานประจำปีของสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาและรายงานให้คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดทราบ

(๖)ให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการประจำปี

(๗)ให้คำแนะนำแก่ผู้อำนวยการสถานศึกษาในการปฏิบัติงานหรือจัดกิจกรรมลูกเสือ

(๘)จัดให้มีทะเบียนและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับลูกเสือ

(๙) กำกับดูแลสนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้านในเขตพื้นที่การศึกษา

(๑๐)ออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับกิจการลูกเสือเพื่อความเหมาะสมแก่การปกครองในเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายข้อบังคับและระเบียบของทางราชการและคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๓๙ ให้มีสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้นโดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหัวหน้าสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาบังคับบัญชาและรับผิดชอบการดำเนินงานของสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาและให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายเป็นผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

ส่วนที่๕

ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๔๐ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือได้มาจากการให้ซื้อด้วยเงินรายได้ของสำนักงานหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ หรือได้มาโดยวิธีอื่นไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุและให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ของสำนักงานตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเว้นแต่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเมื่อคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติไม่ขัดข้องและได้รับค่าตอบแทนจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา๔๑ ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติจะต้องจัดการตามเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้และต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติแต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าวสำนักงานลูกเสือแห่งชาติต้องได้รับความยินยอมจากผู้อุทิศให้หรือทายาทหากไม่มีทายาทหรือทายาทไม่ปรากฏจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๔๒ ทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับสำนักงานลูกเสือแห่งชาติในเรื่องทรัพย์สินมิได้

หมวด๓

การจัดกลุ่ม ประเภทและตำแหน่งลูกเสือ

มาตรา ๔๓ การตั้งการยุบ การจัดหน่วยลูกเสือ เหล่าลูกเสือและประเภทลูกเสือทั้งปวงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๔๔ การเข้าเป็นลูกเสือ การออกจากลูกเสือ การจัดประเภท ชั้น เหล่าและการฝึกอบรมลูกเสือในสถานศึกษาหรือนอกสถานศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๔๕ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีลำดับ ดังต่อไปนี้

(๑)ผู้อำนวยการใหญ่

(๒)รองผู้อำนวยการใหญ่

(๓)ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่

(๔)ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด

(๕)รองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด

(๖)ผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด

(๗)ผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

(๘)รองผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

(๙)ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน

(๑๐)รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน

(๑๑)ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ

(๑๒)รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ

(๑๓)ผู้กำกับกองลูกเสือ

(๑๔)รองผู้กำกับกองลูกเสือ

(๑๕)นายหมู่ลูกเสือ

(๑๖)รองนายหมู่ลูกเสือ

มาตรา๔๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้อำนวยการใหญ่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นรองผู้อำนวยการใหญ่ และรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่

ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด และปลัดจังหวัดเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด

ให้ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาและรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นรองผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือตามมาตรา ๔๕ (๙) ถึง(๑๖) ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๔๗ ตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือมีลำดับ ดังต่อไปนี้

(๑)ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ

(๒)ผู้ตรวจการใหญ่

(๓)รองผู้ตรวจการใหญ่

(๔)ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

(๕)รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

(๖)ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

(๗)ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด

(๘)รองผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด

(๙)ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด

(๑๐)ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

(๑๑)รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

มาตรา๔๘ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ตรวจการใหญ่ ปลัดกระทรวงมหาดไทยผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมการปกครองและอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นรองผู้ตรวจการใหญ่

การแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือและการกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือตามมาตรา๔๗ (๔) ถึง (๑๑)ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

มาตรา๔๙ ผู้ตรวจการลูกเสือมีหน้าที่ตรวจตรา แนะนำ ชี้แจงและรายงานเพื่อให้การบริหารงานลูกเสือเป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบและแบบธรรมเนียมของลูกเสือ

หมวด๔

ธง เครื่องแบบและการแต่งกาย

มาตรา๕๐ ให้มีธงคณะลูกเสือแห่งชาติและธงลูกเสือประจำจังหวัดโดยรับพระราชทานจากประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

ให้มีธงคณะลูกเสือไทยและธงลูกเสืออื่นๆเพื่อประโยชน์ในการร่วมกิจกรรมระดับนานาชาติ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๕๑ เครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๕๒ ลูกเสือต้องปฏิบัติตามวินัยซึ่งกำหนดไว้ในข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติและตามแบบธรรมเนียมของลูกเสือ

หมวด๕

เหรียญลูกเสือและการยกย่องเชิดชูเกียรติ

มาตรา๕๓ ให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษไว้สำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่หนึ่งและได้มีอุปการคุณช่วยเหลือกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที






พระราชบัญญัติ ลูกเสือ


โดย:
งาน: งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : 309 งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
แหล่งที่มา: สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 9

อ่าน 2 ครั้ง