[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

สุขภาพ--การป้องกันและการดูแลรักษา

                                                                                                 1.โรคหอบหืดคืออะไร  

    โรคหืดเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่อง จากมีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีความไว และตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้น มากกว่าคนปกติ ทำให้เกิดการหดเกร็งของหลอดลม มีการบวม ของเยื่อบุหลอดลม และมีการหลั่งมูกในหลอดลมมาก เป็นผลทำให้หลอดลม ตีบแคบลง ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบและมีเสียงวี๊ด ซึ่งอาการอาจทุเลาได้เอง หรือภายหลังการรักษา อาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เป็น ๆ หาย ๆ หรือเรื้อรัง 

2. เมื่อไหร่หรือมีอาการอย่างไรที่จะทำให้เราสงสัยว่าจะเป็นโรคหืด ท่านมีอาการตามคำถามดังต่อไปนี้หรือไม่ 

มีอาการไอเรื้อรัง ไอบ่อย ๆ และมักไอมากขึ้นเวลากลางคืนหรือ เช้ามืดหรือไม่  

หายใจมีเสียงวี๊ดเป็นครั้งคราวหรือเป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่  

ต้องตื่นเวลากลางคืน เพราะอาการไอหรือหายใจลำบากหรือไม่  

มีอาการไอหรือหายใจมีเสียงวี๊ด หลังการออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือไม่  

มีอาการหายใจลำบากในบางฤดูกาลของช่วงปีหรือไม่  

มีอาการไอ หายใจลำบาก เหนื่อย แน่นหน้าอกจากการหายใจ เอาสารก่อภูมิแพ้บางชนิดเช่น ขนสัตว์เลี้ยง ฝุ่นบ้าน หรือสารที่ก่อให้เกิด    การระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ กลิ่นแรง ๆ หรือไม่  

เมื่อเกิดอาการดังกล่าวข้างต้นผู้ป่วยต้องใช้ยาชนิดใด ๆ หรือไม่ หลังใช้ยาอาการดีขึ้นหรือไม่ หรืออาการหายไปได้เอง    

ถ้าท่านมีอาการ ดังกล่าวข้างต้นโอกาสที่ท่านจะเป็นโรคหืดเป็นไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม อาการดัง กล่าวไม่จำเพาะเจาะจงอาจเกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ ก็ได้จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมต่อไปและปรึกษาแพทย์ 

3. สิ่งกระตุ้นที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบได้แก่อะไรบ้าง สิ่งกระตุ้นได้แก่ 

การแพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่นในฝุ่นบ้าน ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์จากสัตว์เลี้ยงในบ้าน โดยเฉพาะขนแมว ขนสุนัข สปอร์จากเชื้อรา  

การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยจากเชื้อไวรัส เช่นไข้หวัด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้อาการหอบหืดกำเริบขึ้น นอกจากนี้ โรคไซนัสอักเสบก็เป็นสาเหตุทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ขึ้นได้  

การสัมผัสต่อสารก่อการระคายเคืองและมลภาวะของอากาศที่เป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง ควันและกลิ่นจากการประกอบ อาหาร โดยเฉพาะ กลิ่นฉุนและเผ็ด  

การออกกำลังกายที่มากเกินไป  

การเปลี่ยนแปลงอากาศ และอุณหภูมิ เช่นอากาศเย็น อากาศ อบอ้าว  

การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เช่น ความเครียด ความโกรธ ความกังวล ดีใจ เสียใจ ตกใจ หรือการหัวเราะมาก  

ยาบางอย่าง เช่น แอสไพริน ยาลดความดันโลหิต และยารักษา โรคหัวใจในกลุ่ม beta blockers และยาต้านการอักเสบของ ไขข้อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น (NSAID)  

อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ไวน์ อาหารทะเล นม ไข่  

สารผสมอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารกันบูด ผงชูรส  

4. อาการเตือนระวังก่อนหอบเป็นอย่างไร 

อาการเตือน ได้แก่ คัดจมูก จาม ไอมาก ๆ หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้ มีอาการหายใจลำบาก มีเสียงวี๊ด แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ ไอมีเสมหะมาก 

5. จะทำตัวอย่างไรเมื่อมีอาการหอบ 

ให้หยุดพัก สงบสติอารมณ์ อย่าตกใจกลัว หายใจเข้าอย่างปกติธรรมดา และหายใจออกทางปาก โดยค่อย ๆ เป่าลมจากปอดออกทีละน้อย ให้นาน และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้ยาพ่นหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์ 

6. การประเมินความรุนแรงของโรคหืดโดยตัวของผู้ป่วยเอง มีความจำเป็น แค่ไหนในผู้ป่วยรายใด  

เนื่องจากโรคหืดเป็นโรคที่มี อาการเปลี่ยนแปลง ได้ตลอดเวลา โดยไม่ สามารถคาดเดาอาการได้ล่วงหน้า ดังนั้นผู้ป่วย ที่มีความรุนแรง ของโรค อยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่ต้องใช้ยาพ่น ต้านการอักเสบ ตั้งแต่ 2 puff เช้า - เย็นขึ้นไป หรือเคยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จะประเมินความรุนแรงของ โรคหืด ได้โดยสังเกตอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีอาการหอบมากขึ้น หอบตอนกลางคืน หรือ การใช้เครื่องวัดค่าความเร็ว ของลมจากปอด ขณะหายใจออกเต็มที่ (Peak flow meter) เพื่อพิจารณา ปรับยาได้เอง ตามที่แพทย์ได้แนะนำไว้ 

7. ทำไมคนบางคนถึงเป็นโรคหืด 

ไม่มีใครรู้แน่นอนว่าทำไมคนบางคนถึงเป็นโรคหืด แต่พบว่าส่วนใหญ่ จะมีประวัติโรคหืดหรือโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ทำให้เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจาก กรรมพันธุ์และพบว่าถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคหืดคนใดคนหนึ่งลูกจะมีโอกาสเป็นโรคหืด ประมาณ 25% แต่ถ้าพ่อแม่เป็นโรคหืดทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคหืดประมาณ 50% 

นอกจากนี้สารก่อภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหืด สารก่อภูมิแพ้ ที่สำคัญคือสารที่สูดเข้าทางการหายใจ ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่นไรฝุ่น ซึ่งเป็น สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญที่สุดทั่วโลก รวมทั้งสำหรับประเทศไทยด้วย อาจจะเป็นตัวไรเอง หรืออุจจาระของตัวไร และพบได้บ่อยที่พรม ที่นอน หมอน และเบาะนั่งต่าง ๆ สารก่อภูมิแพ้ ในบ้านอื่น ๆ เช่น แมลงในบ้าน (เช่นเศษหรืออุจจาระของแมลงสาบ) ขนและรังแคหรือ สิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง (เช่นแมวและสุนัข) สปอร์จากเชื้อราต่าง ๆ สำหรับ สารก่อภูมิแพ้ นอกบ้านได้แก่ ละอองเกสรของต้นไม้ เกสรหญ้า เกสรวัชพืช และสปอร์จากเชื้อรานอกบ้าน นอกจากสารที่สูดทางการหายใจแล้ว สารก่อภูมิแพ้อาจเป็นสารที่รับประทานเข้าไป เช่นอาหาร สารที่ใช้เก็บอาหารให้สด สารแต่งสี ผงชูรส

8. โรคหืดรักษาได้หายขาดได้หรือไม่

ยังไม่มีการรักษาโรคหืดให้หายขาดได้ แต่ด้วยการรักษาที่เหมาะสมจะสามารถ ควบคุมอาหารและมีชีวิตอย่างปกติได้

9. เด็กที่เป็นโรคหืดโตขึ้นจะหายหรือไม่   

เด็กที่เป็นโรคหืดไม่รุนแรง เมื่อโตขึ้น ประมาณครึ่งหนึ่งจะหายไปได้เอง 

10. ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มอะไรเป็นพิเศษบ้าง  

ผู้ป่วยโรคหืด แต่ละคนจะแพ้อาหารไม่เหมือนกัน จึงไม่มีอาหารชนิดใด ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะ ี่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหืดทุกคนเกิดการแพ้และหอบขึ้นมาได้ ดังนั้น ถ้าผู้ที่เป็นโรคหืด กินอาหารชนิดใดแล้วมีอาการหอบก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารนั้น 

11. ผู้ป่วยโรคหืดจะออกกำลังได้หรือไม่  

ผู้ป่วยโรคหืดสามารถออก กำลังได้ เป็นที่ทราบดีแล้วว่าการออกกลังกาย เป็นสิ่งจำเป็นและมีผลดีต่อสุขภาพ ทำให้ ร่างกายแข็งแรง มีพลานามัยสมบูรณ์  

ผู้ป่วยโรคหืดส่วนใหญ่มักจะกลัวไม่กล้าและ พยายามหลีกเลี่ยง การออก กำลังกาย เพราะกลัวจะหอบ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยโรคหืด ถ้าได้รับ การรักษา จนควบคุม   อาการได้ดีแล้วสามารถจะออกกำลัง ได้และอาจจะช่วย ให้โรคหืดดีขึ้น การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอจะช่วยการทำงานของ ระบบหัวใจ และหลอดเลือดและระบบหายใจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้ง ช่วยให้ กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ มีความ แข็งแรงมากขึ้น  

การออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายมีความทนทานในการออกกำลังได้เพิ่มมากขึ้น มีผู้ป่วยโรคหืดหลายคน ที่เป็นนักกีฬาโอลิมปิคและสามารถคว้าเหรียญ และทำลาย สถิติโลกได้ เป็นการยืนยันและแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคหืดสามารถออกกกำลังกายได้  

ผู้ป่วยโรคหืด ที่จะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาควรจะเป็นผู้ป่วย ที่ได้รับ การรักษา อย่างเหมาะสม และควบคุมอาการได้ดีแล้ว จึงจะสามารถออกกำลังกายได้และ ไม่ควรออกกำลังมากเกินควร หรือหักโหมต่อเนื่อง พยายามหลีกเลี่ยง การออกกำลังกายในอากาศเย็นและแห้ง และควรมีการวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย 15 นาทีและหลังการออกกำลังกาย อย่างเต็มที่แล้วอย่าหยุดอย่างทันที แต่ให้ค่อย ๆ ผ่อนการเล่นให้ช้าลงประมาณ 10-15 นาที มีผู้ที่เป็นโรคหืดไม่มากนัก ที่จะมีอาการ หอบหืดหลังจากการออกกำลังกาย ซึ่งจะป้องกันได้ด้วยยาขยายหลอดลมชนิดพ่น และพ่นยาก่อนออกกำลัง 10-15 นาที และถ้ายังมีอาการอยู่ควรปรึกษาแพทย์ 

12. ควรฉีดยาให้ภูมิคุ้มกัน (immunotherapy) จะทำให้โรคหายขาด หรือไม่  

ไม่ได้ ทำให้โรคหืดหายขาด แต่อาจจะทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการดีขึ้น และอาจต้องใช้เวลาฉีด 1-2 ปี ถึงจะได้ผลเต็มที่ การฉีดยาให้มีภูมิคุ้มกัน จะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีสาเหตุจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้ชัดเจนและ การรักษา โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ตลอดจนใช้ยาป้องกันการหอบและยาขยายหลอดลม อย่างเหมาะสมแล้วยังมีอาการมากอยู่ 

13. อาการอย่างไรที่แสดงว่าโรคหืดมีอาการรุนแรง 

ได้แก่อาการหอบ ทุกวัน หรือต้องตื่นมาหอบตอนกลางคืนบ่อย ๆ ต้องเข้ารับการรักษาไว้ใน โรงพยาบาลบ่อย ๆ 

14. ยาขยายหลอดลมคืออะไร และจะเลือกใช้อย่างไร

 ยาขยายหลอดลม จะบรรเทาอาการโรคหืดได้อย่างรวดเร็วภายใน เวลาสั้น ๆ ยาจะช่วยเปิด ช่องทางเดินหายใจในปอดให้กว้างขึ้น โดยทำให้ กล้ามเนื้อหลอดลม ที่รัดแน่นให้คลายตัว ใช้ในกรณีที่มี อาการโรคหืด ที่เกิดขึ้น ทันทีทันใด หรือใช้ก่อนการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันอาการหอบ จะทำให้ผู้ป่วย รู้สึก หายใจโล่งสบายภายใน 5-10 นาที และยาออกฤทธิ์นานอย่างน้อยที่สุด 4 ชั่วโมง 

15. ควรเลือกใช้ยาสูดชนิดสเตียรอยด์อย่างไร และมีผลข้างเคียงหรือไม่   

ผู้ป่วยโรคหืด ที่มีอาการหอบ และมีความจำเป็นต้องใช้ยา ขยายหลอดลม ทุก ๆ วัน ควรจะได้รับยาพ่นสเตียรอยด์และ ควรใช้ยา อย่างสม่ำเสมอทุกวัน แม้ว่าจะไม่มีอาการหอบ เพราะยากลุ่มนี้ลดอาการอักเสบ ของหลอดลม ใช้ควบคุมอาการหอบหืด ต้องใช้เวลาหลายวันยาจึงจะออกฤทธิ์ ถ้าหยุด ใช้ยานี้อาการของโรคหืดอาจจะเลวลงและยากลุ่มนี้จะไม่สามารถลด อาการหอบหืดได้อย่างเฉียบพลัน ยาสูดชนิดสเตียรอยด์ อาจทำให้เกิด อาการระคายคอ เสียงแหบหรือเชื้อราที่ปาก แต่พบไม่บ่อยนัก และสามารถ ลดอาการได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำ หลังจากสูดยาแต่ละครั้ง 

16. เมื่อลูกจับหืดจะทำอย่างไร 

 ท่านต้องตั้งสติให้ดีแล้ว ประเมินความรุนแรงของโรคว่ามีอาการ ถึงขั้นไหน ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกช้า ๆ ให้ใช้ยาพ่นขยาย หลอดลม ชนิดออกฤทธิ์เร็ว ใช้ให้ถูกวิธี ให้เด็กดื่มน้ำอุ่นสักเล็กน้อยและดูอาการ อย่างใกล้ชิดประมาณ 1-2 ชั่วโมง สามารถใช้ยาพ่นขยายหลอดลมซ้ำได้ทุก 15-20 นาที จำนวน 2-4 ครั้ง ถ้ายังไม่ดีขึ้นหรือยังมีหายใจลำบากมากถือว่า การใช้ยาไม่ได้ผล ควรรีบพาไปหาแพทย์ 

17. จะป้องกันโรคหืดได้อย่างไร 

คนกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหืด ได้แก่ คนที่มีพ่อหรือแม่ คนใดคนหนึ่งเป็นโรคหืด ลูกมีโอกาสเป็นโรคหืดได้ ถ้าพ่อแม่เป็นหืดทั้งคู่ ลูกมีโอกาสเป็นโรคหืดสูงมาก โดยมีโอกาสเป็น 50% จะทำอย่างไรให้ลูก ไม่เป็นโรคหืด ถ้าพ่อแม่เป็นโรคหืด สิ่งนี้ปัจจุบันยังทำไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญ คือให้ลดสารที่แพ้ในอากาศ ลดสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน พยายามหลีกเลี่ยง สิ่งกระตุ้นและระวังอย่าให้เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง 

18. ผู้ป่วยโรคหืดควรจะหลีกเลี่ยงสิ่งใดบ้าง  

การป้องกันไม่ให้โรคหืดกำเริบ คือต้องหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ มลพิษในอากาศ ควันบุหรี่ โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจ โรคหวัด ตัวไรฝุ่น แมลงสาบ ขนเป็ด ขนไก่ เกสรหญ้าวัชพืช ลดความชื้นในห้องให้ต่ำกว่า 50% เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของตัวไรฝุ่น ไม่ควรออกกำลังกายมากเกินไป 

19. อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในเด็กที่เป็นโรคหืด  

ไม่มีความจำเป็นต้องงดอาหาร ยกเว้นว่า อาหารนั้น ๆ จะเป็นสิ่ง กระตุ้น ให้เกิดอาการหอบได้ เช่น ผู้ ป่วยที่แพ้อาหารจำพวกนม ไข่ อาหารทะเล หรือถั่ว สีผสมอาหาร สารกันบูดบางชนิด อาจเป็นสาเหตุให้มีการจับหืดได้ 

  20. ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรปฏิบัติตัวอย่างไร  

หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ จำให้ขึ้นใจว่าตัวเองแพ้อะไร  

หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันไอเสีย ควันธูป กลิ่นน้ำหอม การเปลี่ยนแปลงของ อากาศ  

ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี อย่าปล่อยให้อาการหวัดเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ หรือคออักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะเป็น สาเหตุให้ อาการ หอบหืดกำเริบได้   

ปรับสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดห้องนอนให้ปราศจาก ไรฝุ่น กวาดและทำความสะอาดห้องนอน ทุกวัน หลีกเลี่ยง ที่นอนหมอนที่ใช้นุ่น พรม ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ในบ้าน เป็นต้น  

หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงมาก ๆ หรือมีอากาศ ร้อนจัด หรือเย็นจัด  

ทำจิตใจให้สดชื่น ขจัดความกังวล ออกกำลังกายแต่พอดี เป็น ประจำ            

รับประทานอาหารให้ครบหมู่ ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด เพราะ จะทำให้ มีอาการไอมากขึ้น  

กินยาตามแพทย์สั่งอย่าหยุดยาเองหรือซื้อยากินเองและ มาตาม แพทย์นัดทุกครั้ง  

21. ผลของโรคหอบหืดในเด็ก 

ในเด็กที่มีอาการไม่มาก จะมีผลต่อการดำรงชีพเพียงเล็กน้อย ในเด็ก ที่มีอาการของโรคหอบหืดมาก หรือเป็นบ่อย ๆ จะมีผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ การเรียนและการดำรงชีวิตประจำตัวได้มาก อาจจะต้องขาด โรงเรียนบ่อย ทำให้ผู้ป่วยมีความเครียด วิตกกังวล กลัวเรียนไม่ทันเพื่อน ถูกห้ามเล่นกีฬา ทุกชนิด ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง ดังนั้น เด็กที่เป็นโรคหืดจึงควรได้รับ การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อเนื่อง รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในการ ป้องกันการจับหืดอย่างดีด้วย 

22. ตัวไรฝุ่นในบ้านมีความสำคัญต่อโรคหืดอย่างไร        

ตัวไรฝุ่นเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญที่เจือปนอยู่ในฝุ่นตามบ้านเมือง เป็นตัวที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง คันตา เคืองตา หอบหืด ผื่นคันตาม ผิวหนัง ลมพิษ เป็นต้น เนื่องจากตัวฝุ่นในบ้านมีขนาดเล็กมากประมาณ 0.25 มิลลิเมตร ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า อาศัยฝุ่นบ้าน ขี้ไคล และขี้รังแคของมนุษย์ เป็นอาหารประกอบกับบริเวณที่อับชื้นและอุณหภูมิ ที่อบอุ่นจะเป็นปัจจัย เหมาะแก่การแพร่พันธุ์ของตัวไร เช่น บ้านเรือน ที่มืดทึบอากาศไม่ถ่ายเท 

ดังนั้นท่านควรทำความสะอาดบ้านเรือนให้ทั่วถึง โดยเฉพาะใน ห้องนอน โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดให้ทั่วห้อง รวมทั้งขอบหน้าต่าง ขอบประตู เตียงนอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอนควรซักบ่อย ๆ ผึ่งแดดหรือ อบให้แห้งสนิท เปิดห้องนอนให้แสงแดดส่อง ได้ทั่วถึงช่วยทำลาย ตัวไรได้ 

23. การทำสมาธิกับโรคหืด 

การมีสมาธิทำจิตใจให้สงบไม่ตื่นเต้น ไม่กังวล แน่วแน่ หรือที่เรียกว่า ''ไม่เครียด'' จะทำให้กล้าม เนื้อหลอดลมคลายตัวใช้ได้ผลกับโรคหืดที่เกิด จากจิตใจ ถ้าจะนำมาใช้ก็คิดว่าไม่มีโทษอะไร ทั้งนี้ต้องควบคุมการหอบ และได้รับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ด้วย 

24. ผู้ป่วยโรคหืดที่ตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร    

การตั้งครรภ์จะ ทำให้มดลูกใหญ่ขึ้น ทำให้ปริมาตรความจุของปอด เล็กลง การทำงานของ ปอดจึงน้อยลงตามไปด้วย รวมถึงระดับฮอร์โมน ในเลือดบางชนิดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการทรุดลง ซึ่งจากผล การวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหืดที่ตั้งครรภ์ 30% จะมีอาการทรุดลง 30% ไม่มีความแตกต่าง อีก 30% จะมีอาการดีขึ้น จึงสรุปได้ว่าการตั้งครรภ์ ไม่ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการแย่ลงทั้งหมด 

                                                                                                        
                                                                                                       โรคภูมิแพ้
 
โรคภูมิแพ้  เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายของเรามีความไวผิดปกติ ต่อสิ่ง ที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเรียกว่าสารก่อภูมิแพ้  ซึ่งในคนปกติไม่เกิด อาการ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้หากได้รับ สารก่อภูมิแพ้ก็ จะเกิดอาการ แพ้ขึ้น

 สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้มีมากมาย เช่น เกสรดอกไม้ วัชพืช ขนของสัตว์เลี้ยง สีย้อมผ้า น้ำหอม ตัวไรที่อยู่ บนพื้นบ้านตามที่นอน เชื้อราในที่อับชื้น ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ฯลฯ หรือบางคนแพ้ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด เซรุ่ม หรือวัคซีนป้องก้นโรค เป็นต้น

 อาการโรคภูมิแพ้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย บางชนิดติดต่อทางกรรมพันธุ์ ด้วยอาการ ของโรคที่พบบ่อย คือ อาการทางระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนแพ้อากาศจมูก อักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ จาม คัดจมูก คันตา น้ำมูกไหล คล้ายเป็นหวัดเรื้อรังตลอดปี พออากาศเปลี่ยนแปลงจะมีอาการรุนแรงขึ้น อาจมีอาการไอ หายใจออกมีเสียง ดัง เหนื่อยหอบ และเป็นโรคหอบหืดด้วย

 นอกจากนี้ยัง อาจพบอาการทางผิวหนัง ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ ผิวหนัง อักเสบ และอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่นอาหาร ไม่ย่อย อาเจียน ท้องเสีย บางรายมีอาการเคืองตาปวด ศีรษะข้างเดียวเรื้อรัง เป็นลมชัก ปวดตามข้อ ในรายที่ ี่เป็นภูมิแพ้ต่อ อาหารหรือเซรุ่ม/วัคซีนป้องกันโรคแพ้ยา ในขั้นรุนแรง อาจทำให้ช็อก   หมดสติ ถึงแก่ความตายได้

การรักษาโรคภูมิแพ้ นอกจากรักษาทางยาแล้วอาจใช้ วิธีตรวจหาว่าผู้ป่วยแพ้สารชนิดใด และฉีดสารนั้นเข้าไปเพื่อก่อให้เกิดความต้านทานขึ้น แต่บางรายก็ไม่ได้ผล

 ดังนั้นการหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้จะเป็นการป้องกัน และรักษาที่ได้ผลดี แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ พยายาม 

สัมผัสสารเหล่านั้นให้น้อยที่สุด

จัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน และบริเวณบ้านให้สะอาด

กำจัดขยะและน้ำเน่าเสีย

หลีกเลี่ยงกาใช้พรม หรือใช้ เครื่องตกแต่งในบ้านให้น้อยชิ้นที่สุด

 ไม่ควรเข้าไปในห้องที่ทาสีใหม่ ๆ หรือเพิ่งฉีดยาฆ่าแมลง ยาดับกลิ่น

ไม่อยู่ในที่อับชื้น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

ไม่รับประทานอาหาร หรือยาที่ทำให้เกิดอากา แพ้

รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

กินอาหารที่มีประโยชน์

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ระงับความวิตกกังวลที่เป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ

หากไม่สบายต้องไปพบหมอ อย่าซื้อยามากินเอง ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ อย่างเคร่งครัด อาการโรคภูมิแพ้แม้ไม่หายขาดก็จะทุเลาลงได้

 






















เว็บที่ใช้ค้นคว้าhttp


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.dms.moph.go.th/Section3/304001.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง