[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ประวัติ -- สืบ นาคะเสถียร

ผมคิดว่า ชีวิตผมทำได้ดีที่สุดแล้วเท่าที่ผมมีชีวิตอยู่ 

ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว 

ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว 

และ...ผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ ... 
  
สืบ นาคเสถียร 
31 ธันวาคม 2492- 1 กันยายน 2533 

 

การจากไปของสืบ นาคะเสถียรได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรม ในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบ มิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพ ที่มีภาระการงาน เกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ ในประเทศไทย เป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อ ปกปัก รักษาทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยไม่คำนึงภัยอันตรายใดๆ การจากไปของเขา นับเป็นความสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสีย ที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ ผ่านพ้นไปโดยปราศจากความทรงจำ 

สืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2492 ที่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ในวัยเด็ก สืบมีบุคลิกภาพคือ เมื่อสนใจหรือ ตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำจริงจังจนประสบ ความสำเร็จ และเป็นผู้มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด จบการศึกษาจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้า ไป ทำหน้าที่ ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใด ๆ และ เริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์นั้นเจ็บปวดเพียงไหน 

สืบทำงาน อยู่ 3-4 ปี ก็ได้รับทุนไปเรียน ระดับปริญญาโทสาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จากนั้นกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จนกระทั่งขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว “ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคนเพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน 
 
 

 

ในระยะนี้ สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมายตั้งแต่การสำรวจติดตาม ชนิดและพฤติกรรม การทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรม ของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษาสภาพ ทางนิเวศ ของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่ฯ งานวิจัย เหล่านี้ ทำให้เขาเริ่มผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง และในเวลา ต่อมาเมื่อได้รับมอบหมาย ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้าง เขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี สืบได้ทุ่มเททุกเวลานาที ให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่า ที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึงความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียร เริ่มเข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่า ลำพังงานวิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้ง กระแสการทำลายป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหาระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่ 

เขารีบเร่งทำรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่า การช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง สืบยืนยันว่า การสร้างเขื่อนได้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรง และกว้างขวางเกินไป กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ฯ ต่าง ๆ ในที่สุด โครงการสร้างเขื่อนน้ำโจน ก็ได้ถูกระงับไป 

ทว่า สืบ นาคะเสถียร ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น กรณีน้ำโจนได้กลายเป็น บทเริ่มต้น ความพยายามของเขา ในการที่จะเสนอให ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็น มรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่คอย คุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้า เต็มไปด้วยความยากลำบาก นานัปการ 
  

 

ป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้หลายฝ่าย ต่างก็จ้องบุกรุก เข้ามา หาผลประโยชน์ สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ที่จะรักษาป่าผืนนี้ ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ตั้งแต่วันแรก ที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ เขาได้ประชุมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าห้วยขาแข้งทั้งหมด และได้ประกาศ ให้รู้ทั่วกันว่า “ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน” สืบ นาคะเสถียร พยายามปกป้องป่าห้วยขาแข้งอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ ไม่อาจหยุดยั้ง การบุกรุกของกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ได้ 

การดูแลผืนป่าขนาดหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ตกอยู่บนบ่าของเขา มันทั้งกัดกร่อนบั่นทอน และสร้างความตึงเครียด ให้กับสืบอยู่ตลอดเวลา สืบค้นพบว่า ปัญหาสำคัญ ของห้วยขาแข้ง เกิดจากความยากจน ที่ดำรงอยู่โดยรอบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ และผู้มีอิทธิพล สามารถยืมมือชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์ได้อย่างต่อเนื่อง 

ในทรรศนะของเขา หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา จากนั้น อพยพราษฎร ออกนอกแนวกันชน แต่พัฒนาแนวกันชนดังกล่าว ให้เป็นป่าชุมชน ที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม สืบไม่มีอำนาจเพียงพอ ที่จะเข้าไปจัดการเรื่องนี้ให้ปรากฏเป็นจริง 

ดังนั้นเขาจึงได้พยายามประสานงานกับผู้ใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจฟัง ปล่อยให้สืบ ต้องดูแลป่าห้วยขาแข้ง ไปตามยถากรรม ด้วยความเหนื่อยล้า ความผิดหวัง และความคับแค้นใจ 
 
 

 

สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้องคนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ ขณะที่ฟ้ามืดกำลังเปิดม่านรับวันใหม่เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้นตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติด้วยกายวาจา 

เรียบเรียงข้อมูล+คัดลอกจาก Website ของมูลนิธิ สืบ นาคเสถียร 



http://www.seub.or.th
 

 
ผมคิดว่า ชีวิตผมทำได้ดีที่สุดแล้วเท่าที่ผมมีชีวิตอยู่ 

ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว 

ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว 

และ...ผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ ... 
  
สืบ นาคเสถียร 
31 ธันวาคม 2492- 1 กันยายน 2533 

 

การจากไปของสืบ นาคะเสถียรได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรม ในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบ มิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพ ที่มีภาระการงาน เกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ ในประเทศไทย เป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อ ปกปัก รักษาทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยไม่คำนึงภัยอันตรายใดๆ การจากไปของเขา นับเป็นความสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสีย ที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ ผ่านพ้นไปโดยปราศจากความทรงจำ 

สืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2492 ที่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ในวัยเด็ก สืบมีบุคลิกภาพคือ เมื่อสนใจหรือ ตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำจริงจังจนประสบ ความสำเร็จ และเป็นผู้มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด จบการศึกษาจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้า ไป ทำหน้าที่ ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใด ๆ และ เริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์นั้นเจ็บปวดเพียงไหน 

สืบทำงาน อยู่ 3-4 ปี ก็ได้รับทุนไปเรียน ระดับปริญญาโทสาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จากนั้นกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จนกระทั่งขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว “ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคนเพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน 
 
 

 

ในระยะนี้ สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมายตั้งแต่การสำรวจติดตาม ชนิดและพฤติกรรม การทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรม ของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษาสภาพ ทางนิเวศ ของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่ฯ งานวิจัย เหล่านี้ ทำให้เขาเริ่มผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง และในเวลา ต่อมาเมื่อได้รับมอบหมาย ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้าง เขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี สืบได้ทุ่มเททุกเวลานาที ให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่า ที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึงความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียร เริ่มเข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่า ลำพังงานวิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้ง กระแสการทำลายป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหาระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่ 

เขารีบเร่งทำรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่า การช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง สืบยืนยันว่า การสร้างเขื่อนได้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรง และกว้างขวางเกินไป กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ฯ ต่าง ๆ ในที่สุด โครงการสร้างเขื่อนน้ำโจน ก็ได้ถูกระงับไป 

ทว่า สืบ นาคะเสถียร ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น กรณีน้ำโจนได้กลายเป็น บทเริ่มต้น ความพยายามของเขา ในการที่จะเสนอให ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็น มรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่คอย คุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้า เต็มไปด้วยความยากลำบาก นานัปการ 
  

 

ป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้หลายฝ่าย ต่างก็จ้องบุกรุก เข้ามา หาผลประโยชน์ สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ที่จะรักษาป่าผืนนี้ ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ตั้งแต่วันแรก ที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ เขาได้ประชุมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าห้วยขาแข้งทั้งหมด และได้ประกาศ ให้รู้ทั่วกันว่า “ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน” สืบ นาคะเสถียร พยายามปกป้องป่าห้วยขาแข้งอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ ไม่อาจหยุดยั้ง การบุกรุกของกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ได้ 

การดูแลผืนป่าขนาดหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ตกอยู่บนบ่าของเขา มันทั้งกัดกร่อนบั่นทอน และสร้างความตึงเครียด ให้กับสืบอยู่ตลอดเวลา สืบค้นพบว่า ปัญหาสำคัญ ของห้วยขาแข้ง เกิดจากความยากจน ที่ดำรงอยู่โดยรอบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ และผู้มีอิทธิพล สามารถยืมมือชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์ได้อย่างต่อเนื่อง 

ในทรรศนะของเขา หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา จากนั้น อพยพราษฎร ออกนอกแนวกันชน แต่พัฒนาแนวกันชนดังกล่าว ให้เป็นป่าชุมชน ที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม สืบไม่มีอำนาจเพียงพอ ที่จะเข้าไปจัดการเรื่องนี้ให้ปรากฏเป็นจริง 

ดังนั้นเขาจึงได้พยายามประสานงานกับผู้ใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจฟัง ปล่อยให้สืบ ต้องดูแลป่าห้วยขาแข้ง ไปตามยถากรรม ด้วยความเหนื่อยล้า ความผิดหวัง และความคับแค้นใจ 
 
 

 

สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้องคนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ ขณะที่ฟ้ามืดกำลังเปิดม่านรับวันใหม่เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้นตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติด้วยกายวาจา 

เรียบเรียงข้อมูล+คัดลอกจาก Website ของมูลนิธิ สืบ นาคเสถียร 



http://www.seub.or.th
 

 
ผมคิดว่า ชีวิตผมทำได้ดีที่สุดแล้วเท่าที่ผมมีชีวิตอยู่ 

ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว 

ผมคิดว่า ผมได้ทำตามกำลังของผมดีแล้ว 

และ...ผมพอใจ ผมภูมิใจสิ่งที่ผมทำ ... 
  
สืบ นาคเสถียร 
31 ธันวาคม 2492- 1 กันยายน 2533 

 

การจากไปของสืบ นาคะเสถียรได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรม ในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบ มิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพ ที่มีภาระการงาน เกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ ในประเทศไทย เป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อ ปกปัก รักษาทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยไม่คำนึงภัยอันตรายใดๆ การจากไปของเขา นับเป็นความสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสีย ที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ ผ่านพ้นไปโดยปราศจากความทรงจำ 

สืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2492 ที่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ในวัยเด็ก สืบมีบุคลิกภาพคือ เมื่อสนใจหรือ ตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำจริงจังจนประสบ ความสำเร็จ และเป็นผู้มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด จบการศึกษาจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้า ไป ทำหน้าที่ ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใด ๆ และ เริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์นั้นเจ็บปวดเพียงไหน 

สืบทำงาน อยู่ 3-4 ปี ก็ได้รับทุนไปเรียน ระดับปริญญาโทสาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จากนั้นกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จนกระทั่งขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว “ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคนเพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน 
 
 

 

ในระยะนี้ สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมายตั้งแต่การสำรวจติดตาม ชนิดและพฤติกรรม การทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรม ของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษาสภาพ ทางนิเวศ ของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่ฯ งานวิจัย เหล่านี้ ทำให้เขาเริ่มผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง และในเวลา ต่อมาเมื่อได้รับมอบหมาย ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้าง เขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี สืบได้ทุ่มเททุกเวลานาที ให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่า ที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึงความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียร เริ่มเข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่า ลำพังงานวิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้ง กระแสการทำลายป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหาระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่ 

เขารีบเร่งทำรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่า การช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง สืบยืนยันว่า การสร้างเขื่อนได้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรง และกว้างขวางเกินไป กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ฯ ต่าง ๆ ในที่สุด โครงการสร้างเขื่อนน้ำโจน ก็ได้ถูกระงับไป 

ทว่า สืบ นาคะเสถียร ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น กรณีน้ำโจนได้กลายเป็น บทเริ่มต้น ความพยายามของเขา ในการที่จะเสนอให ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็น มรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่คอย คุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้า เต็มไปด้วยความยากลำบาก นานัปการ 
  

 

ป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้หลายฝ่าย ต่างก็จ้องบุกรุก เข้ามา หาผลประโยชน์ สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ที่จะรักษาป่าผืนนี้ ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ตั้งแต่วันแรก ที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ เขาได้ประชุมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าห้วยขาแข้งทั้งหมด และได้ประกาศ ให้รู้ทั่วกันว่า “ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน” สืบ นาคะเสถียร พยายามปกป้องป่าห้วยขาแข้งอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ ไม่อาจหยุดยั้ง การบุกรุกของกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ได้ 

การดูแลผืนป่าขนาดหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ตกอยู่บนบ่าของเขา มันทั้งกัดกร่อนบั่นทอน และสร้างความตึงเครียด ให้กับสืบอยู่ตลอดเวลา สืบค้นพบว่า ปัญหาสำคัญ ของห้วยขาแข้ง เกิดจากความยากจน ที่ดำรงอยู่โดยรอบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ และผู้มีอิทธิพล สามารถยืมมือชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์ได้อย่างต่อเนื่อง 

ในทรรศนะของเขา หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา จากนั้น อพยพราษฎร ออกนอกแนวกันชน แต่พัฒนาแนวกันชนดังกล่าว ให้เป็นป่าชุมชน ที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม สืบไม่มีอำนาจเพียงพอ ที่จะเข้าไปจัดการเรื่องนี้ให้ปรากฏเป็นจริง 

ดังนั้นเขาจึงได้พยายามประสานงานกับผู้ใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจฟัง ปล่อยให้สืบ ต้องดูแลป่าห้วยขาแข้ง ไปตามยถากรรม ด้วยความเหนื่อยล้า ความผิดหวัง และความคับแค้นใจ 
 
 

 

สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้องคนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ ขณะที่ฟ้ามืดกำลังเปิดม่านรับวันใหม่เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้นตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติด้วยกายวาจา 

เรียบเรียงข้อมูล+คัดลอกจาก Website ของมูลนิธิ สืบ นาคเสถียร 



http://www.seub.or.th
 

 





http://www.nevercities.com/tower/seub.htm


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง