[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

เรือนไทย

เรือนไทย
เรือนไทยมีลักษณะเด่นคือ ใต้ถุนสูง หลังคาหน้าจั่ว ชายคายื่น ชานเรือนกว้าง ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่า นี้ ได้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศซึ่งค่อนข้างร้อนและความชื้นสูง กล่าวคือ ชีวิตคนไทยมีความเกี่ยวพันกับน้ำเป็นหลัก จึงมักจะสร้างบ้านให้อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อง่ายต่อการใช้น้ำ ในการทำประโยชน์ต่างๆ ทั้งในการเกษตรและชีวิตประจำวัน และในบางฤดูที่ฝนชุก น้ำหลาก จึงต้องยก พื้นบ้านให้สูงเพื่อมิให้น้ำท่วมถึง และส่วนประกอบที่เป็นไม้นั้น ถ้าสร้างไว้กับพื้น ไม้ที่เป็นพื้นก็จะเสีย ได้ง่าย อีกทั้งเรือนไทยสามารถที่จะรื้อถอนเคลื่อนย้ายและประกอบได้ง่าย ถ้าน้ำท่วมขึ้นมาสูงมากก็สา มารถที่จะรื้อบ้านแล้วย้ายไปประกอบใหม่บนที่ดอนได้ โดยบ้านจะไม่เสียรูปทรงแต่อย่างใด เพราะการ ประกอบส่วนต่าง ๆ ของตัวบ้านเข้าด้วยกัน จะใช้ไม้ทำเป็นเดือยเรียกว่า การเข้าเดือย เป็นหลัก ซึ่งสะ ดวกในการรื้อถอนและการประกอบ และเนื่องจากการปลูกบ้านทรงไทย เป็นการปลูกในลักษณะปรับ แต่งส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน จึงเรียกการปลูกบ้านทรงไทยว่า ปรุงบ้าน 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการปลูกบ้าน อาทิเช่น 
- ไม่ปลูกเรือนขวางตะวัน หมายถึงไม่ปลูกโดยหันหน้าบ้านหรือที่เรียกว่า ด้านแป ไปทางทิศที่ตะวันขึ้น หรือลง คือทิศตะวันออกและตะวันตก เพราะจะทำให้หน้าบ้านต้องรับแดดจัดซึ่งจะทำให้บ้านร้อนจัด ดัง นั้นด้านแปซึ่งเป็นหน้าบ้านจะอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ ส่วนด้านหัวท้ายหรือที่เรียกว่าด้านสกัด จะอยู่ทาง ตะวันออกหรือตะวันตกแทน แต่เคยมีผู้สันนิษฐานว่า ด้านสกัดคงจะเคยเป็นหน้าบ้านมาก่อนในสมัย โบราณ แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้ด้านแปเป็นหน้าบ้านในภายหลัง เนื่องจากพบข้อสันนิษฐานที่สำคัญหลาย อย่าง ประการหนึ่งคือ การสร้างโบสถ์ หรือ วิหารของวัดทั่วไป ซึ่งจะเห็นได้แม้ในปัจจุบันนี้ ที่จะมีด้าน สกัดเป็นด้านหน้า และอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นส่วนมาก เรือนไทยในสมัยก่อนก็คงเป็นแบบเดียวกัน เพียงแต่ไม่รู้ว่า วัดเลียนแบบบ้านหรือบ้านเลียนแบบวัด ต่อมาภายหลังคงจะเห็นแก่ความสะดวก และ ความจำเป็นบางประการ จึงได้เปลี่ยนให้ด้านแปเป็นด้านหน้าแทน 
- ชิมดิน คือการตรวจที่ที่จะปลูกบ้านว่าจะเป็นที่ที่ดี เป็นมงคลหรือไม่เพียงใด โดยการขุดหลุมลึกพอ ประมาณ เอาใบตองวางไว้ก้นหลุม เอาหญ้าคาที่สดและสะอาดวางไว้บนใบตอง ทิ้งไว้คืนหนึ่งให้ไอดิน ระเหยออกมาจับที่หญ้าคานั้น ตอนเช้าก็ลองชิมน้ำที่จับอยู่ว่าจะมีรสชาดอย่างไร ถ้าจืดถือว่าดีมาก เป็น มงคล ถ้าหวานถือว่าปานกลาง ถ้าเปรี้ยวถือว่าไม่ดี ไม่เป็นมงคล นอกจากชิมดินแล้ว ยังมีการดมดิน ด้วย ถ้าหอมถือว่าดีถ้ากลิ่นเผ็ดหรือเหม็นถือว่าไม่ดี 

เสาเรือน 
เสาเรือนถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับเรือนไทย จะอยู่เย็นเป็นสุขหรือมีทุขโศกโรคภัยก็อยู่ที่เสา เรือนนี้เอง ดังนั้น การเลือกหาเสาเรือนจึงต้องพิถีพิถันกันเป็นการสำคัญ ต้องเลือกแล้วเลือกอีก กว่า จะได้เสาเรือนที่ต้องการ ในสมัยก่อน การจะหาเสาเรือนนั้น ต้องออกไปหาตัดเอาตามป่า ไปกันที่ หนึ่งก็ต้องเป็นคณะใหญ่ เพราะต้องหาไม้เอามาทำเครื่องปรุงหลายอย่าง ไม่ใช่เฉพาะทำเสาเรือน อย่างเดียว ไม้ที่ใช้ก็มักจะเป็นไม้เต็งหรือไม้รังเท่านั้น เพราะเมื่อฝังลงไปในดินแล้ว สามารถที่จะอยู่ได้ เป็นเวลานานๆถึง 40-50 ปี โดยไม่ผุ มดปลวกก็ไม่เจาะไช ขนาดก็ไม่ใหญ่จนเกินไป เนื้อไม้ก็ไม่แข็ง จนเกินไปสำหรับที่จะต้องนำมาเกลาหรือเจาะเพื่อปรุงเข้ากับส่วนประกอบอื่นๆ แม้ไม้สักก็ไม่เหมาะที่ จะทำเสาเรือน เพราะไม้ที่ได้อายุพอที่จะทำเสาได้ก็จะมีอายุมาก และใหญ่เทอะทะ หรือไม้อื่นที่มีคุณสม บัติพอทำเสาเรือนได้ก็ไม่เอา เพราะมีชื่อที่ไม่เป็นมงคล ดังนั้น ไม้ที่เหมาะที่สุดคือ ไม้เต็ง และไม้รัง ไม้ ที่จะนำมาทำเสาเรือนนั้น ต้องเป็นไม้ที่มาจากป่าเดียวกัน เท่านั้น กล่าวกันว่า ถ้าเป็นไม้คนละป่า เทว ดาที่รักษาไม้นั้นอยู่เป็นคนละพวกกัน เข้ากันไม่ได้ ถ้าเกิดทะเลาะกันแล้ว จะทำความเดือดร้อนให้กับผู้ อยู่อาศัย ความที่อาจจะอธิบายได้ก็คือ ไม้ที่มาจากป่าเดียวกันก็จะมีลักษณะและความคงทนที่เหมือนกัน และอาจจะ รวมถึงความยากลำบากในการต้องขนไม้ออกจากคนละที่ เมื่อได้ไม้มาแล้วก็ต้องมีการถาก และ เกลา การถากไม้ ก็ต้องใช้ขวานถาก ซึ่งใช้สำหรับถากไม้เพื่อทำเสาโดยเฉพาะ ส่วนการเกลา คือ การเกลาไม้ให้กลม เรียบ เกลาโดยการใช้มีดจักตอกอันเล็กๆ เกลาจนกว่าไม้ทั้งท่อนจะกลมดี การเกลา ไม้นี้ถือว่าเป็นวิทยาการอย่างหนึ่งของลูกผู้ชายในสมัยโบราณที่จะต้องเรียนรู้กันเลยทีเดียว ถึงกับมีคำ โบราณว่าไว้ว่า ''ลูกผู้ชาย ถากไม้เหมือนหมาเลีย'' แต่คำนี้เห็นจะไม่มีใครพูดกันอีก เพราะความเจริญ ของเครื่องมือสมัยใหม่ ทำให้ไม่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็งเกลาไม้กันอีกต่อไป 

เรือนไทยมีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านแปเป็นด้านหน้า และด้านสกัดเป็นด้านข้าง ลักษณะ ต่างๆของเรือนไทย อาจจำแนกได้ดังนี้คือ 
1. ใต้ถุนสูง โดยให้สูงจากพื้นดินประมาณให้พ้นศรีษะ ซึ่งพื้นบ้านในแต่ละส่วนจะมีการลดหลั่นกันลง มา โดยผังบ้านจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่อาศัยภายในคือห้องนอน ห้องพระ และพื้นที่อาศัยภายนอก พื้นที่บริเวณห้องนอนและห้องพระจะอยู่สูงที่สุดประมาณ 2.60 เมตร ระเบียงจะลดระดับลงมา 40 เซนติเมตร พื้นชานบ้านจะลดลงมาอีก 40 เซนติเมตร การลดระดับเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์คือ สามารถมองลงไปใต้ถุนได้ ลมพัดผ่านสะดวก ใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนและกันน้ำจากชานบ้านไม่ให้เข้าไป ในบ้าน 
ประโยชน์ของการยกใต้ถุนสูงคือ 
- ปลอดภัยจากสัตว์ร้ายและคนร้าย 
- ป้องกันน้ำท่วม 
- ใช้เป็นที่เก็บของหรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำเกษตร 
- ใช้เป็นที่ขังสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย หมู 
- ทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน 
- อากาศถ่ายเทได้สะดวก จึงใช้เป็นที่พักผ่อน 
2. หลังคาทรงสูงหน้าจั่วและชายคายื่นยาว หลังคาเรือนไทยเป็นหลังคาทรงสูง หรือในแบบทรง มนิลา [Global Roof] โครงทำด้วยไม้ มุงด้วยวัสดุต่างๆ กันเช่น จาก แฝก หรือกระเบื้องดินเผา หลังคา ต้องทำทรงให้สูงเพื่อน้ำฝนจะไหลได้สะดวกไม่ขังอยู่บนหลังคา หลังคาทรงสูงยังช่วยระบายอากาศและ ความร้อนได้ดี ชายคาที่ยื่นออกมายาวนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้ฝนสาดเข้ามาในบ้านมาก และยังเป็นที่ ติดตั้งรางน้ำเพื่อรองน้ำฝนและเก็บไว้ใช้ 
3. ชานบ้าน โดยมากจะอยู่พ้นช่วงหลังคาออกมาทางหน้าบ้านเรียกว่านอกชาน มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่บนบ้าน ถ้ารวมระเบียงด้วยก็จะเป็นร้อยละ 60 พื้นที่ 2 ส่วนนี้เป็นพื้นที่อาศัยภายนอก โดยชานบ้านจะอยู่นอกชายคาออกไป ระเบียงจะอยู่ในชายคาบริเวณหน้าห้องต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัย ภายใน ถัดไปก็ จะเป็นห้องต่างๆ ชานบ้านมีหน้าที่หลายประการเช่น ชานแล่น คือชานที่เชื่อมเรือน ต่างๆเข้าด้วยกันในกรณีบ้านนั้นมีลักษณะเป็นเรือนแฝดหรือเรือนหมู่ และใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรม ต่างๆ 
โครงสร้างของเรือนไทย 
เรือนไทยมีโครงสร้างแบบเสาและคาน [Post & Lintel] ซึ่งจะถ่ายน้ำหนักจากหลังคาลงพื้น จากเสาแล้ว ลงสู่ฐานราก เสาบ้านมีลักษณะล้มสอบเข้า เพื่อการยึดเกาะที่ดี [Stability] และช่วยให้ฝาจับเสาได้แน่น ขึ้น เสาต้องเป็นเสากลม โคนโต ปลายสอบ โครงหลังคา มักเป็นโครงสำเร็จรูปซึ่งยกมาประกอบบนเสาได้ง่าย สะดวกในการรื้อถอนและเคลื่อนย้ายไปประกอบ ใหม่โดยบ้านไม่เสียรูปทรงและเนื้อไม้ เพราะประกอบเข้าด้วยวิธีเข้าเดือย ซึ่งเป็นกรรมวิธีหลักในการยึด ส่วนประกอบต่างๆ ของบ้านเข้าด้วยกัน เช่น เดือยหางเยี่ยว ใช้ยึดมุมพรึงของเสาบ้าน ไม้กลอนบากใช้ ยึดหลังคากับขื่อ มีสลักไม้ เป็นบานพับ ประตูหน้าต่างและบันไดเข้าเดือยไว้กับตัวบ้าน ส่วนประกอบของตัวเรือน 
1. หลังคา 
2. หน้าจั่ว เป็นแผงไม้รูปสามเหลี่ยม ใช้ปิดโพรงหลังคาทางด้านสกัดของเรือน 
3. ไขรา คือระยะจากหน้าจั่วออกไปถึงปั้นลม 
4. ปั้นลม คือส่วนที่ปิดหลังคาตรงส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าจั่ว 
5. อกไก่ คือไม้ยอดหลังคา ทอดตามยาวตลอดตัวเรือนและออกไปรับปั้นลมหัว ท้าย 
6. เหงา คือส่วนปลายของปั้นลม 
7. แปหัวเสา เป็นส่วนหนี่งของโครงหลังคา วางนอนตามความเอียงลาดเพื่อรับ ท้องไม้ 
8. จันทัน เป็นไม้ตั้งทะแยงมุมเข้าหาขื่อ โดยประกบตั้งทั้ง 2 ข้าง 
9. ไม้ค้ำชายคา อยู่ตรงตามแนวเสาทุกต้น 
10. กันสาด 
11. ขื่อ ส่วนประกอบโครงหลังคา ใช้ยึดหัวเสาตามขวาง 
12. เสาตั้ง ใช้ตั้งยันท้องขื่อ 
13. เต้า เจาะทะลุเสาออกไปรับเชิงชาย 
14. ระเบียง พื้นที่หน้าห้องซึ่งยังอยู่ในชายคา 
15. ฝาปะกน ไม้เนื้อแข็งทำเป็นแผงเข้ารูปสำเร็จเป็นตารางลูกตั้งสลับกันเป็นช่อง ลูกฟัก 

เรือนไทยโดยทั่วไปจะมีบานประตู 2 บาน เพื่อประหยัดเนื้อที่เมื่อเปิดประตู เพราะถ้ามีบานเดียว เมื่อ เปิดประตูออกแล้ว ต้องผลักให้บานประตูพับไปอีกด้านหนึ่ง ทำให้เสียเนื้อที่เท่ากับประตูทั้งบาน จะเปิด ออกค้างเอาไว้ครึ่งทางก็จะขวางทางเดิน เรือนไทยจึงมีประตูและหน้าต่าง 2 บานเสมอ เพราะเมื่อเปิด ออกไปให้สุด ก็ไม่ทำให้เสียพื้นที่มากนัก หรือจะเปิดคาเอาไว้ครึ่งเดียวก็จะไม่ขวางทางเดินแต่อย่างใด โดยที่ทั้งประตูและหน้าต่าง จะมีลักษณะเปิดเข้า เพราะเมื่อเวลาปิดจะได้ใช้สลักปิดล็อกได้ และจะมีธรณี ประตูขวางไว้ เพื่อเป็นการป้องกันสัตว์ร้ายที่อาจจะเข้ามาทางช่องว่างใต้ประตูได้ การวางประตูหน้าและ หลังจะไม่วางไว้ในแนวตรงกัน เพื่อความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายที่อาจจะมองเห็นความเคลื่อนไหวในตัว บ้านได้ดีขึ้น และเพื่อเก็บกักลมเอาไว้ก่อนไม่ให้พัดแรงเกินไป ถ้ามีประตูอยู่ในแนวเดียวกันเวลามีลม ลมก็อาจจะพัดพาเอาสิ่งของภายในบ้านปลิวออกไปกับลมได้ การสร้างบันไดก็จะไม่ทำบันไดต่อออกไป จากประตูแล้วตรงออกไปข้างหน้า แต่จะต้องมีชานออกมารับแล้วจึงทำบันไดหักออกไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุการวางบ้านให้ถูกทิศจะคำนึงถึงทิศทางลมและแดดเป็นหลัก ซึ่งโดยปกติแล้วไม่มี การกำหนดเอาไว้ว่าบ้านจะต้องหันหน้าไปในทิศใด เพียงแต่ไม่ให้หันไปทางทิศตะวันตกเท่านั้น เนื่อง จากทิศตะวันตกเป็นทิศอัปมงคล แต่โดยมากมักจะหันหน้าไปทางแม่น้ำลำคลองซึ่งจะใช้เป็นทางขึ้นและ ลงเรือ ถ้าไม่มีน้ำเป็นที่หมายก็อาจจะหันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และวางห้อง นอนให้อยู่ทางทิศตะวันออกเพื่อรับแดดอ่อนๆในตอนเช้า นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมการปลูกต้นไม้ ประจำทิศเพื่อความเป็นศิริมงคลของบ้านเช่น ปลูกต้นมะม่วงไว้ทางทิศใต้หรือหน้าบ้านเพื่อรับลมมรสุม จะทำให้ได้ผลมะม่วงดกและยังได้ร่มมะม่วงเอาไว้นั่งเล่นได้อีกด้วย ส่วนพันธุ์ไม้ที่ห้ามปลูกในบ้านก็มี เช่น ต้นโพธิ ต้นไทร เพราะต้นไม้ประเภทนี้มีรากที่ชอนไชไปได้ทั่ว อาจจะไชเข้าไปทำลายตัวบ้านได้ หรือต้นลั่นทมซึ่งมียางที่เป็นอันตราย ถ้ามีเด็กไปปีนเล่น ยางลั่นทมอาจจะเข้าตาและทำให้ตาบอดได้ 

--------------------------------------------------------------------------------





คลิกดูเพิ่ม


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.viboon.com/soc/tra/tra6.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง