[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ประเพณีการแข่งเรือ


ประเพณีการแข่งเรือเมืองน่าน
ประวัติความเป็นมาของการแข่งเรือ 
            การแข่งเรือในจังหวัดน่าน เป็นประเพณีที่สเก่าแก่สืบเนื่องกันมานานตั้งแต่โบราณจัดเป็นการแข่งขันที่อยู่ในฤดูฝนขึ้น ในเทศกาล ''ตานก๋วยสลาก'' (สลากภัต) แต่ละวัดของตนนำเรือเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อเป็นการสมานสมัคคีกันโดยไม่ต้องโดยไม่ได้รับค่าจ้างรางวัลแต่อย่างใดเลย และไม่มีกรรมการตัดสินด้วย 

ประมาณปี 2479ภายหลังจาการที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเมืองการปกครอง ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่านยุบไป ก็มีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือข้าหลวงที่ส่งมาจากส่วนกลาง เข้ามาปกครองแทน   ครั้งนั้น พระเกษตรสรรพกิจ ผู้ว่าราชการ ได้มีดำหริไห้มีการทอดกฐินสามัคคีในจังหวัด และจัดไห้มีการแข่งขันเรือที่มีอยู่เดิมนั้นเป็นประเพณีสำคัญสืบต่อกันมานานแล้ว จึงจัดไห้มีการแข่งขันขึ้นในเทศกาลทอดกฐินสามัคคีนี้ด้วย รางวัลขณะนั้นก็มีเพียงธงปักหัวเรือฝืนเดียว เฉพาะรำที่ 1,2,3 เท่านั้น 

เมื่อปี พ.ศ. 2503 ได้มีการจัดงานทอดกฐินพระราชทานขึ้นเรียกว่า ''กฐินหลวง'' ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จึงจัดไห้มีการแข่งเรือในงานถวายกฐินพระราชทานกับงานกฐินประชาสามัคคี นับว่าเป็นนัดแข่งขันที่สำคัญอย่างยิ่งและยิ่งใหญ่ที่สุด จะมีเรือเข้าแข่งขันไม่น้อยกว่า 40 ลำ จากอำเภอเมืองน่าน อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา ประชาชนทั่วสารทิศทั้งในจังหวัดและต่างหวัด ตลอดจนชาวต่างประเทศ ต่างพากันหลั่งไหลเข้ามาชมการแข่งเรือ ในปีหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนคน ถนนทุกสายในเขตเทศบาลเมืองน่าน จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน โรงแรมทุกแห่ง จะมีการจองล่วงหน้าเป็นเดือน ๆ 

เมื่อ พ.ศ. 2522 ทางจัดหวัดน่านดำริไห้มีการเปิดสนามการแข่งเรือโดยถือเอางานสลากภัตของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารของทุกปีเป็นหลักในการจัด ซึ่งในงานสลากภัตนี้วัดช้างค้ำวรวิหารจะมีก่อนก่อนวัดอื่น ของจังหวัดน่าน งานสลากภัตกับการแข่งเรือเป็นของคู่กันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว จึงเอางานสลากภัตวัดช้างค้ำวรวิหาร เป็นการเปิดสนามการแข่งเรือของจังหวัดน่าน ในแต่ละปี ซึ่งมีสลากภัตจะสิ้นสุดเมื่อขันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12   ลักษณะของเรือที่ทำการแข่งขัน  
                 เรือแข่งของจังหวัดน่านนี้จะมีลักษณะต่างกัน จากเรือของภาคกลางคือ ลำตัวจะไม้ไม้ซุงทั้งท่อนขุดแบบเรือซะล่า แต่จะมีรูปทรงเพรียวลมเหมาะแก่การแข่งขัน เรือลำหนึ่ง จะมีฝีพายประมาณ 28 - 45 คน แต่ในปัจจุบันนี้บางลำใหญ่มากจุฝีพายถึง 50 คน มีหัวเรือทำเป็นรูปพระยานาคราช หรืองูใหญ่ ชูคอสง่า อ้าปากเขี้ยวงองอนสูง ติดพู่ห้อยหัว และหางตลอดทั้งลำ ติดกระจกสีสลักลายอย่างวิจิตรพิศดาร ลงรักปิดทองแลดูแวววาวคล้ายเรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ ตรงคอต่อหัวเรือมีธงประจำคณะหลากหลายสีติดอยู่ การเลือกไม้มาทำเรือส่วนมากใช้ไม้ตะเคียนมาทำเรือ เพราะถือว่า ผีนางไม้แรงดีลอดน้ำได้ดีกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ การต้องการทำเรือแข่งไห้เหมือนนาคนั้น หรือคล้ายพญานาคนั้น ในหนังสือ ประเพณีการแข่งเรือเมืองน่าน ปี พ.ศ. 2525 กล่าวไว้ว่า จำลองมาจากรูปพญานาคนั่นเอง เพราะว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว ตามประวัติพญานาค เป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่ดลบัลดานไห้ฟ้าฝนอุดมสมบูรณ์เพื่อไห้มนุษย์ได้ทำไร่ ทำนา และการเกษตรอื่น ๆ ก่อนที่จะทำการแข่งขัน เรือแข่งแต่ละลำต่างจะนำคณะเรือของตนพายเอื่อย ๆ เลาะมาตามตลิ่ง บ้างก็กลางแม่น้ำ เพื่อเป็นการอวดฝีพายและความพร้อมเพรียงเสนอไห้ผู้ชมได้เห็น เรือแต่ลำจะตีฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ และพลับพาง เครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่ทำด้วย ทองเหลือง หรือทองแดงบาง ๆ เวลาใช้ฆ้องตีจะมีเสียงดังแหบ ๆ ดังประสานกันเป็นจังหวะเร้าใจ ''โมง……แท้บแท้ง……แท้ง …แถ่ง….ๆๆๆ'' ประสานเสียงกับปี่ชวาจากเรือบางลำ ในที่สุดก็เป็นการแสดงดนตรีดังกระหึ่มไปทั่วลำน้ำน่าน และจะมีนักล่าเรือ รำโดยกยายส่ายไปมาไห้จังหวะฆ้องกลอง เป็นที่ชื่นชอบและน่าดูเป็นอย่างยิ่ง ฝีพายแต่ละลำ ก็แต่งกายด้วยชุดหลากสี  
 



  กำหนดการแข่งขันและสถานที่แข่งขัน  
              การแข่งเรือของจังหวัดน่าน จะมีกำหนดการตายตัวมีการแข่งขันที่แน่นอน 3 ครั้งในแต่ละปี คือ ท? การแข่งขันนัดเปิดสนาม ในงานสลากภัตของวัดช้างค้ำวรวิหาร สถานที่แข่งขันจะใช ้ลำน้ำน่าน หน้าจวญผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ท การแข่งเรือวันออกพรรษา ทำบุญทานสลากภัต ตามประเพณี ที่วัดบุญยืน อ.เวียงสา สถานที่ทำการแข่งขันหน้าวัดบุญยืน อ.เวียงสา ท การแข่งขัน เรือในงานวัน กฐินพระราชทาน ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร สถานทีทำทำการ แข่งขันใช้ลำน้ำหน้าจวญผู้ว่าราชการ จังหวัดน่าน บางปีจะถือเอาการแข่งขันเรือในงานกฐินพระราชทานนี้เป็นการปิดสนาม การแข่งเรือ ในรอบปีนั้นด้วย หรืออาจจะถือเอาลำน้ำน่าน หน้าวัดใด วัดหนึ่ง ในอำเภอเมืองน่าน หรืออำเภอเวียงสา เป็นสนามแข่งเรือในการปิดสนามก็ได้ ซึ่งจะมีการตกลง กันเป็นปี ๆไป ส่วนการแข่งขันเรือ นั้นในแต่ล ะปีนั้นมีจำนวนไม่แน่นอน แล้วแต่ว่าวัดใดอยู่ใกล้ลำน้ำน่านงานสลากภัต หรืองานกฐิน จะมีการแข่งขัน เรือเป็น ประเพณ๊ควบคู่ด้วยกันมาตั้งแต่โบราณ แต่จะต้องหลังจากมีการเปิด สนามเรือแข่วใน สลากภัตของวัดพระธาตุช้างคำวรวิหารแล้ว  
การเก็บเรือแข่งเมื่อการแข่งเรือเสร็จสิ้นไปแต่ละครั้งฝีพายทั้งหลายก็ช่วยกันฉุดลากนำเรือขุ้นไว้บนโรงเก็บที่จัดทำไว้ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่วัด มีคานสำหรับเก็บเรือ เป็นชั้น ๆ ไปตามความยาวของเรือ คือระดับไห้ท่อน หัวเรืออยู่ต่ำลง เช่น หัวเรือสูงจากพื้น 0.5 เมตร ท้ายเรือต้องสูงอย่างน้อย 1 เมตรอย่างนี้เป็นต้น เสร็จแล้วก็ต้องใช้ไม้ทับหัวเรือหรือตอกด้วยลิ่ม การที่หัวเรือท้ายเรือต้อง ตอกด้วยลิ่มก็เพราะว่าไม่ไห้เรือ บิดเอียง มิฉะนั้นจะทำไห้เรือแล่นไม่ดีล่มง่าย และการนำเรือขึ้นมาเก็บก็จะมีวิธีคือ 1. เขาจะมีหลักฝังมุด ฝังไว้ใต้ดิน ตรงจัดกลางของหัวเรือ ใช้ลูกตุ้มหย่อนวัดขนาดของหัวเรือตรงจุดกลาง ของหัวหมุด จึงมั่นใจได้ว่าไม่เอียง เสร็จแล้วก็ล้อมด้วยรั้วตาข่าย ใช้หนามถม ไม่ไห้เด็กเข้าไปเล่น เพราะว่ากลัวเรือ จะเอียงนั้นเอง แต่เวลาที่จะเอาเรือลงก็ดีจะเอาเรือขึ้นไปเก็บไว้ก็ดี เขาจะมีพิธีกรรมแตกต่าง กันไป เช่น บางหมู่บ้าน บางวัด บวงสรวงนางไม้ด้วยของหวาน ตลอดจนหัวหมู เป็ด ไก่ อ้น แต่ปัจจุบันนี้พิธีกรรม เหล่านี้ไม่ค่อยจะพบเห็นแล้ว ส่วนมาก็มีข้าวต้ม ขนมกล้วย เท่านั้น 

ประโยชน์ของเรือ 
             สำหรับเรือแข่งจังหวัดน่าน นอกจากมีไว้เพื่อการแข่งขันในงานประเพณีแล้ว บางปีเกิดอุบัติภัยขึ้น ภายในวัด หรือหมู่บ้าน หมู่บ้านไหน หรือวัดไหนมีเรือก็นำเอามาช่วยในการอพยพผู้คน หรือขนย้าย สิ่งขิงไปไว้ใน ที่ปลอดภัย เช่นอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2524 ในเขต อ.เมืองน่าน อ.เวียงสา เสียหายมาก อุทกภัยครั้งน ก็ได้นำ เรือแข่งมาช่วยไว้ได้มากมายเลยทีเดียว ประเพณีการแข่งเรือเมืองน่านปัจจุบัน ปัจจุบันนี้การ แข่งเรือของจังหวัดน่าน โดยเฉพาะในงานกฐินพระราชทาน จะมีการเพิ่มประเภทของเรือที่ทำการแข่งขัน เพื่อไห้มีความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้น  

1. ประเภทเรือเร็ว  

1.1 เรือขนาดเล็ก  

1.2 เรือขนาดกลาง  

1.3 เรือขนาดใหญ่  

2. ประเภทเรือสวยงาม  

3. ประเภทกองเชียร์ 

                  แต่ละประเภทก็จะมีรางวัลไห้ตามลำดับที่ 1,2 ,3 ซึ่งรางวัลเหล่านี้แต่ละปีไม่เท่ากันแล้วแต่คณะกรรมการดำเนินการแข่งขันจะร่วมกันพิจารณาเพื่อ ความเหมาะสมเป็น ปี ๆ ไป และยังมีรางวัลปลอบใจสำหรับเรือทุกลำที่เข้าร่วมการแข่งขัน ตลอดจนกองเชียร์ทุกกลุ่มที่เข้าร่วมการแข่งขันอีกด้วย  


 เรือเร็ว 
โดยความเป็นจริงแล้วหรือแข่งแต่ละลำจะมีขนาดไม่เท่ากันจำนวนฝีพายก็แตกต่างกัน บางลำจุฝีพายได้เพียง 30 คนเท่านั้น บางลำจุได้มากกว่า 50 คน ก่อไห้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 ทางจังหวัดได้รับเป็นเจ้าภาพในการแข่งเรือกฐินพระราชทาน ระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม 2525 ตามปกติเทศบาลเมืองน่านจะเป็นผู้ดำเนินการแข่งขัน ได้แบ่ง  

ประเภทของการเร็วออกเป็น 3 ขนาดคือ 

1. เรือเล็ก มีฝีพายระหว่างไม่เกิน 30 คน  

2. เรือขนาดกลาง จำนวนฝีพายระหว่าง 31-40 คน  

3. เรือขนาดใหญ่ มีจำนวนฝีพายระหว่าง 41-55 คน  

วิธีการแข่งขันนั้น 

จะจัดการแข่งขันออกเป็นคู่ๆแบบแพ้คัดออกตั้งแต่รอบคัดเลือกจนกระทั่งรอบชิงชนะเลิศ  

กรรมการการแข่งขันมีอยู่ 3 คณะ 

1. กรรมการปล่อยเรือ  

2. กรรมการจัดทำร้องน้ำ  

3. กรรมการตัดสินเส้นชัย 

คณะกรรมการเหล่านี้จะแบ่งจากข้าราชการเจ้าหน้าที่จากฝ่ายต่างๆของจังหวัดน่านเป็นอย่างดี ส่วน ประชาชนคนดูก็ชุมนุมกันอยู่สองฟากฝั่งของแม่น้ำและบนสะพาน ส่งเสียงเชียร์สนับสนุนพรรคพวกของตน  
     

 





  ประเภทเรือสวยงาม 
                    การแข่งเรือประเภทนี้ จะมีเฉพาะในงานทอดกฐินพระราชทานเท่านั้น ในงานสลากภัตตมหมู่บ้านต่าง ๆ ไม่นิยมจัด อาจเป็นเพราะต้องใช้เงินมาก และอีกประการหนึ่งก็คือ การแข่งเรือประเภทสวยงามนั้นไม่ค่อย ตื่นเต้นเท่ากับเรือประเภทความเร็ว ประเภทกองเชียร์ การประกวดกองเชียร์มีเฉพาะงานกฐินพระราชทานเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นงานแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ในรอบปี หมู่บ้านใดมีเรือของตนเข้าแข่งขัน ก็จะมาสร้างอัฒจันทร์ ตามริมฝั่งแม่น้ำ มีเครื่องดนตรี การเจต้นรำประกอบจังหวะ การแปรอักษร ร้องเพลงเชียร์ เป็นที่สนุกสนาน การขุดเรือ  
การขุดเรือแข่ง 
                   เมื่อคณะศรัทธาบ้านไหนมีความต้องการที่จะขุดเรือ คณะศรัทธาในหมู่บ้านนั้น ไปเสาะหาไม้มาขุดเรือกัน ไม้ที่ใช้ส่วนมากนิยมใช้ไม้ตะเคียน และไม่สัก ขนาดของไม้ที่นำมาทำเรือ เลือกเอาตามความต้องการ ลักษณะของไม้ที่จะนำมาขุดเรือ ต้องเป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรง ไม่มีกิ่งมาก เมื่อพบต้นไม้ที่จะนำมาขุดตามความต้องการแล้ว ก่อนจะนำมาขุดนั้น จะมีพิธีการบวงสรวงเจ้าป่าอารักษ์ เพื่อขอไม้ การตัดโค่นจะเริ่มที่โคนรากของต้น ไม่ได้ตัดที่ลำต้นทั้งที เพื่อเป็นการป้องกันไม่ไห้ต้นไม้ล้มแรง อาจทำไห้เนื้อไม้แตกหรือฉีกได้ จะค่อย ๆ ตัดที่รากของต้นไม้ที่ละน้อย เพื่อต้นไม้จะค่อย ๆ ล้มลง เมื่อล้มแล้วก็ต้องวัดดูความยาวตามต้องการ ขั้นตอนต่อไปนั้นก็จะลากซุงออกจากป่า มายังหมู่บ้าน หรือวัดโดยการใช้ช้าง ตั้งแต่ในป่า จนนำทาถึงที่บ้านขุดเจาะโดยช่างชำนาญงาน ซึ่งค่ามือในการเจาะนั้นคิดกันเป็น หลายหมื่นเลยทีเดียว เพราะต้องใช้เวลา ประมาณ 1-2 เดือน จึงจะเรียบร้อยลักษณะเรือเป็นสำหรับคนขี่ ส่วนหัวและหางเป็นรูปพญานาค ทาสีอย่างสวยงาม 
 





คลิกดูเพิ่ม


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.thai.net/nanpracha/student/sarayoot/festival.htm

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง