[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

              (((ปุ๋ยน้ำชีวภาพ-ธรรมชาติที่แสนบริสุทธิ์)))    เทคโนโลยีธรรมชาติ เพื่อเกษตรธรรมชาติ

         ปุ๋ยน้ำชีวภาพ คือ สารสกัดธรรมชาติที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต + ธาตุอาหารพืช
            1.  สิ่งมีชีวิตได้แก่ จุลินทรีย์อันได้แก่ แบคทีเรีย รา ยีสต์ ฯลฯ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของต้นพืช ได้มาจากสิ่งมีชีวิตเดิมที่ติดอยู่กับต้นพืชที่นำมาทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
            2.   ธาตุอาหารได้มาจาก ธาตุอาหารเดิมในต้นพืช ที่ต้นพืชดูดซึมมาจากพื้นดินแล้วนำไปสะสมไว้ตามส่วนต่างต่างของพืช ทั้งนี้ปริมาณธาตุอาหารจะมากหรือน้อย เข้มข้นหรือเจือจาง ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นพืช
            3.  ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำชีวภาพไม่มากเหมือนธาตุอาหารที่มาจากกระบวนการผลิตทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็พอเพียงสำหรับการใช้ของต้นพืช เนื่องจากพืชกินอาหารช้าๆ ดังนั้น การให้ธาตุอาหารด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพจึงควรให้แบบบ่อยครั้ง และตรงเวลาสม่ำเสมอ
            4.  การใส่ธาตุอาหารที่มาจากกระบวนการผลิตทางวิทยาศาสตร์ลงไปในปุ๋ยน้ำชีวภาพในรูปของตัวเติม หรือตัวเสริม หรือตัวเร่ง ก็จะช่วยให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพมีธาตุอาหารเข้มข้นขึ้นหรือเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามความต้องการได้
สรีระของพืช เช่น ยอด ใบอ่อน ใบแก่ เปลือกอ่อน เปลือกแก่ ดอก ผลอ่อน ผลแก่ ผลสุก เหง้า หัว ราก ล้วนแต่มีฮอร์โมนเฉพาะในการเจริญเติบโต 
จุลินทรีย์คือตัวการสำคัญในการย่อยสลายในส่วนต่างๆ 
ของพืชออกมาเป็นของเหลวและเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดฮิวมัสกับสาร
สำคัญอื่นที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปุ๋ยน้ำชีวภาพคือสารธรรมชาติที่แท้จริง ยิ่งใช้มาก ใช้บ่อยๆ ใช้อย่างสม่ำเสมอ ใช้ตรงเวลา จะช่วยให้ความสมดุลทางธรรมชาติกลับคืนมา และดีขึ้น ปุ๋ยน้ำชีวภาพมีธาตุอาหารสำหรับพืชครบถ้วนมากน้อยตามที่ใส่เติมเข้าไป และปุ๋ยน้ำชีวภาพมีจุลินทรีย์มากหรือน้อยก็อยู่ที่เติมใส่เข้าไปเช่นกัน ปุ๋ยน้ำชีวภาพมีทั้งธาตุอาหารและจุลินทรีย์ ในขณะที่ปุ๋ยเคมีมีเพียงธาตุอาหารอย่างเดียวเท่านั้น ปุ๋ยน้ำชีวภาพทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น แต่ปุ๋ยเคมีกลับทำให้สภาพของดินเลวลง

         ประสิทธิภาพที่เหนือชั้นของปุ๋ยน้ำชีวภาพ
           1.  ปรับค่าพี เอช ดินให้เป็นกลาง จากการทดลองใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพควบคุมและบังคับให้ส้มเขียวหวานออกตามระยะเวลาที่ต้องการ ก่อนเริ่มปฏิบัติการได้มีการตรวจค่า พี เอชดิน ปรากฎว่ามีค่า 4.0-4.5 ซึ่งถือว่าเป็นกรดจัด หลังจากมีการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพโดยการใส่ต้นส้มเขียวหวานทางราก 3 รอบ ใน 1 เดือน ปรากฎว่า ค่า พี เอชของดินขึ้นมามีค่าอยู่ที่ 6.0-6.5 ถือว่าเป็นกรดอ่อนๆ ที่ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดี
           2.  ผลจากการที่ค่า พี เอชของดินหายจากการเป็นกรดจัด จึงเป็นผลทำให้เชื้อราไฟทอฟทอร่าสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าในต้นส้ม ไม่สามารถเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้และตายไปในที่สุด
           3.  จุลินทรีย์ในปุ๋ยน้ำชีวภาพ สามารถย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุทุกชนิดในเนื้อดิน โดยเฉพาะดินเหนียวถึงเหนียวจัดจะกลายเป็นดินร่วนทันที ทั้งนี้เนื่องจากจุลินทรีย์ในดินได้แทรกตัว เข้าไปในระหว่างอนุภาคของเม็ดดิน
           4.  ฮิวมัสที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายในปุ๋ยน้ำชีวภาพ จะเข้าไปทำปฏิกิริยาทางเคมีสามารถลดความเข้มข้นของสารโปแตสเซียมคลอเรท สำหรับบังคับลำใยให้ออกนอกฤดูกาล และสารพาโคบิวทราโซล สำหรับบังคับมะม่วง ให้เจือจางลงจนไม่เป็ฯอันตรายต่อการทำงานของรากของต้นไม้ผลที่ดินมีการใช้สารนี้อย่างประจำและต่อเนื่อง จึงทำให้ดินกลับคืนสู่สภาพปกติได้
            5.  สภาพโครงสร้างของดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยฮิวมัสนั้น สามารถทำให้เกิดไส้เดือนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพแก่ต้นพืชทั้งทางรากและทางใบ ปุ๋ยน้ำชีวภาพส่วนที่ลงไปอยู่ในดินนั้นทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น
            6.  ไส้เดือนจึงสามารถอาศํยในดินที่อุดมได้ (ไส้เดือน 1 ตัวสามารถสร้างปุ๋ยอินทรีย์ได้มากถึง 6-7 กิโลกรัมต่อปี





คลิกดูเพิ่มที่


โดย:
งาน: งานห้องสมุด
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.geocities.com/Heartland/Forest/7188/water.html

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง