|
|
นับตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2546 เป็นต้นไป ประเทศไทยก็จะเป็น ''ไท'' สมชื่อแล้ว เมื่อรัฐบาลของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศชำระหนี้แพ็กเกจเงินกู้กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟงวดสุดท้าย
ถือเป็นการประกาศเอกราชทางการเงินครั้งสำคัญของไทยครั้งหนึ่ง เพราะตลอด 6 ปีที่เข้าอยู่ในแผนดังกล่าวได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในหลาย ด้านเป็นอย่างยิ่ง เนื่องเพราะเงื่อนข้อกำหนดที่ระบุตามหนังสือเจตจำนง (แอลโอไอ) นั้นล้วนกดดันให้รัฐบาลไทยหลายชุดต้องเดินหน้าปฏิบัติตามอย่างไม่มีทางเลี่ยง นั่นก็เพราะว่า เราอยู่ในฐานะลูกหนี้ที่อำนาจต่อรองเจ้าหนี้ย่อมเหนือกว่าเสมอ แต่การ ประกาศที่จะชำระหนี้คืนครั้งนี้ ที่ถือว่าเร็วกว่ากำหนด เพราะตามแผนการชำระหนี้งวดสุดท้ายราวเดือนพฤษภาคม 2548 หรืออีกเกือบ 2 ปีข้างหน้า นอกจากประหยัดในเรื่องของค่าดอกเบี้ยแล้ว ยังส่งผลดีต่อเครดิตและความน่า เชื่อถือของประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกปรับให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น และเป็นผลดีต่อการดำเนินนโยบายที่รัฐบาลประกาศโดยที่ไม่มีใครมาแทรกแซงและทัดทาน ซึ่งจะเป็นไปอย่างอิสระมากขึ้น แต่สิ่งที่นายกรัฐมนตรีท่านนี้ประสงค์มากที่สุดคือการเปลี่ยนบทบาทของประเทศ ไทยจากผู้กู้มาเป็นผู้ให้กู้ จึงเห็นว่านโยบายและมาตรการหลายอย่างจึงมุ่งไปที่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สร้างรายได้ตามศักยภาพที่เขามีได้เต็มที่ เพราะจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลดีต่อขนาดจีดีพีของประเทศที่โตอยู่เพียง 5.5 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! ''ย้อนรอย'' ค่าเงินบาท สู่โปรแกรมไอเอ็มเอฟ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นวันที่คนไทยหลายคน ต้องจำไปอีกนานแสนนาน เพราะเป็นวันที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ตัดสินใจลอยตัว ค่าเงินบาท อันเป็นผลจากความพ่ายแพ้ในสง-ครามเศรษฐกิจ จากการต่อสู้ค่าเงินในลักษณะสว็อปให้กับฝรั่งตาน้ำข้าวอย่างราบคาบ ซึ่ง เหตุการณ์ในครั้งนั้นเองทำให้เราสูญเสียเงิน ตราที่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไปจำนวนมหาศาลไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ว่ากันว่าในการต่อสู้ศึกสงครามแย่งชิงเงินตรา เพื่อปกป้องค่าเงินบาท ทำให้เราต้องสูญเสียทุนสำรองไปมากมายมหาศาล ผลกระทบที่ตามมาจึงมากมายมหาศาลเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ไทยประสบกับภาวะบอบช้ำทางเศรษฐกิจเรื่อยมา นอกจากนี้วิกฤติที่เกิดกับประเทศไทยครั้งนั้นหลายคนเรียกว่า ''ต้มยำกุ้งไครซิส'' ยังขยายผลกระทบแผ่ไปยังประเทศรอบๆ ภูมิภาคบาดเจ็บไปตามๆ กัน หลายประเทศเลือกที่จะขอความช่วย เหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) รวมทั้งประเทศไทย โดยเงินกู้ที่ไทยได้รับในครั้งนั้นแบ่งเป็นแพ็กเกจดังนี้ วงเงิน ไอเอ็มเอฟโดยตรง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เจเอ็กซิมแบงก์ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารกลางต่างๆ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมเงิน 14.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งผลพวงจากการขอความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ เป็นตัวกดดันให้รัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้น คือพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี และมี ดร.ทนง พิทยะ นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องยอมปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตจำนง(แอลโอไอ) ที่ทำเอาไว้กับไอเอ็มเอฟ อย่างไม่มีทางเลือก อาทิ การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 10% เป็นต้น แต่วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดในครั้งนั้นรุนแรงถึงขั้นให้รัฐบาลพล.อ.ชวลิตตัดสินใจลาออก และสิ่งที่เป็นผลพวงอีกอย่างหนึ่งคือ ผู้ที่ร่วมในการต่อสู้ค่าเงินบาทในครั้งนั้น ต้องรับชะตากรรมถูกฟ้องร้องดำเนินคดี (อ่านล้อมกรอบผู้ว่าการเริงชัย) ''ชวน-ธารินทร์'' ศิษย์รักไอเอ็มเอฟ เมื่อรัฐบาลของพล.อ.ชวลิตลาออกท่ามกลางความย่อยยับทางเศรษฐกิจ เพราะค่าเงินบาทวิ่งไปแตะที่ 55-56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจเอกชนเผชิญกับภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นเท่าตัว สถาบันการเงินจำนวนมากถูกสั่งระงับการทำธุรกรรม เครดิตระหว่างธนาคารกับลูกหนี้แทบจะขาดสะบั้น กระทั่งเข้าสู่การบริหารของรัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย ที่มีนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงเริ่มต้นด้วยการเรียกความเชื่อมั่นกลับคืน ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่งเนื่องเพราะวิกฤติที่เกิดรุนแรงเกินกว่าที่จะใช้เวลาสั้นๆ คลี่คลายลงได้โดยง่าย แต่ความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจต้องยอมรับว่าเริ่มกลับคืนมา แต่ด้วยแรงกดดันจากเงื่อนไขหนังสือเจตจำนงที่ทำเอาไว้กับไอเอ็มเอฟ หรือจะเรียกว่าเป็นคำสั่งก็คงไม่ผิด ทำให้รัฐบาลนายชวนโอนอ่อนตามด้วย ส่งผลให้นโยบายทางเศรษฐกิจ และนโยบายการเงินในขณะนั้น บีบรัดให้เอก-ชนไทยจำนวนหนึ่งเดินไปสู่หลุมฝังศพเร็วขึ้น อาทิ นโยบายคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงิน ฝากในระบบสถาบันการเงินไว้ระดับที่สูง ทำให้ภาคการผลิตไม่สามารถหาเม็ดเงินมาเป็นน้ำหล่อเลี้ยงธุรกิจต่อไปได้ ในขณะที่ภาคการ เงินถูกมองว่าได้รับการเอาใจใส่ และเม็ดเงินจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาทถูกนำไปแก้ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ยิ่งตอกย้ำความไม่พอใจของเอกชนจำนวนมากที่มีต่อรัฐบาล ส่งผลให้กฎหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 11 ฉบับที่รัฐบาลประกาศว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อาทิ พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พระราชบัญญัติกฎหมายล้มละลาย (แก้ไข) เป็นต้น ถูกแปรเจตนาว่าเป็น ''กฎหมายขายชาติ'' ทำให้ช่วงปลายๆ ของรัฐบาลชุดดังกล่าวเสียรังวัด และส่งผลต่อคะแนนนิยมร่วงกราวรูดติดดิน ไปด้วย ''ทักษิณ-สมคิด'' ปลดแอกไอเอ็มเอฟ เมื่อการเลือกตั้งต้นปี 2544 กระแสคิด ใหม่ ทำใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยพรรคไทยรักไทย นำโดยพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรค และมีกุนซือ ''มือการตลาดชั้นครู'' อย่างดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นั่งเป็นประธานคณะทำงานทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้นโยบายหลายอย่าง อาทิ กองทุนหมู่บ้าน พักหนี้เกษตรกร 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น ดลใจประชาชน ทำให้ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาล ตลอด 2 ปี นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างมิติทางการเมือง และ นโยบายการบริหารประเทศหลายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เฉพาะอย่างยิ่งนโยบายทางด้านการเงิน การคลัง ที่ในช่วง 2 ปีแรกมอบหมายให้ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ที่ฮือฮาอย่างมากคือการประกาศชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด เพราะตามกำหนดเดิมชำระงวดสุดท้ายต้องเป็นเดือนพฤษภาคม2548 แต่นายกรัฐมนตรีประกาศชำระคืนหนี้ทั้งหมดภายใน 31 กรก-ฎาคม 2546 หรือชำระเร็วกว่ากำหนดเกือบ 2 ปี ประหยัดค่าดอกเบี้ยหลายพันล้านบาท ซึ่งม.ร.ว.ปรีดิ-ยาธร เทวกุล ผู้ว่า การธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า แผนการชำระคืนหนี้ตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก่อนกำหนดในส่วนที่เหลือจำนวน 4,800 ล้านดอลลาร์ ''ขณะนี้ทางธปท. ได้หารือกับเจ้าหนี้ทั้งไอเอ็มเอฟ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งญี่ปุ่น (เจ-เอ็กซิมแบงก์) และธนาคารกลางของ 7 ประเทศแล้ว รวมทั้งได้จัดทำแผนการชำระคืนหนี้ก่อนกำหนด โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ได้เริ่มชำระหนี้งวด แรกในส่วนของหนี้ที่เป็นเงินกู้ (Loan) ที่กู้ จากไอเอ็มเอฟและเจ-เอ็กซิมแบงก์ก่อน'' ผู้ว่า การธปท.กล่าว และบอกอีกว่า ส่วนเงินกู้จากธนาคารกลาง ซึ่งอยู่ในรูปของการกู้เงินในลักษณะสว็อปนั้น (สัญญาการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วง หน้า) ในการชำระคืนหนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สัญญาดังกล่าวครบกำหนด ในการชำระคืนหนี้ส่วนของวงเงินที่กู้จาก ไอเอ็มเอฟ ซึ่งเหลืออยู่ 400 ล้านดอลลาร์ จะ แบ่งชำระเป็น 4 งวดๆ ละเท่ากัน ขณะที่เงินกู้จากเจ-เอ็กซิมแบงก์ที่เหลือ 3,400 ล้านดอลลาร์ มีการทำแผนการชำระหนี้ไว้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน ส่วนเงินกู้ในลักษณะสว็อปจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ จะทยอยครบกำหนดตามสัญญาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกรกฎาคม 2546 โดยจะไม่มีการต่ออายุสัญญาการกู้ (Rollover) ออกไปอีก โดยตามแผนใหม่ในการชำระคืนหนี้เงินกู้ในลักษณะสว็อปนั้นจะครบกำหนดในเดือน มีนาคม 2546 จำนวน 300 ล้านดอลลาร์ เดือนเมษายน 100 ล้านดอลลาร์ เดือนมิถุนายนเกือบ 100 ล้านดอลลาร์ และเดือนกรกฎาคม จะครบกำหนดชำระคืน 100 ล้านดอลลาร์ (ไม่รวมเงินกู้จากธนาคารกลางของแคนาดาจำนวน 200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกู้มาในลักษณะเดียวกับของไอเอ็ม เอฟ และเจ-เอ็กซิมแบงก์ ซึ่งจะชำระคืนหนี้พร้อมกัน) ''ที่ประเทศไทยต้องรีบชำระหนี้ไอเอ็ม เอฟ นอกจากประหยัดในเรื่องค่าดอกเบี้ยแล้ว ยังถือเป็นการรักษาเครดิตประเทศ ที่ไม่อยากอยู่ในฐานะผู้กู้ แต่ในอนาคตประเทศไทยจะต้องเป็นผู้ให้กู้แทน'' เป็นคำประกาศชัดเจนของนายกรัฐมนตรีถึงสิ่งที่เขาต้องการเห็นสถาน-ภาพของประเทศไทย และหลายครั้งที่เขา ประกาศลดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลง จากปัจจุ-บันกว่า 56% เหลือไม่เกิน 50% นั้นเป็นเป้า หมาย ดังนั้นการประกาศที่จะไม่กู้เพื่อไม่ก่อ หนี้สาธารณะจึงเป็นคำประกาศที่ได้ฟังอยู่บ่อย ครั้ง ปี 2548 งบประมาณเกินดุล เป้าหมายของรัฐบาล ''ทักษิณ'' และอีกสิ่งหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีผู้นี้ประ-กาศชัดเจนคือภายในปี 2548 เขาจะจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบเกินดุล แปลว่า รายรับมากกว่ารายจ่าย จากที่ผ่านมาหลายปีและปัจจุ-บันงบประมาณประเทศยังอยู่ในลักษณะขาดดุลเพราะเศรษฐกิจของประเทศยังเปราะบางจำเป็นต้องใช้มาตรการทางการคลังเข้าไปช่วย กระตุ้น ดังนั้น แปลว่าหลังปี 2548 เป็นต้นไปรัฐบาลมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้มแข็งและเติบโตเพียงพอที่จะมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ซึ่งหากจะสังเกตแนวโน้มจากงบประมาณรายจ่ายปี 2546 และปีงบประมาณปี 2547 ส่อเค้าการจัดเก็บรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากปีงบประมาณ 2548 จะเป็นงบประมาณเกินดุลจึงไม่น่าจะเหนือความคาดหมายนัก แปลว่า หลังจากนี้หน้าตักรัฐบาลจะมีเงินเหลือ! และอีกสิ่งหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีประกาศคือ จะพยายามให้การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2546 ไปแตะที่ระดับ 6% ให้ได้ แม้ว่าหลายสำนักจะคาดการณ์ไว้ค่อนข้างต่ำกว่าตัวเลขนี้ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2546 จะมีค่าจีดีพีประมาณ 3.5-4.5% ธปท. คาดการณ์ว่าจีดีพีประมาณ 4-4.5% ทีดีอาร์ไอ คาดการณ์ว่า จีดีพีโตประมาณ 3.9% สำนัก วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าจีดีพีโตประมาณ 3.3-4% ต่างกับสำนักวิจัยต่างประเทศที่คาดการณ์ในอัตรา ที่สูง อาทิ สำนักวิจัย โกลด์แมนซากส์ คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2546 จะมีค่าจีดีพีประมาณ 4.5% สำนักวิจัย เครดิต ลียองแนส์ คาดการณ์ว่าจีดีพีโตประมาณ 5.3% ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบจีดีพีของไทย และสถานะต่างๆ ของไทยกับประเทศใน ภูมิภาคแล้วต้องบอกว่าดีในระดับที่น่าพอใจ (ดูตารางประกอบ) ทำให้พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เกิดความมั่นใจว่านโยบายที่ได้ดำเนินมาตลอด 2 ปีถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว และ ประกาศที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย เพื่อสานงานในหลายโครงการให้บรรลุผลสำเร็จทั้งเรื่องการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนระบบ ชลประทานทางท่อ การพยายามนำธุรกิจนอกกฎหมายบางอย่างที่ไม่เคยเสียภาษีเข้ามาสู่ ระบบ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่และท้าทายต่อความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ''เพราะหากทำได้ทั้ง 3 โครงการข้างต้นสำเร็จไม่เพียงจะส่งผลดีให้จีดีพีของไทยที่ ปัจจุบันอยู่ที่ 5.5 ล้านล้านบาท จะโตเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว แต่จะทำให้คนไทยหายจนใน 6 ปี อย่างที่นายกรัฐมนตรีประกาศเป็นจริงได้'' นักวิชาการรายหนึ่งตั้งข้อสังเกต ดังนั้น การประกาศปลดแอกหนี้ไอเอ็มเอฟของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ไทยถูกพันธนาการมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งกดดันให้รัฐบาลในหลายชุดที่เข้ามาบริหารต้องเดินตามกรอบที่เขากำหนดมาตลอด ถึงเวลาต้องยุติตั้งแต่ 31 กรก-ฎาคม 2546 เป็นต้นไป อันจะส่งผลดีให้การดำเนินนโยบายที่ประกาศไว้ทั้งหมดสามารถดำเนินไปอย่างอิสระ นอกจากนี้เครดิตประเทศไทยในสายตานักลงทุนต่างชาติย่อมมีภาษีดีขึ้น เรตติ้งความน่าเชื่อถือก็จะถูกปรับไปอยู่ในระดับที่ดีขึ้น กว่าเดิม ดังนั้น การปลดแอกหนี้ไอเอ็มเอฟครั้งนี้ จึงบอกได้ว่า ไม่เพียงได้แค่ 2 ต่อ แต่หากได้มากกว่านั้นหลายเท่า ฉะนั้น หลังจากนี้เป็นต้นไปถึงเวลาที่ไทยจะได้บินปร๋อแล้ว! . |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานการเงิน อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1,822 วันที่ 31 ก.ค. - 2 ส.ค. 2546 |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |