|
|
1. การหยุดรถหรือจอดรถในทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟ หรือ ด้วยมือและแขนก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร และจะหยุดรถหรือจอดรถได้เมื่อผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัย และไม่เป็น การ กีดขวางการจราจร
2. ผู้ขับขี่ต้องจอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ และจอดรถให้ชิดด้าน ซ้ายของรถขนานชิดของทาง หรือไหล่ทางในระยะห่างไม่เกิน 25 ซม. หรือจอดรถตามทิศทางหรือด้านหนึ่งด้านใดของทางเดินรถที่เจ้าพนักงาน จราจรกำหนดไว้ 3. แต่ในกรณีที่มีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดิน รถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถในลักษณะดังกล่าวในเวลาที่กำหนด ให้ใช้ช่อง ทางเดินรถประจำทางนั้น 4. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ (1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ใน กรณีที่ไม่มีช่องเดินรถ ประจำทาง (2) บนทางเท้า (3) บนสะพานหรือในอุโมงค์ (4) ในทางร่วมทางแยก 5. ในกรณีที่เครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ของรถขัดข้อง จนต้องจอดรถใน ทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องนำรถให้พ้นทางเดิน รถโดยเร็วที่สุด ในกรณีตาม วรรคหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องขอดรถอยู่ในทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องจอดรถ ในลักษณะ ที่ไม่กีดขวาง การจราจร และต้องแสดงเครื่องหมาย หรือ สัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ กระทรวง 6. ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ (1) บนทางเท้า (2) บนสะพานหรือในอุโมงค์ (3) ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะสิบเมตรจากทางร่วมทางแยก (4) ในทางข้ามหรือในระยะสามเมตรจากทางข้าม (5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ (6) ในระยะสามเมตรจากท่อน้ำดับเพลิง (7) ในระยะสิบเมตรจากที่ตั้งสัญญาณจราจร (8) ในระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟผ่าน (9) ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว (10) ตรงปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถ หรือระยะห้าเมตรจาก ปากทางเดินรถ (11) ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะสิบเมตรนับจาก ปลายสุดทางเขตปลอดภัยทั้งสอง ข้าง (12) ในที่คับขัน (13) ในระยะสิบห้าเมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง และเลย เครื่องหมายไปอีกสามเมตร (14) ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์ (15) ในลักษณะกีดขวางการจราจร 7. การจอดรถในทางเดินรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจควบคุมรถได้ ผู้ขับขี่ต้องหยุด ดับเครื่องยนต์และห้ามล้อรถไว้ 8. การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่ต้องหันล้อหน้า รถเข้าขอบทาง 9. เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่ เคลื่อนย้ายรถที่หยุดหรือที่จอดอยู่อันเป็นการฝ่าฝืนบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้ ให้พ้นจากการกีดขวางการจราจรได้ 10. ในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ได้สั่ง ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานจราจร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเคลื่อนย้ายรถนั้นได้ 11. การหยุดรถหรือการจอดรถในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ผู้ขับขี่ ต้องหยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ซึ่งผู้ขับขี่รถอื่นจะเห็นได้ในระยะไม่น้อย กว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร 12. ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทาง เดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะ ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้ แสงสว่างตาม ประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 13. ในทางเดินรถตอนใดที่มีทางรถไฟ ถ้าปรากฏว่า (1) มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟแสดงว่ารถไฟกำลังผ่าน (2) มีสิ่งปิดกั้นหรือเจ้าหน้าที่ให้สัญญาณ แสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน (3) มีเสียงสัญญาณของรถไฟ หรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้ อาจเกิดอันตรายในเมื่อจะขับรถผ่านไป ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วของรถ และหยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อรถไฟผ่าน ไปแล้ว และมีเครื่องหมายหรือสัญญาณให้รถผ่านด้วย ผู้ขับขี่จึงจะขับรถ ผ่านไปได้ 14. ในทางเดินรถตอนใดที่มีรถไฟผ่าน ไม่ว่าจะมีเครื่องระวังรถไฟ หรือไม่ ถ้าทางรถไฟนั้นมีสัญญาณระหว่างรถไฟหรือสิ่งปิดกั้น ผู้ขับขี่ ต้องลดความเร็วของรถหยุดห่างจากทางรถไฟในระยะไม่น้อยกว่า 5 เมตร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับรถผ่านไปได้ 15. ในขณะที่ผู้ขับขี่รถโรงเรียนหยุดรถในทางเดินรถเพื่อรับส่งนักเรียน ขึ้นหรือลง ให้ผู้ขับขี่รถอื่นตามมาในทิศทางเดียวกันหรือสวนกันกับ รถโรงเรียน ใช้ความระมัดระวังและลดความเร็วของรถ เมื่อเห็นว่า ปลอดภัย จึงให้ขับรถผ่านไปได้ |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
โดย: งาน: งานรถรับส่ง อ้างอิงแผนงาน : - อ้างอิงโครงการ : - แหล่งที่มา: www.trafficpolice.go.th |
Vote | |
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อฉัน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |
มีประโยชน์ต่อทุกคน | ☆ ☆ ☆ ☆ ☆ |