[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

อธิการบดีทุกมหาวิทยาลัยนัดถกเพิ่มน้ำหนักGPA 29 พ.ย.นี้


ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงแนวคิดที่ดร.อดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้เพิ่มน้ำหนักคะแนนเฉลี่ยสะสม ม.ปลาย (GPA) และตำแหน่งลำดับที่ (PR) จาก 10% เป็น 20-25% ในการเอนทรานซ์ว่า ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในเวลานี้เป็นปัญหาเฉพาะบางมหาวิทยาลัยที่มีคนต้องการเข้าเรียนมากกว่าที่นั่ง จึงต้องหาวิธีประเมินที่ยุติธรรม ไม่เล่นพรรคเล่นพวก และใช้ผลประเมินตัดสินในการรับเข้าเรียน แต่หากเลือกประเมินซ้ำกับหลักสูตร ม.ปลายที่เรียนมาในลักษณะที่เป็นสัมฤทธิผล โดยเลือกแค่บางวิชามาประเมินก็จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ และเกิดปัญหาการกวดวิชา หรือถ้าเอาผลการเรียนทั้งหมดมาใช้เหมือนที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารีทำ ก็จะเกิดปัญหาอีกรูปแบบหนึ่งเพราะโรงเรียนยังมีคุณภาพไม่เท่ากัน ดังนั้นตนเห็นว่าหากการคัดเลือกยังใช้หลักเกณฑ์เดิมก็คงเถียงกันไม่จบ เพราะมีจุดอ่อน คือโรงเรียนมาตรฐานไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของการคัดเลือกนั้น ถ้าไม่นำปัญหาที่เกิดขึ้นมา ผูกเป็นปัญหาระดับชาติ ตนก็เห็นว่าการให้สถาบันอุดมศึกษารับตรง และรับเองจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ต้องเปิดรับพร้อมกันเพื่อป้องกันการวิ่งรอกสมัคร ซึ่งจะทำให้เกิดการสละสิทธิในภายหลัง 

ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร เหนือ (สจพ.) กล่าวว่า การจะปรับเปลี่ยนอะไรต้องได้รับความร่วมมือจาก มหา วิทยาลัยทุกแห่ง ซึ่งจะมีการหารือในที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในวันที่ 29 พ.ย. นี้ ที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี แต่ทั้งนี้อีกไม่กี่ปีเราก็จะพัฒนาระบบ เอนทรานซ์ใหม่อยู่แล้ว ดังนั้นเวลานี้จึงไม่ควรรีบร้อนทำอะไร ซึ่งตนก็เข้าใจว่า รมว. ศธ. มาจากภาคธุรกิจ คิดทำอะไรก็อยากเห็นผลทันที แต่เข้ามารับตำแหน่ง 2 สัปดาห์แล้วจะให้เกิดการเปลี่ยนทันทีคงไม่ได้ ต้องพบกันครึ่งทาง และต้องเข้าใจว่านักศึกษาไม่ใช่วัตถุสินค้า ซึ่งการจะผลิตให้มีคุณภาพต้องอาศัยเวลาและขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยก็ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ เพียงแต่ถ้าเปลี่ยน แปลงแล้วกระทบคุณภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยก็ต้องอธิบายให้รัฐบาลเข้าใจถึงข้อจำกัดด้วย ไม่เช่นนั้นงานจะไม่ราบรื่น 

ศ.ดร.วรเดช จันทรศร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กอ.) กล่าวถึงกรณีที่ รมว.ศธ.ให้ผู้เกี่ยวข้องไปทบทวนความเหมาะสมในการจัดสอบวัดความรู้ฯ ที่มีปีละ 2 ครั้งว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องนี้ แต่โดยส่วนตัวตนเห็นว่าการสอบปีละครั้ง หรือปีละ 2 ครั้ง ก็มีทั้งข้อดีและเสียที่ต้องพิจารณา.






ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานนโยบายและแผน
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: เดลินิวส์ ฉบับที่ 19767 [หน้าที่ 27 ] ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง