[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : “วิจิตร” ลุยสางหนี้ครู จี้ สกสค.ทบทวนโครงการห้ามก่อหนี้ซ้ำ

    “วิจิตร” ลุยสางหนี้ครู เตรียมเรียก สกสค.หารือเพื่อทบทวนโครงการปรับโครงสร้างหนี้ครู ต้องไม่ก่อหนี้ซ้ำ แต่เน้นการสร้างวินัยทางการเงินควบคู่ ด้านคณบดีครุศาสตร์ มรภ.มหาสารคาม เผยครูอีสานหนี้ท่วมเพราะต้องเกื้อกูลพี่น้อง และพ่ายกลยุทธ์การตลาดส่งพนักงานขายเสนอสินค้าเงินผ่อนถึงตัว

      นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูว่า ปัญหาหนี้สินครูเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต และหนี้นอกระบบ ซึ่งครูต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงมาก ซึ่ง ศธ.พยายามหาแนวทางช่วยเหลือครูในการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ครูปลดวิกฤติจากภาระเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อปรับโครงสร้างจะต้องไม่เป็นการสร้างหนี้เพิ่มให้แก่ครู ขณะเดียวกันการก็จะต้องดำเนินไปพร้อมกับการอบรม และปลูกฝังวิถีชีวิตครูให้รู้จักความพอเพียง ไม่บริโภคนิยม ฟุ้งเฟ้อ และสร้างหนี้เพิ่ม
     
      ดังนั้น ในเร็วๆ นี้ ตนจะได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) มาหารือและมอบนโยบายให้ชัดเจนอีกครั้ง
     
      “การแก้ปัญหาหนี้สินครูนั้น สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ครูรู้จักการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำให้ครูตระหนักในเรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่เอาใจครูโดยการจัดโครงการให้เป็นการสร้างหนี้เพิ่มกับครู ซึ่งไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในเร็วๆ นี้ผมจะนำเรื่องนี้มาหารือกับผู้เกี่ยวข้อง และให้นโยบายให้ชัดเจน โดยโครงการต่างๆ ต้องทบทวนใหม่หมด ว่าขัดกันหรือไม่ เพราะขณะที่ ศธ.กำลังทำโครงการปรับวิถีชีวิตครูนั้น การปรับโครงสร้างหนี้ครูจะทำให้ครูต้องมากู้เงินจนเป็นหนี้เพิ่มหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ผมคงต้องเอาจริงแล้ว” นายวิจิตร กล่าว
     
      ด้านนายสมบัติ ฤทธิเดช รองคณบดีครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในฐานะทีมวิจัย Teacher Watch สถาบันรามจิตติ กล่าวว่า ผลวิจัยเกี่ยวกับปัญหาหนี้ครูที่ปรากฏว่า ครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาเรื่องหนี้สินมากกว่าครูในภูมิภาคอื่นๆ นั้น เนื่องจากวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องเกื้อกูลครอบครัว พี่น้องและเครือญาติของตนเอง นอกจากนี้ กลยุทธ์ทางการค้าของผู้ประกอบการที่ให้พนักงานขายเข้าถึงตัวครูเพื่อเสนอสินค้าเงินผ่อนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ครูมีโอกาสเป็นหนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาระหนี้สินครูภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นหนี้สินเพื่อที่อยู่อาศัย และรถยนต์





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 30 มกราคม 2550 11:15 น.

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง