[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : สพฐ.พร้อมสอบเอ็นทีน.ร.''ป.6-ม.3''

5วิชาหลัก-13ก.พ.ทั่วประเทศ ร.ร.คะแนนผิดปกติสอบใหม่

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความพร้อมในการจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือเอ็นที (National Test) โดยสุ่มสอบนักเรียนชั้น ป.6 ในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และชั้น ม.3 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษทุกโรงเรียนทั่วประเทศ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ว่า ขณะนี้มีความพร้อมในการจัดสอบเอ็นทีมาก เพราะสำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เตรียมการมานาน ทั้งข้อสอบ และได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับนักเรียน และผู้ปกครองมาตลอด เพราะการประเมินเอ็นทีเป็นขั้นแรกที่จะนำไปสู่การประเมินคุณภาพ และมาตรฐาน การจัดสอบจะทำให้ทราบข้อมูลของโรงเรียนว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นอย่างไร จะได้นำข้อมูลไปใช้พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน หรือมาตรการยกระดับมาตรฐานของโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพ โดยใช้มาตรการเดียวกับการยกระดับคุณภาพโรงเรียน สพฐ.ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยให้โรงเรียนจัดทำแผนพัฒนาเสนอมายัง สพฐ.

คุณหญิงกษมากล่าวต่อว่า หลังจัดสอบเสร็จแล้ว ประมาณเดือนมีนาคมก็จะวิเคราะห์ข้อมูลผลการสอบของแต่โรงเรียนได้ หากพบว่าโรงเรียนใดคะแนนสูงกว่าปกติ หรือต่ำกว่าปกติ ก็อาจให้จัดสอบเอ็นทีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง ส่วนที่มีข้อเรียกร้องจากผู้ปกครองนักเรียนให้ สทศ.จัดให้นักเรียนทุกคนได้สอบเอ็นที ดังนั้น สทศ.จะจัดข้อสอบออนไลน์ในเว็บไซต์ http://bet.obec.go.th/ และจะนำข้อสอบที่จัดสอบครั้งนี้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ด้วยหลังการสอบ ส่วนการสอบวัดประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับชั้น ป.2, ป.5 และ ม.2 ในปีนี้ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 175 เขตจะประเมินเด็กทุกคน และจะนำมาใช้ในโรงเรียนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ให้มีมาตรฐานมากขึ้น

''การยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียน สพฐ.ยังได้ทำข้อตกลงกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เพื่อร่วมมือยกระดับการเรียนการสอนวิชาคณิต และวิทย์ ในปีการศึกษา 2550 ในโรงเรียนนำร่อง 500 แห่ง โดยใช้รูปแบบของ สสวท.เพื่อพัฒนาการสอนในโรงเรียนทั้งระบบ ถ้าทำแล้วได้ผล ก็จะขยายผลกันต่อไป นอกจากนี้ ยังเข้าไปพัฒนาความรู้แก่ครูไม่มีวุฒิการศึกษาทางคณิต และวิทย์โดยตรงด้วย'' คุณหญิงกษมากล่าว





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: มติชนรายวัน ฉบับที่ 10559 [หน้าที่ 26 ] ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง