[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวประกันสังคม : สปส.แจงกองทุนแสนล้านบริหารจัดการอย่างไร

สปส.แจงกองทุนแสนล้านบริหารจัดการอย่างไร
          ประธานบอร์ดประกันสังคม แจงเงินกองทุน 4.5 แสนล้านดูแลสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนถึง 7 กรณี โดยเฉพาะกองทุนสงเคราะห์ชราภาพเงินก้อนใหญ่กว่า 3.6 แสนล้าน ต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อจ่ายให้เป็นบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนในปี 57
              นายจุฑาธวัช  อินทรสุขศรี ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม กล่าวว่า “จากที่มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีเงินกว่าแสนล้านที่ช่วยดูแลลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง นั้น ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขณะนี้เงินกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 มีอยู่ 456,052 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 28,809 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาสที่ 1 (ณ 31 มี.ค.50) และมีความมั่นใจว่ากองทุนจะมีความมั่นคงต่อไป”
“เงินจำนวนนี้เป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 363,667 ล้านบาท      ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายในปี พ.ศ. 2557 เป็นปีแรก ที่เหลือเป็นเงินกองทุนที่ดูแล 4 กรณี (เจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพและ คลอดบุตร) จำนวน 67,619 ล้านบาท และ  เป็นเงินกองทุนกรณีว่างงานจำนวน 24,766 ล้านบาท เงินกว่า 4.5 แสนล้านบาท นี้ สปส.นำไปลงทุนเพื่อให้เกิดดอกผลมากขึ้น โดยแบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ร้อยละ 82 และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้รับผลตอบแทนมาก ร้อยละ 18”  ทั้งนี้ ที่ปรากฏเป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ว่ากองทุนประกันสังคมแสนล้านช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างนั้น คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงข้างต้น
นายจุฑาธวัช ฯ กล่าวต่อไปว่า “กรณีที่นายจ้างปิดกิจการ ทุกหน่วยงานในกระทรวงแรงงานก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในทันทีที่นายจ้างปิดกิจการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบว่านายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแก่ลูกจ้างหรือไม่ และหลังจากนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคมในการตรวจสอบว่านายจ้างแจ้งปิดกิจการหรือไม่ หากลูกจ้าง    ถูกเลิกจ้าง สปส.จะให้ความความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ใน 4 กรณี  และหากลูกจ้างส่งเงินสมทบครบ  6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนออกจากงานก็จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ส่วนการลาออกโดยสมัครใจจะได้รับประโยชน์ทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน และ ในขณะเดียวกัน กรมการจัดหางาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จะช่วยเหลือให้ผู้ถูกเลิกจ้างได้งานทำหรือฝึกอาชีพต่อไป ”





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506 / www.sso.go.th

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง