[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : อุดรั่วกดเกรด-ปล่อยเกรด “วิจิตร” มอบจุฬาฯปรับ GPA-O-NET

      “วิจิตร” มอบให้ “จุฬาฯ” ไปปรับคะแนน GPA กับ O-NET ใหม่ แก้ปัญหากดเกรด-ปล่อยเกรด จะใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 53 แต่เริ่มทดลองใช้ไปพลางก่อน และให้ สพฐ.ทบทวนให้เกรดและจบการศึกษาใหม่ เพราะวันนี้นักเรียนได้เกรด 1 ทุกวิชาก็จน ชี้ต่ำเกินไป
     
      ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประชุมร่วมกับ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และผู้แทนจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สมศ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหารือเรื่องการนำผลการทำสอบวัดความรู้ขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) มาเป็นองค์ประกอบในการจบหลักสูตรการศึกษาขั้น
     
      ทั้งนี้ ในที่ประชุมให้ยกเลิกผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) 70% และคะแนน O-NET 30% มาคิดเป็นคะแนนจบการศึกษาระดับ ม.6 เนื่องจากได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าการนำ GPAX มาใช้ เป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนปล่อยเกรดเพื่อหวังให้คะแนนผลการเรียนไปชดเชยกับคะแนน O-NET ด้วยเหตุนี้ในที่ประชุมจึงได้คิดแนวทางใหม่ขึ้นมา โดยให้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปพัฒนาสมการขึ้นมาเพื่อหาค่าเฉลี่ยระหว่างคะแนนเฉลี่ยสะสมรายกลุ่มสาระ GPA และคะแนน O-NET
     
      โดยนำคะแนน GPA และคะแนน O-NET ของนักเรียนแต่ละคนใส่เข้าไปในสมการดังกล่าว ซึ่งเอามาปรับให้เป็นผลคะแนนการเรียนที่แท้จริง ถ้าคะแนน GPA กับ O-NET ของนักเรียนคนนั้นไปในทิศทางเดียวกันคะแนนใหม่ที่ได้ก็จะไม่แตกต่างกับคะแนน GPA ที่ได้จากโรงเรียน หากนักเรียนได้คะแนน GPA สูง แต่ได้คะแนน O-NET ต่ำคะแนนผลการเรียนใหม่จะถูกดึงให้ต่ำลง ถ้านักเรียนได้คะแนน GPA ต่ำแต่คะแนน O-NET สูง คะแนนจะถูกปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการคิดคะแนนใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนปล่อยเกรดและกดเกรดได้ ที่สำคัญ จะรู้ว่านักเรียนมีคะแนนเท่าไหร่และยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคน
     
      แนวทางการคิดคะแนนใหม่นี้จะนำมาใช้จริงในปี 2552 เพื่อรองรับแอดมิชชันใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2553 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ให้ สพฐ.ร่วมกับโรงเรียนทดลองระบบไปพลางก่อน ส่วนจำนวนที่จะสอบ O-NET 5 กลุ่มสาระวิชา หรือ 8 กลุ่มสาระวิชานั้น ยังไม่ได้ระบุชัดเจน ถ้าหากเฉพาะหน้าโรงเรียนไหนยังไม่พร้อมก็ให้สอบ 5 กลุ่มสาระวิชา แต่สุดท้ายจะต้องสอบ 8 กลุ่มสาระวิชาแน่นอน เพราะคะแนนจะสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แท้จริงได้
     
      ศ.ดร.วิจิตร กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้มีการหารือด้วยว่าถ้าหากจะพัฒนาการคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ดีขึ้น ควรจะต้องทำการปรับปรุงหลักสูตรทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาให้เหมาะสมขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องมีการทบทวนระบบหน่วยกิตที่ใช้มากว่า 30 ปี โดยมอบให้ สพฐ.ไปทำการศึกษาว่าเมื่อปรับหลักสูตรใหม่แล้วแต่ละกลุ่มสาระวิชาควรจะมีจำนวนกี่หน่วยกิต อย่างเช่น กลุ่มสาระด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ควรเพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบัน เนื่องจากเรามีความต้องการบุคลากรด้านนี้
     
      สิ่งสำคัญ ให้ สพฐ.กลับไปทบทวนด้วยว่าเกณฑ์ในการพิจารณาผ่านในแต่ละวิชาและพิจารณาจบการศึกษาแต่ละระดับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่ ในขณะนี้ถ้านักเรียนได้เกรดเฉลี่ยแต่ละวิชาเท่ากับ 1 ก็ถือว่าผ่านทุกรายวิชา และสามารถจบการศึกษาได้ แต่ในระดับมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องได้ D ถึงจะผ่านวิชานั้น เมื่อนำเกรดเฉลี่ยของทุกวิชามารวมกันจะต้องได้ไม่ต่ำกว่า C หรือเกรด 2 ถึงจะจบการศึกษาได้ ตนจึงอยากให้ สพฐ.ไปศึกษาเรื่องนี้อีกครั้ง ตนคิดว่าอย่างน้อยนักเรียนควรได้เกรดเฉลี่ย 1.5-2 ถึงจะจบการศึกษาได้ ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อยุติ สพฐ.จะไปศึกษาว่าควรอยู่ที่เท่าไหร่ก่อนถึงจะประกาศใช้





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 23 กรกฎาคม 2550 18:40 น.

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง