[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

รู้ทันโรค ไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก
(Denque Fever/ Denque Hemorrhaqic Fever)

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง พบมากในฤดูฝนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้  ทำให้มีไข้ร่วมกับมีเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

หลังจากถูกยุงลายกัดประมาณกี่วันจึงจะแสดงอาการของไข้เลือดออก?
ยุงลายที่เป็นพาหะของโรค จะเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและรอบๆ บ้าน ดูดกินเลือดคนเป็นอาหารและกัดเฉพาะเวลากลางวันประมาณ 4 – 6 วัน หลังจากถูกกัด อาการของโรคจะปรากฏให้เห็น  บางรายอาจเร็วหรือ    ช้ากว่านี้  เร็วที่สุด 3 วัน  ช้าที่สุด 14 วัน

จะทราบได้อย่างไร ว่าเป็นไข้เลือดออก?
1.มีไข้แต่อาการไม่รุนแรง ลักษณะไข้สูงแบบเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามตัว สามารถมองเห็นได้
2.มีไข้สูงและมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยดังนี้
2.1.ระยะไข้: ไข้สูง 39 c – 40 c บางรายอาจถึงชักได้ ไข้ลอยอยู่ 2 – 7 วัน หน้าจะแดง  และตาอาจจะแดงด้วย  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ มีส่วนน้อยที่มีอาการไอแบบไม่มีเสมหะ
2.2.ระยะเลือดออก:  จะพบในวันที่ 3 – 4 ของโรค  ไข้จะลดลง ตัวเย็น ผื่นขึ้น ผู้ป่วยจะซึมลง อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล    เลือดออกตามไรฟัน ท้องอืด  ตับโต  เบื่ออาหาร  อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร  ซึ่งผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดเก่าๆ หรือถ่ายอุจจาระสีดำ อาการอาจรุนแรงถึงช็อก หมดสติ
2.3.ระยะพักฟื้น:  จะฟื้นไข้เร็ว และจะหายภายใน  2 – 3 วัน    รวมระยะเวลาของโรคประมาณ      7 -10 วัน

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก

      ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลทุกรายโดยเฉพาะในระยะแรก ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้ การรักษาเป็นแบบตามอาการและประคับประคอง โดยปฏิบัติดังนี้
1.ระยะที่มีไข้สูงควรเช็ดตัวลดไข้ ในรายที่เคยมีประวัติชัก  หรือปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว  อาจจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ โดยใช้ยาพาราเซตามอล  ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน  หรือไอบูโพรเฟน  เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
2.ให้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะขาดน้ำ  เนื่องจากมีไข้สูง เบื่ออาหารและอาเจียน ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่  ในรายที่อาเจียน  ควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ  และดื่มน้ำบ่อยๆ
3.ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด  ควรมาพบแพทย์เป็นระยะๆ  เพื่อตรวจดูระดับของความเข้มข้นเลือดและเกล็ดเลือด  ถ้าเกล็ดเลือดต่ำ  เลือดจะออกง่าย  ทำให้มีเลือดออกตามจุดต่างๆ  ของร่ายกาย  ระยะที่เกิดอาการช็อกส่วนใหญ่จะประมาณวันที่ 3 ของโรค (เวลาที่เกิดอาการช็อกแตกต่างกันไปแล้วแต่ระยะเวลาของไข้)    อาการนำของช็อกได้แก่ ปวดท้อง อาเจียน/  ถ่ายเป็นเลือด  ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย  มือเท้าเย็น  พร้อมๆกับไข้ลดลง    ถ้าพบอาการเหล่านี้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล แต่หากเป็นชนิดที่ไม่รุนแรงอาการจะดีขึ้นในเวลา  5 – 7 วัน
4.ผู้ป่วยอาจยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าระดับปกติ แม้ว่าอาการจะดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตาม จึงควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงต่อไปอีก 3 – 5 วัน
5.หากผู้ป่วยมีอาการปกติ    สามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้
6.ถ้าคนในบ้านมีไข้สูงควรพามาพบแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับผู้ป่วย
        จะป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อย่างไร
การป้องกันทำได้ 2 วิธี คือ
1.ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด  ซึ่งยุงลายนี้จะกัดในเวลากลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น  ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
2.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป    ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ดังนั้นส่วนใหญ่สถานที่เพาะพันธุ์ยุงลาย จะเป็นภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วย รองขาตู้กันมด  แจกันดอกไม้  ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย
•ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิด
•ใช้ทรายอะเบทใส่ในภาชนะขังน้ำไว้ใช้เพื่อทำลายไข่ยุง (ซึ่งสามารถรับได้ที่สถานีอนามัย)
•ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็น เพราะอาจมีน้ำขังได้
•พ่นละอองยา ทำลายยุงลาย






http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/dhf.htm


โดย:
งาน: งานบริหารแผนกธุรการ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: http://www.inf.ku.ac.th

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง