[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

คุณภาพคน-คุณภาพการศึกษา บทเรียนจาก 'บิล เกตส์'

คุณภาพคน-คุณภาพการศึกษา บทเรียนจาก 'บิล เกตส์'


            ชีวิต 'บิลเกตส์' เป็นชีวิตที่น่าสนใจศึกษา ตามประวัติเขาได้คอมพิวเตอร์เครื่องแรกมาใช้และทดลองเขียนโปรแกรมตั้งแต่ อายุ 13 ขวบ และก็หมกมุ่นอยู่กับมันตลอด แม้เมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแล้วก็ตาม จากนั้นจึงลาออกและมาตั้งบริษัท ซึ่งประสบความสำเร็จ
              เอ่ย ชื่อ ''บิล เกตส์'' ขึ้นมา ใครๆ ก็ต้องร้องอ๋อ เพราะเขาคือมหาเศรษฐีเจ้าของบริษัท ไมโครซอฟท์ ที่ครอบครองตลาดระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทำเอาคนใช้คอมพิวเตอร์ของโลกเอา ไว้ในมือมากที่สุด ขนาดทำเอาคนใช้คอมพิวเตอร์โดยทั่วๆ ไปคิดว่าวินโดวส์ก็คือคอมพิวเตอร์ไปเลย ทั้งที่จริงๆ แล้ววินโดวส์เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการหนึ่งเท่า นั้น ยังมีระบบปฏิบัติการยี่ห้ออื่นๆ อีกมากมายหลากหลาย แต่สัดส่วนคนใช้ต่ำมากเมื่อเทียบกับวินโดวส์
            ถึงวันนี้บิล เกตส์ ในวัย 52 ปี จบชีวิตการทำงานประจำของเขาใน ไมโครซอฟท์ แล้วด้วยการออกจากตำแหน่งประธานบริษัทตามกำหนดที่ประกาศไว้ล่วงหน้ามานาน และก็คงหันไปทำงานการกุศลกับมูลนิธิของเขา ปล่อยให้บริษัทเดินไปด้วยตัวของมันเอง
            ชีวิตของเกตส์ เป็นชีวิตที่น่าสนใจศึกษาอยู่มาก ตามประวัติเขาได้คอมพิวเตอร์เครื่องแรกมาใช้และทดลองเขียนโปรแกรมตั้งแต่ อายุ 13 ขวบ และก็หมกมุ่นอยู่กับมันมาตลอดแม้กระทั่งเมื่อเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดแล้วก็ตาม
              เรียนอยู่ได้แค่สองปีก็ลาออกมาตั้งบริษัท ไมโครซอฟท์ กับ พอล อัลเลน แล้วสร้างระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ ดอส ขึ้นมา ซึ่งค่อยๆ ขยายตัวตีกินระบบปฏิบัติการอื่นๆ มาเรื่อยๆ จนมาสร้างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ปรับปรุงเรื่อยมาถึงปัจจุบัน
              มหาวิทยาลัย ที่ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งไม่ได้มีความหมายอะไรกับเขามากนัก แต่การมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับสิ่งที่เขาเองสนใจสำคัญต่อชีวิตของเขามากกว่า และก็ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในเส้นทางที่เขาเลือก ตัดความยอกย้อนในชั้นเชิงทางธุรกิจออกไปก็ยังต้องยอมรับความสามารถของเขา
            ผมคิดว่าตรงนี้แหละครับคือคุณค่าจากชีวิตของเกตส์ที่น่าสนใจ
            ประเด็น ไม่ได้อยู่ที่การหันหลังให้กับมหาวิทยาลัยหรือการเรียนมหาวิทยาลัยเป็นสิ่ง ที่ไร้ค่า (ซึ่งอาจจะจริงก็ได้) แต่อยู่ที่การทุ่มเทในสิ่งที่ตัวเองสนใจจนเกิดความถนัดและเชี่ยวชาญ การขวนขวายหาความรู้และการลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองชอบโดยไม่ต้องนั่งรอความ รู้ที่ป้อนจากชั้นเรียนเท่านั้น
              บังเอิญว่าในช่วงไม่นานมานี้มี โอกาสได้คุยกับเด็กจบมหาวิทยาลัยหลายต่อหลายคน ที่เรียนมาในสาขาคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง สิ่งที่น่าเศร้าใจก็คือเด็กเหล่านี้ขาดประสบการณ์การทดลองและเรียนรู้ด้วยตน เองอย่างเห็นได้ชัด สี่ปีที่ร่ำเรียนมามีประสบการณ์เพียงแค่การทำโปรเจ็คต์ส่งเท่าที่วิชาเรียน กำหนด
              บางคนหนักกว่าที่คิดมากนะครับ ทำโปรเจ็คต์เว็บไซต์ส่งอาจารย์ แต่ไม่เคยทำเว็บไซต์จริงๆ ชนิดเอาข้อมูลทั้งหมดขึ้นไปไว้บนเซิร์ฟเวอร์ด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่ในสิ่งแวดล้อมของโลกปัจจุบัน มีบริการพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ฟรีๆ ให้สามารถทดสอบอยู่มากมายก่ายกอง แม้แต่ของมหาวิทยาลัยผมก็เชื่อว่ามีให้ใช้ มีอะไรให้เล่นให้ลองทำอยู่มากมาย
              แล้วมัวทำอะไรอยู่ในมหาวิทยาลัยตั้งสี่ปี
              ลูก สาวผมเรียนแค่ ม.6 ยังมีประสบการณ์ในการทำเว็บไซต์เองมาตั้งแต่ ม.ต้น จนแทบจะเป็นสิบเว็บแล้ว ขนาดไม่เคยเรียนด้านเว็บ โปรแกรมมิ่ง เธอยังขวนขวายหาหนังสือหนังหามาอ่าน เรียนรู้การเขียนโค้ดต่างๆ เอง ไปแข่งได้รางวัลมาแล้วก็หลายทีแม้จะเป็นระดับพื้นๆ ก็เถอะ นี่ขนาดเป็นสิ่งที่สนใจอันดับสองรองจากการวาดรูปนะครับ
            ความจริงจะ สรุปว่าเด็กทุกวันนี้ขาดแรงจูงใจในการใฝ่รู้ก็น่าจะถูกต้อง แต่อาจจะถูกต้องเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งสถาบันการศึกษาก็ควรจะรับไปแบกไว้บนบ่าด้วยเหมือนกัน ว่าไม่สามารถเป็นสถานที่ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความใฝ่รู้ขึ้นมาในตัวเด็กได้ จึงล้มเหลวกันไปทั้งผู้เรียนและผู้สอน
            ถ้าเด็กส่วนใหญ่ที่เรียนมหาวิทยาลัยเป็นเหมือนเด็กหลายคนที่ผมได้คุยด้วยนี่ อนาคตประเทศไทยน่าเป็นห่วงครับ
            เพราะเหมือนกับเข้าไปเรียนตามธรรมเนียมที่สั่งสอนกันมาเพื่อ ''กระดาษแผ่นเดียว'' กันจริงๆ


            ที่มา matichon online  30 มิถุนายน 2551
            โดย ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์







โดย:
งาน: งานสารบรรณ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: matichon online 30 มิถุนายน 2551:ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง