[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : แปลงของเสียให้เป็น “ทุน” ความคิดสุดเจ๋งของ 2 ร.ร.รักสิ่งแวดล้อม

http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=1 border=0>
http://pics.manager.co.th/Images/551000015039001.JPEG" width=400 border=0>
การแยกขยะที่เป็นเศษอาหาร เพื่อนำไปหมักในบ่อปุ๋ย
http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=1 border=0>
       ภาระขยะตกค้างในแต่ละวันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่อย่างปฏิเสธไม่ได้ หากทิ้งขยะตามสะดวก เทกองกันริมทางเดิน โคนต้นไม้ ก็จะเป็นแหล่งชุมนุมของโรคสารพัดชนิด ยุง แมลงวัน แมลงสาบ ฯลฯ ขยะในท่อระบายน้ำทำให้ท่อระบายอุดตัน น้ำท่วมขังก็ตามมา
       

       
       
-1-

       
       ...ณ หัวเมืองเหนือ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2549 ผ่านพ้นไป ขยะที่เคยลอยไปล่องมาก็เกลื่อนดิน เกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือประสบปัญหานี้อย่างช่วยไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.อุตรดิตถ์ที่เผชิญปัญหาน้ำท่วมหนักกว่าพื้นที่อื่นๆ
       
       โรงเรียนด่านแม่คำมัน จ.อุตรดิตถ์ สถานศึกษาระดับประถมศึกษาขนาดกลาง ที่มีนักเรียน 355 คน คือตัวอย่างของโรงเรียนที่ประสบปัญหาขยะหลังน้ำลดได้เป็นอย่างดี
       
       เนื่องจากไม่ใช่เพียงแค่ขยะเท่านั้น สภาพแวดล้อมอื่นๆ อาทิ ถังเก็บน้ำจืด ห้องน้ำ และพืชไม้โดยรอบโรงเรียนเสียหายไปตามๆ กัน อย่างไรก็ตาม ในวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ

http://pics.manager.co.th/Images/551000015039002.JPEG" width=350 border=0>
อ.รัตนศักดิ์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนด่านแม่คำมัน
http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=5 border=0>
http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=1 border=0>
       “รัตนศักดิ์ มณีรัตน์” ผู้อำนวยการโรงเรียนด่านแม่คำมัน เล่าว่า เกิดแนวคิดผลิตปุ๋ยจากขยะและเริ่มปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชนขึ้นในปลายปี 2549 โดยมีแรงบันดาลใจมาจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่ง แม้ว่าในช่วงแรกจะดำเนินการโดยลำพังและลองผิดลองถูกอยู่บ้าง แต่เมื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มาช่วยให้ความรู้ด้านการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ ทำให้จำนวนขยะในโรงเรียนลดลงได้มาก อีกทั้งผลของขยะล้นโรงเรียนยังได้ปุ๋ยอินทรีย์เอาไว้ใช้ในแปลงเกษตรโรงเรียนอีกด้วย
       
       “โรงเรียนจะแบ่งโซนอาหาร ในแต่ละวันนักเรียนจะเก็บใบไม้ แยกเศษอาหาร มีเวลาเทขยะ 3 เวลาคือ เช้าก่อนเข้าแถว เที่ยงหลังกินข้าว และเวลาบ่ายๆ ก่อนเลิกเรียน เมื่อได้ประมาณที่พอเหมาะแล้วก็จะนำไปลงบ่อหมัก ซึ่งเราทำตามแนวทางพระราชดำริ ผลที่ออกมาก็คือขยะหายไป มีปุ๋ยใส่แปลงผักโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผักพื้นเมือง ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจะทำอาหารกลางวันและอีกส่วนแบ่งให้นักเรียนที่มีฐานะยากจนกลับไปทำอาหารที่บ้าน”
       

       
       แต่ที่ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ นักเรียนมีวินัยในการจัดการขยะมากขึ้น พื้นที่โรงเรียนสะอาด และขยะยังต่อยอดบูรณาการการสอนได้ทุกวิชา ตลอดจนส่งผลต่อชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียนด้วย
       
       “โครงการต่อไปที่โรงเรียนคาดว่าจะขยายต่อไปสู่ชุมชนคือ ให้นักเรียนนำขยะจากชุมชนมาขายให้กับธนาคารขยะของโรงเรียน โดยโรงเรียนเองก็จะขยายบ่อหมักให้มากเพียงพอเพื่อผลิตปุ๋ยและทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านใช้ในการเกษตรในครัวเรือนต่อไป” อ.รัตนศักดิ์ กล่าวถึงโครงการในอนาคต
       
       ระยะเวลาเกือบ 2 ปี ของการจัดการขยะ ผลตอบรับไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่โรงเรียน เท่านั้น หากแต่ได้ขยายแนวคิดลงไปสู่ชุมชนอีกด้วย

http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=5 border=0>
http://pics.manager.co.th/Images/551000015039003.JPEG" width=300 border=0>
น้องบิ๊ก-ด.ช.นัฐวุฒิ ศรีประดิษฐ์
http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=1 border=0>
       ด.ช.นัฐวุฒิ ศรีประดิษฐ์ หรือน้องบิ๊ก นักเรียนชั้นม.2 โรงเรียนด่านแม่คำมัน ในฐานะเจ้าของพื้นที่ชุมชนคนหนึ่งเล่าความเปลี่ยนแปลงในชุมชนว่า ผลที่เกิดกับวินัยของนักเรียนถ่ายทอดไปสู่ครัวเรือนด้วย กล่าวคือเด็กๆ สามารถแยกขยะและจัดการขยะที่บ้านได้ โดยมีพ่อแม่เป็นลูกมือ พวกเขาเริ่มทำปุ๋ยกันเองในบ่อหลังบ้าน และใช้ทดลองใช้กับแปลงผักข้างๆ กัน
       
       “ชุมชนรอบโรงเรียนเป็นชุมชนเกษตร เมื่อเรานำเสนอแนวคิดแปลงขยะเป็นปุ๋ยก็ได้รับความสนใจ ซึ่งเด็กๆ ขยายผลสู่ครัวเรือนได้ดี เพราะตอนนี้ก็ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้บ้างในเบื้องต้น แต่คาดว่าหากชาวบ้านตระหนักเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตรในชุมชนจะค่อยๆ ลดลง” น้องบิ๊กย้ำ
       
       อ.รัตนศักดิ์ บอกว่า จุดเริ่มต้นเล็กๆ ในโรงเรียนด่านแม่คำมัน กลายเป็นโซ่สายใหญ่ที่จะสร้างเครือข่ายให้โรงเรียนในภาคเหนือหันกลับมาสนใจขยะมากขึ้น โดยสามารถที่จะใช้เครือข่ายชุมชนเกษตรเชื่อมต่อไปสู่วิถีเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนได้ แม้ว่าขณะนี้จะยังเป็นเพียงจุดเริ่มเล็กๆ ก็ตาม

http://pics.manager.co.th/Images/551000015039004.JPEG" width=400 border=0>
บ่อหมักปุ๋ยอินทรีย์จากขยะ ตามแนวพระราชดำริ
http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=1 border=0>
       
-2-

       
       ในอีกฟากหนึ่ง ณ ดินแดนอีสาน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยฯ จ.มุกดาหาร ซึ่งตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน โรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีนักเรียน 196 คน แวดล้อมด้วย 4 ชุมชนข้างเคียง ก็ประสบปัญหาในเรื่องของเสียตกค้างเช่นกัน
       
       โรงเรียนแห่งนี้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนพร้อมกับโครงการอาหารกลางวันที่ปลูกผัก เลี้ยงไก่ สุกร ซึ่งผลที่ตามมาคือ มูลสัตว์มีมากกว่าจะใช้ใส่ผักได้หมด ตกค้างในเล้า และส่งกลิ่นเหม็นโดยใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ อีกทั้งปัญหาราคาก๊าซหุงต้มที่ใช้ประกอบอาหารเพิ่มราคา โดยในแต่ละเดือนต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 3 ถังใหญ่
       
       ด้วยเหตุนี้ จ.ส.ต.สมพร โสมนัส ผบ.หมู่ ผู้ทำหน้าที่สอนของโรงเรียนจึงเกิดแนวคิดทำบ่อหมักก๊าซหุงต้มจากมูลสัตว์ ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยประหยัดต้นทุนในโครงการอาหารกลางวัน และกำจัดมูลสัตว์ไปในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ก๊าซหุงต้มจากมูลสัตว์ยังจะช่วยลดปริมาณการตัดไม้เพื่อทำฟืนและถ่านในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐานได้อีกด้วย

http://pics.manager.co.th/Images/551000015039005.JPEG" width=400 border=0>
ตัวอย่างเตาชีวภาพ
http://www.manager.co.th/images/blank.gif" width=1 border=0>
       “เราอยากเปลี่ยนความคิดให้ชาวบ้านว่ามูลสัตว์นำมาทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด ให้เขาเห็นคุณค่าของป่า ให้ลดการตัดไม้เพื่อเผาถ่านทำฟืน อยากให้ชาวบ้านมีทางเลือก เพราะก่อนหน้านี้มีข้อขัดแย้งกันอยู่ที่ว่า เราอยู่ในเขตพื้นที่ป่า แต่ก็มาตัดไม้ในป่ากันไม่หยุด ผมในฐานะครูจึงอยากให้ชุมชนช่วยกันในเรื่องนี้ ซึ่งการหมักก๊าซหุงต้มด้วยมูลสัตว์ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะชาวบ้านก็เลี้ยงสัตว์กันอยู่แล้ว” ผบ.หมู่ให้ข้อมูล
       
       แม้จะยังเป็นเพียงโครงการ และยังไม่ได้ลงมือกระทำเนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุน แต่เมื่อได้สมัครเข้าร่วมเป็นหนึ่งในโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 5 แล้วก็ได้งบประมาณ และโรงเรียนก็พร้อมจะปฏิบัติตามแผนที่วางไว้เต็มที่ ซึ่งเป้าหมายไม่ได้อยู่ที่ว่าจะสามารถคว้ารางวัลใดๆมาได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ ชุมชนเข้าใจจุดประสงค์ของครู ตชด. โรงเรียนลดต้นทุนซื้อก๊าซหุงต้มและมีมูลสัตว์ในโรงเรียนน้อยลงหรือไม่ต่างหาก
       
       “ผมคาดหวังว่าชาวบ้านจะเห็นความสำคัญของป่า และมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีอยู่ เช่น มูลสัตว์ ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านก็แสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ เพราะพวกเขาเห็นว่าสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัว และทำให้ประหยัดได้ ก็ต้องรอผลหลังจากนี้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ในเมื่อเรามีต้นทุนอยู่แล้ว ก็ต้องใช้มันให้เกิดประโยชน์” จ.ส.ต สมพรสรุปทิ้งท้าย





รายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 พฤศจิกายน 2551 10:26 น.

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 2

อ่าน 0 ครั้ง