[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ท่านผู้หญิง คุณหญิง ?

                                                                                        ท่านผู้หญิง-คุณหญิง

                    สงสัยกันมากมายว่า.... การที่จะได้เป็นคุณหญิงหรือท่านผู้หญิงเนี่ย....เขาเป็นกันยังไง
                    แต่โบราณ คำว่า ท่านผู้หญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของผู้ที่เป็น เจ้าพระยา และสตรีผู้นั้นได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิงด้วย. ปัจจุบัน ท่านผู้หญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้ว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป.

                    เคยสงสัยกันบ้างใหม ท่านผู้หญิงคุณหญิงท่านได้กันแต่ใดมา

                    ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ เช่น เป็นหม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง, เมื่อใช้คำนำหน้าว่า ท่านผู้หญิง แล้ว ก็ไม่ต้องใช้คำว่า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวง อีก. ใช้แต่คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง เท่านั้น เช่น ม.ร.ว.บุตรี เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง, จะออกนามว่า ท่านผู้หญิงบุตรี ไม่ใช้ท่านผู้หญิง ม.ร.ว.บุตรี.

                    คุณหญิง เป็นคำลำลองเรียกราชนิกูล ชั้นหม่อมราชวงศ์หญิง เช่น เรียกขาน หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ว่าคุณหญิงกิติวัฒนา, เรียกขานหม่อมราชวงศ์อรฉัตร ว่า คุณหญิงอรฉัตร. คำว่า คุณหญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไปจนถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าด้วย.

                    การสถาปนา และการพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

                    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ เนื่องในโอกาสที่พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีได้ปกครองประเทศไทยติดต่อกันมาถึง ๙๐ ปี ด้วยความสงบสุข พระองค์จึงทรงพระกรุณาให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านี้ขึ้นซึ่งเป็นพระนามของพระองค์ และให้แพรแถบสีชมพูอันเป็นสีของวันพระราชสมภพ คือวันอังคาร

                    ชั้นตรา และจำนวนที่พระราชทาน

                    สำหรับพระราชทานฝ่ายใน ( สตรี ) มี ๔ ชั้น ๕ ชนิด คือ

                  ชั้นที่ ๑ ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)

                  ชั้นที่ ๒ มี ๒ ชนิด ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)

                  ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)

                  ชั้นที่ ๓ ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.)

                  ชั้นที่ ๔ จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)





รายละเอียด


โดย:
งาน: งานสารบรรณ
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: www.mthai.com

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง