[ Home ]  [ Today 's Event ]  [ FAQ ]  [ บันทึกงาน ]
User: Passwd:
ค้นหาข้อมูล:

ข่าวการศึกษา : ม.สุรนารีเดินหน้าโคลนนิงโค เล็งต่อยอดโคลนนิงแมว แพะ กระทิง

      ทีมวิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนฯ มทส.เดินหน้าผลิตโคโคลนนิงพันธุ์ขาวลำพูน พันธุ์บราห์มันสีแดงและสีเทา 20 ตัว ในปี 2551 หลังจากประสบความสำเร็จโคลนนิงโคพันธุ์ขาวลำพูนสำเร็จตัวแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พร้อมต่อยอดโคลนนิงแมว แพะ และกระทิง เพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ รวมถึงผลิตเซลล์ต้นกำเนิดในหนู ลิง และแพะ


      นายรังสรรค์ พาลพ่าย หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำหนด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า หลังจากทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการโคลนนิงลูกโคพันธุ์ขาวลำพูนตัวแรกของประเทศไทยชื่อ “ขาวมงคล” ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2550 มีน้ำหนักแรกเกิด 30 กิโลกรัม ปัจจุบันมีสุขภาพแข็งแรงดี ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังมีโครงการผลิตโคโคลนนิ่งพันธุ์ขาวลำพูน พันธุ์บราห์มันสีแดง และสีเทาให้ได้อย่างน้อย 20 ตัว ในปี 2551
     
      นายรังสรรค์ กล่าวว่า ทีมวิจัยของศูนย์เป็นเพียงทีมเดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตลูกโคโคลนนิงเกิดมาได้ มีผลงานผลิตโคโคลนนิงพันธุ์ต่างๆ ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบันจำนวนมาก เช่น การโคลนนิงพันธุ์บราห์มันเพศผู้ ชื่อ “ตูมตาม” ได้ลูกโคโคลนนิงจากเซลล์ต้นแบบตัวเดียวกัน 7 ตัว การโคลนนิงโคบราห์มันแดงเพศเมีย ได้ลูกโคโคลนนิงจากเซลล์ต้นแบบตัวเดียวกัน 5 ตัว และการโคลนนิงโคนมเพศเมีย ได้ลูกโคโคลนนิงจากเซลล์ต้นแบบตัวเดียวกัน 3 ตัว และยังเป็นทีมแรกของประเทศไทยและรายที่ 4 ของโลกที่สามารถโคลนนิ่งแมวบ้านได้สำเร็จ โดยได้ลูกแมวโคลนนิ่งคลอดออกมามีชีวิต 2 ตัว แต่ลูกแมวเสียชีวิตในวันที่ 2 และวันที่ 5 หลังคลอด
     
      “ขณะนี้ทีมวิจัยยังคงทำโคลนนิงแมวบ้านและแมวลายหินอ่อน ซึ่งเป็นแมวป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และยังมุ่งโคลนนิงกระทิงเพื่อเป็นการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนกระทิงซึ่งเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ โดยขณะนี้มีโคตัวรับตั้งท้องลูกกระทิงโคลนนิ่งกำลังรอตรวจท้องจำนวน 15 ตัว ด้านความสำเร็จในการโคลนนิงแพะ มีแพะตัวรับตั้งท้อง 2 ตัว และกำลังรอการตรวจท้องอีก 8 ตัว” นายรังสรรค์ กล่าว และว่า ขณะเดียวกัน ทีมวิจัยยังประสบความสำเร็จในการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) ในสัตว์หลายชนิด ทั้งการผลิตเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน (Embryonic Stem Cell) หนูถีบจักร การผลิตเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนในลิง Rhesus และประสบความสำเร็จในการผลิตเซลล์ต้นกำเนิดสัตว์โตเต็มวัย (Mesenchymal Stem Cell ) ในแพะด้วย





ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


โดย:
งาน: งานบุคลากร
อ้างอิงแผนงาน : -
อ้างอิงโครงการ : -
แหล่งที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 12 มิถุนายน 2550 13:50 น.

ขอบคุณสำหรับการโวตท์
Vote
เป็นประโยชน์ต่อผู้โพสต์เอง
เป็นประโยชน์ต่อฉัน
เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
มีประโยชน์ต่อทุกคน
บุคลากร 0 บุคคลภายนอก 0

อ่าน 0 ครั้ง